...+

วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

น้ำท่วมท้ายเขื่อนศรีนครินทร์ อาการป่วยไข้ของพลังงานไทย (1)

โดย สุวิชชา เพียราษฎร์


น้ำท่วมท้ายเขื่อนศรีนครินทร์จังหวัดกาญจนบุรีช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่าน
มา มีประชาชน เจ้าของธุรกิจท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยเดือดร้อนจากเหตุที่ไม่คาดฝัน
ไม่ได้แจ้งเตือนล่วงหน้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)

แม้ว่าวันนี้สถานการณ์น้ำท่วมจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว
กฟผ.จะแถลงการณ์เสียใจและพร้อมจะรับผิดชอบค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด
ถ้าไม่คิดอะไรกันมาก เรื่องมันก็น่าจะจบลงเพียงเท่านี้

ทว่า หากพิจารณาเหตุผลของอุทกภัยครั้งนี้
ผมไม่คิดว่ามันจะจบเรื่อง ตรงกันข้ามกลับมองว่า
นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นของคำถามที่ว่า...เกิดอะไรขึ้นกับความมั่นคงพลังงาน
ของไทย?

ทั้งนี้ก็มาจากเหตุผลที่ กฟผ.แถลงมา 2 ข้อนั่นแหละ

ข้อแรก กฟผ.บอกว่า การปล่อยน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์
กฟผ.มีความจำเป็นต้องผลิตไฟฟ้าจากเขื่อนศรีนครินทร์เต็มกำลังผลิต
เพื่อรักษาระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศ ไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับในวงกว้าง
หลังจากเกิดปัญหาการจัดส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบงกชในอ่าวไทย
และแหล่งยาดานาในสหภาพพม่า โดยบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) หายไปรวม 1,700
ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือร้อยละ 77 ของปริมาณก๊าซในระบบผลิตไฟฟ้า
คิดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้า รวม 10,000 เมกะวัตต์

ข้อสอง กฟผ.ได้ปรับแผนการเดินเครื่องในช่วง 2 วันที่ผ่านมา
โดยเพิ่มการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าอื่นๆ ขึ้นเต็มที่ ได้แก่ โรงไฟฟ้าแม่เมาะ
โรงไฟฟ้าถ่านหินของเอกชน โรงไฟฟ้าน้ำพองและรับซื้อไฟฟ้าจาก สปป.ลาว
เพิ่มเต็มที่ 24 ชั่วโมง
อีกทั้งให้โรงไฟฟ้าพลังความร้อนราชบุรีและบางปะกงเดินเครื่องด้วยน้ำมันเตา
แทน พร้อมทั้งเดินเครื่องจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์
และเขื่อนรัชชประภาร่วมด้วย
เพื่อเพิ่มความมั่นคงและรักษาระบบไฟฟ้าของประเทศไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับ

มองโดยผิวเผินเหตุผลของ กฟผ.ฟังดูคล้ายๆ เป็นความจำเป็น
หรือเจตนาดีของ กฟผ.ที่ต้องทำเพื่อรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าหรือพลังงานเพื่อคนส่วนรวม
ของประเทศ แม้จะต้องทำให้ประชาชนบางส่วนทนทุกข์
กิจการร้านค้าพื้นที่การเกษตรพังพินาศย่อยยับซึ่งกลายเป็น 'ผู้เสียสละ'
อย่างไม่ยินยอมพร้อมใจก็ตาม

ถามว่า คราวนี้จำเป็นแล้วคราวต่อๆ
ไปล่ะจะมีความจำเป็นแบบนี้อีกหรือไม่ กฟผ.ก็ไม่กล้ายืนยัน

กรณีนี้เป็นเหตุการณ์น้ำท่วมที่เป็นผลกระทบจากการเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า
เขื่อนศรีนครินทร์เต็มๆ ถ้ามีความจำเป็นคราวหน้าก็แปลว่า
คนที่อยู่ท้ายเขื่อนจะต้องสวมบทคนหมดเนื้อหมดตัวเป็นผู้เสียสละไปอีก
ซึ่งไม่รู้ว่า จะอีกสักกี่ครั้ง

ความเป็นจริงหากทุกอย่างเป็นไปตามที่ กฟผ.พยายามย้ำแล้วย้ำอีกว่า
"เพื่อเพิ่มความมั่นคงและรักษาระบบไฟฟ้าของประเทศไม่ให้เกิดไฟฟ้าดับ"
เหตุการณ์จับเอา 'ผู้เสียสละ'
เป็นตัวประกันก็ไม่ควรเกิดขึ้นแม้แต่กับคนเดียว ใช่หรือไม่?

เพราะความเดือดร้อนจากอุทกภัยจะหนึ่งครั้งหรือสองครั้ง
มากหรือน้อยมันคือ
ความทุกข์แสนสาหัสทั้งกายและใจที่ยากจะฟื้นกลับมาให้เป็นปกติภายในวันสองวัน
เสียเมื่อไหร่

ปัญหาจึงต้องถามต่อว่า
เหตุการณ์ครั้งนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน หรือ
กระทั่งประชาชนทั่วไปควรจะต้องรับรู้ร่วมกัน คือ อะไร

ผมมองว่า เหตุผลของ กฟผ.ซ่อนอะไรอยู่เยอะมากโดยเฉพาะข้อแรก

นั่นคือ สิ่งสะท้อนว่า
ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับปัญหาเรื่องความมั่นคงของพลังงานแน่ๆ

ตามข้อมูล ณ ปัจจุบัน โรงไฟฟ้าทั้งของรัฐและเอกชนรวมกัน
(รวมที่ซื้อมาจากต่างประเทศ เช่น ลาว พม่า และมาเลเซียบางส่วน)
สามารถผลิตหรือป้อนกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 26,000-27,000 เมกะวัตต์

พอ กฟผ.อธิบายมาว่า
"หลังจากเกิดปัญหาการจัดส่งก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบงกชในอ่าวไทย
และแหล่งยาดานาในสหภาพพม่า โดยบริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) หายไปรวม 1,700
ล้านลูกบาศก์ฟุต หรือร้อยละ 77 ของปริมาณก๊าซในระบบผลิตไฟฟ้า
คิดเป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตไฟฟ้า รวม 10,000 เมกะวัตต์"

ผมจงใจขีดเส้นใต้เพื่อเน้นตรงคำว่า 10,000 เมกะวัตต์
ตรงนี้ซึ่งถ้าเอาไปเทียบกับปริมาณทั้งประเทศ 26,000 เมกะวัตต์ จะเห็นว่า
เป็นกำลังที่มากพอทำให้เกิดไฟฟ้าดับได้ครึ่งหนึ่งของประเทศ!

มันคงไม่ใช่แค่ "จะเกิดไฟฟ้าดับเป็นบริเวณกว้าง" เฉยๆ ตามที่
กฟผ.บอกเสียแล้ว

และประการสำคัญ คือ โรงไฟฟ้าที่มีอยู่ทั้งหมดในประเทศ 75%
ล้วนพึ่งพาก๊าชเป็นเชื้อเพลิง! จึงน่าหนักอกหนักใจหากเกิดปัญหาเช่นนี้

เท่าที่รู้ ตามปกติเมื่อเกิดปัญหาด้านพลังงานไฟฟ้าขึ้น
กฟผ.จำเป็นต้องปล่อยน้ำจากเขื่อนเพื่อผลิตไฟฟ้า เพราะ
กฟผ.เองจะต้องรักษาระดับความสมดุลของระบบ และ
การใช้น้ำผลิตไฟฟ้าก็ถือเป็นวิธีการที่ได้ผลรวดเร็ว
ต้นทุนต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงแบบอื่นๆ

แต่การผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำก็มีข้อจำกัด เช่น
ปัญหาน้ำท่วมอย่างที่เห็น และ ผลิตได้ไม่เพียงพอต่อความต้องการ
เอาแค่ภาคตะวันตก และกรุงเทพฯ
ตอนบนบางส่วนที่ต้องพึ่งพิงจากโรงไฟฟ้าฝั่งตะวันตก
(ที่ผลิตไฟฟ้าได้อยู่ราว 3-4,000 เมกะวัตต์) ก็ไม่น่าจะทำได้

ดังนั้น จึงน่าเป็นห่วงว่า
ปัญหาแหล่งก๊าชในพม่าที่ป้อนให้กับโรงงานไฟฟ้าฝั่งตะวันตก
จะเป็นปัญหาไปอีกนานหรือไม่ ซึ่งนี่อาจไม่สำคัญเท่ากับ
ปตท.ก็ไม่ได้อธิบายว่า สาเหตุที่ก๊าซพม่ามีปัญหาเกิดจากสาเหตุอะไร

ปตท.บอกเพียงว่า "เป็นเหตุสุดวิสัย และเตรียมก๊าชจากแหล่งอื่นสำรองไว้แล้ว"

ทว่า คนวงในธุรกิจไฟฟ้าเขาทราบกันว่า ปตท.เองจริงๆ
นั้นก็ทราบว่าเป็นเพราะอะไร แต่ก็เหมือนจะพูดเหตุผลที่แท้จริงไม่ได้

ปัญหานี้รับรู้กันภายในว่า เกิดขึ้นมาตั้งแต่วันที่ 13 สิงหาคม
ที่ผ่านมา น่าสังเกตว่า
เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากที่ศาลพม่าตัดสินคดีอองซาน ซูจี (วันที่ 11
สิงหาคม) จากนั้นรัฐบาลไทยก็ประณามรัฐบาลทหารพม่าเรื่องนี้

เป็นไปได้หรือไม่ว่า รัฐบาลพม่าเคืองไทยแกล้งปิดวาล์วก๊าซ
ตัดไฟฟ้าไทย? เป็นคำถามที่ต้องขออนุญาตยกยอดไปต่อในตอนหน้า

สำหรับ วันนี้ ผลของน้ำท่วมเมืองกาญจน์
แหล่งก๊าซอ่าวไทยและพม่ามีปัญหา
ปตท.ไม่สามารถจ่ายเชื้อเพลิงให้โรงไฟฟ้าตามปกติได้นี้
บอกได้ว่ามันเป็นอาการป่วยไข้ที่เกิดขึ้นกับพลังงานไทยโดยที่มองข้ามไม่ได้.


http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000093595

กว่าข้อมูลที่แท้จริงจะถูกประกาศสู่สาธารณะ
วันเสาร์ที่ผ่านมาคนริมน้ำแม่กลองตกใจกันหมด
เช็คข่าวกันจ้าละหวั่นว่าเกิดอะไรขึ้นกับเขื่อนเจ้าเณรหรือเปล่า
แตกหรือไม่แตก จะต้องอพยพ หรือไม่อย่างไร
ถ้า มีเหตุการฉุกเฉินแบบนี้ รบกวนผู้ที่เกี่ยวข้องป่าวประกาศออกสื่อทุก ๆ
สื่อโดยฉับพลันเลยครับ ไม่ใช่มุบมิบทำ แล้วค่อยมาบอกทีหลัง โทรทัศน์ก็มี
เดินตัววิ่งไปเรื่อย ๆ ก็ได้ว่ามีเหตุจำเป็นอะไร น้ำขึ้นสูงมากเพราะอะไร
วิทยุก็ได้ พูดเป็นระยะ ๆ ไม่ให้ประชาชนแตกตื่นกันขนาดนี้

รบกวนด้วยครับ
เหยี่ยวราตรี


จะคิดจะสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมาแต่ละครั้งก็ถูกต่อต้านกันอย่างไม่ฟังเหตุฟังผล
...ไม่ฟังการชี้แจงอะไรทั้งนั้น...พูดได้คำเดียวว่า"ตูไม่ให้สร้าง"....ต่อ
ไปเราเอาอนาคตด้านพลังงานของประเทศไปฝากไว้กับประเทศเพื่อนบ้าน..เช่นซื้อ
ไฟฟ้าจากลาว..ก๊าซจากพม่า
ฯลฯ...ประเทศไทยหมดอำนาจต่อรอง...วันใดถ้าประเทศพวกนี้ต้องการบีบขึ้นราคา
หรือหมั่นไส้ประเทศไทย..สั่งตัดก๊าซ..ตัดไฟ..ที่ส่งให้ประเทศไทย..ประเทศไทย
เดือดร้อนแน่นอนมีหวังมืดกันทั้งประเทศ...นี่แหละหนาที่เขาว่าประเทศไทยโชค
ร้ายที่มีคนไทยอาศัยอยู่....
น่าเป็นห่วง


นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์
ในฐานะโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน
ได้เร่งประสานไปยังนายเริงศักดิ์ มหาวินิจฉัยมนตรี
ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี
เพื่อสำรวจและประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้น
จากกรณีเหตุการณ์ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
ได้เร่งผลิตกระแสไฟฟ้าพลังน้ำจากทุกเขื่อนที่ผลิตกระแสไฟฟ้าในประเทศไทย
เพื่อรองรับเหตุสุดวิสัย กรณีแหล่งก๊าซธรรมชาติ
ทั้งในอ่าวไทยและในสหภาพพม่าไม่สามารถส่งก๊าซฯ เข้าระบบผลิตไฟฟ้าได้
เพื่อรักษาระบบความมั่นคงของพลังงานไฟฟ้าในประเทศไทย

นายทวารัฐ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากเหตุการณ์ที่แหล่งก๊าซฯ
ทั้งในอ่าวไทยและสหภาพพม่าไม่สามารถส่งก๊าซฯ
เข้าระบบผลิตไฟฟ้าในช่วงที่เกิดเหตุการณ์ได้นั้น สามารถสรุปได้เป็น 3
เหตุการณ์คือ

เหตุการณ์แรก ก๊าซฯ จากแหล่งพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย หรือ JDA แหล่ง A 18
มีการปิดเพื่อซ่อมบำรุงตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 9 - 19 สิงหาคม 2552
จึงทำให้ปริมาณก๊าซฯ 400 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ลดลงจากปกติ
และจะสามารถกลับเข้าสู่การผลิตปกติได้ในวันที่ 19 สิงหาคมนี้

เหตุการณ์ ที่สอง เหตุจากระบบท่อลำเลียงคอนเดนเสท ในแหล่งก๊าซฯ บงกช
เกิดการรั่ว ซึ่งเป็นปัญหาด้านเทคนิค จึงทำให้ต้องหยุดระบบการผลิตก๊าซฯ
ทั้งหมด เพื่อตรวจสอบความปลอดภัย จึงทำให้ปริมาณก๊าซฯ หายไปจากระบบอีก
600 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ปัจจุบัน (วันจันทร์ที่ 17 ส.ค.)
แหล่งก๊าซฯบงกชได้เดินเครื่องผลิตตามปกติแล้ว

ส่วนเหตุการณ์ที่สาม คือ แหล่งก๊าซธรรมชาติจากสหภาพ พม่า คือ แหล่งยาดานา
เกิดปัญหาด้านเทคนิคเช่นกัน จึงต้องหยุดส่งก๊าซฯ ชั่วคราว
ในช่วงเช้าของวันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม 2552 ซึ่งปัจจุบัน
ระบบได้ทำงานเป็นปกติแล้ว

นายทวารัฐ กล่าวต่อไปว่า ซึ่งเมื่อรวมจากทั้ง 3 เหตุการณ์ดังกล่าว
ส่งผลให้ปริมาณก๊าซฯ ที่ประเทศไทยต้องใช้ปกติหายไปค่อนข้างมาก
อย่างไรก็ตาม จากการบริหารจัดการที่ทันต่อเวลา
และการรักษาระบบความมั่นคงด้านพลังงาน ของกระทรวงพลังงาน
จึงทำให้เหตุการณ์ดังกล่าว ไม่เกิดเหตุไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้าดับแต่อย่างใด
โดยกระทรวงพลังงานได้ดำเนินการสั่งการให้ กฟผ.
พิจารณานำโรงไฟฟ้าที่มีความพร้อมจ่ายผลิตไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโดยเร็ว
รวมทั้งให้ดำเนินการผลิตไฟฟ้าจากน้ำมันเตาเพิ่มเติมในโรงไฟฟ้าอื่นๆ
รวมถึงการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในทุกเขื่อนของ กฟผ. ตลอด 3 วันที่ ผ่านมา
ก็ถือเป็นทางเลือก เพื่อรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ

"ต้อง ยอมรับว่า ช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา
เกิดเหตุฉุกเฉินด้านความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศไทยถึง 3
เหตุการณ์ซ้อน โดยกระทรวงพลังงานได้ ดำเนินการแก้ไขอย่างเต็มที่
เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง
แต่ต้องยอมรับว่าจากกรณีการปล่อยน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์
ถือเป็นเรื่องฉุกเฉินกระทันหัน ซึ่งกระทรวงพลังงานโดย นพ.วรรณรัตน์
ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ได้สั่งการให้มีการชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้น
โดยจะร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี
ในการสำรวจและประเมินผลกระทบและหาข้อสรุปโดยเร็ว ทั้งนี้
กระทรวงพลังงานต้อง
ขอโทษชาวจังหวัดกาญจนบุรีในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนี้อันเป็นการเสีย
สละของชาวจังหวัดกาญจนบุรีเพื่อรักษาความมั่นคงด้านระบบไฟฟ้าของประเทศเอา
ไว้ และกระทรวงพลังงานขอ ยืนยันว่า เขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ์
และเขื่อนท่าทุ่งนา ในจังหวัดกาญจนบุรี รวมถึงเขื่อนอื่นๆ
มีความมั่นคงแข็งแรงเป็นปกติไม่มีปัญหาแต่อย่างใด" นายทวารัฐกล่าว
paisanchoo@samarts.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น