...+

วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2552

สงครามการเมืองที่ทักษิณเลิกไม่ได้

สงครามการเมืองที่ทักษิณเลิกไม่ได้
โดย ว.ร.ฤทธาคนี

หลังจากที่ทักษิณสูญสิ้นอำนาจในการบริหารประเทศ
พร้อมด้วยคดีความที่เกิดจากพฤติกรรมทุจริตคดโกงของตัวเอง ครอบครัว
และพรรคพวกตั้งแต่ 19 กันยายน 2549
และในฐานะที่เป็นคนมีทักษะในเรื่องจิตวิทยา
เพราะการเรียนอาชญวิทยาขั้นดุษฎีบัณฑิตนั้นคือ
การศึกษาพฤติกรรมอาชญากรในมิติต่างๆ
และประเภทของอาชญากรรมที่กลุ่มพฤติกรรมชั่วเหล่านี้จะเปลี่ยนแปลงไปตาม
ลักษณะพื้นฐาน นิสัย และสภาพแวดล้อมที่หล่อหลอมอาชญากรคนนั้น
รวมถึงสภาพจิตของอาชญากรที่มีความแตกต่างกันขณะทำชั่ว
มีแนวคิดเจ้าเล่ห์ต่างกัน รวมทั้งหลักการพยากรณ์ว่า
อาชญากรคนนั้นจะทำอะไรในอนาคตอันเป็นพื้นฐานของอาชญวิทยาบัณฑิต

อาชญากรในโลกนี้ไม่แตกต่างกันมากนักในพฤติกรรมความชั่ว
แต่เพราะภาวะแวดล้อมต่างกัน เทคโนโลยีต่างกัน วัฒนธรรมการเลี้ยงดูต่างกัน
ความเกรงกลัวและละอายต่อหลักนิติรัฐ และศีลธรรมต่างกัน
ทำให้วิธีการก่ออาชญากรรมต่างกัน
แต่บทเรียนเหล่านี้ในประเทศตะวันตกมีการบันทึก วิเคราะห์
และศึกษารูปแบบของพฤติกรรมความชั่วร้ายที่อาชญากรเหล่านี้ก่อขึ้น
วิธีการสืบสวน วิธีการสอบสวน วิธีการร่างคำฟ้อง
และกระบวนการพิจารณาคดีความตามกฎหมายบางกรณีทำให้เกิดช่องว่างทางกฎหมายอัน
เป็นการเชื้อเชิญให้ก่ออาชญากรรมเพราะหลบเลี่ยงกฎหมายได้แต่ยิ่งมีอำนาจใน
การออกกฎหมายแล้ว การโกงเชิงนโยบายการเมืองก็ยิ่งง่ายขึ้น
เหมือนกับทักษิณใช้รัฐสภาเป็นเครื่องมือในการโกงประเทศมาแล้ว

เมื่อทักษิณได้เรียนรู้สิ่งเหล่านี้
ทำให้รู้ว่าเป็นเรื่องปกติที่มนุษย์ทั่วไปก่ออาชญากรรม
และมีช่องทางที่จะรอดพ้นจากกฎหมายได้เสมอ
โดยเฉพาะคดีทุจริตทางการเมืองซึ่งมีช่องทางมากมายในการต่อรองทางการเมือง
เพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สิน เงินทองหรือเพื่อหลุดพ้นคดี
ตามวัฒนธรรมการเมืองเชิงทุนนิยม

การเมืองจึงเป็นกลไกนำสู่อำนาจซึ่งอยู่ในสายเลือดของทักษิณอย่าง
สมบูรณ์แบบ เพราะครอบครัวเล่นการเมือง
ถึงแม้จะล้มเหลวแต่สิ่งหนึ่งที่นายเลิศ ผู้บิดาได้ถ่ายทอดให้กับทักษิณ
คือ การทำธุรกิจ และทักษิณเองก็สัมผัสกับการทำธุรกิจหลากหลายอย่าง
และเป็นปกติที่เขาต้องหาช่องทางสร้างกำไร
ถ้าสุจริตก็เกิดปัญญาต่อเนื่องในการทำธุรกิจ
แต่ถ้าโกงก็จะเป็นบทเรียนและได้วิธีการโกง
และวิธีการเหล่านี้พัฒนาเป็นระบบ
ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ทักษิณจะต้องเห็นช่องทางในการโกงผู้บริโภค
และถ้ามองว่าการโกงเล็กๆ น้อยๆ เป็นเรื่องปกติ
ผู้คนมักไม่เอาเรื่องเอาราวความเพิกเฉยเหล่านี้ทำให้คนขี้โกงกำเริบ
ไม่รู้จักชั่วดีคิดที่จะหาช่องทางคดโกงเสมอ

สิ่งต่อมาที่นายเลิศ ชินวัตร ได้สร้างสรรค์ให้กับทักษิณ คือ
การถ่ายทอดวิญญาณการเมือง วิธีการเล่นการเมือง
และสอนให้ทักษิณรู้จักว่าการเมืองให้อะไรได้บ้าง
โดยได้นำไปฝากไว้กับนายปรีดา พัฒนถาบุตร
อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวงซึ่งไต่เต้ามาจากการเมืองท้องถิ่น
เพราะเคยเป็นนายกเทศมนตรีอำเภอเมืองเชียงใหม่มาก่อนตั้งแต่ พ.ศ. 2512

กลการเมืองทุกยุคทุกสมัยไม่แตกต่างกันเพราะว่านักการเมืองอาชีพจริงๆ
ในประเทศไทยไม่มีหรือมีน้อยมาก
แต่เป็นนักการเมืองที่เล่นการเมืองเพื่อแสวงผลประโยชน์ให้กับตัวเอง
หรือปกป้องผลประโยชน์ให้ตัวเอง ทั้งๆ ที่ปรัชญาการเมือง คือ
การเสียสละผลประโยชน์ และความสุขส่วนตัว
มุ่งทำงานให้ส่วนรวมโดยไม่หวังผลประโยชน์มากนัก ให้พอเพียงแต่การดำรงชีพ
และการดำเนินกิจการทางการเมือง
แต่ในปัจจุบันนักการเมืองมักจะร่ำรวยมาก่อน
หรือมาร่ำรวยหลังจากที่ได้เล่นการเมืองและดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี

นักการเมืองหลายคนอุทิศตัวเองเพื่อเจ้านายที่เป็นนักการเมืองผู้ทรง
อิทธิพล และอิทธิพลนั้นสามารถกระเซ็นมาจับทีละเล็กทีละน้อย
จนกลายเป็นผู้อิทธิพลคนหนึ่งในระบบการเมืองย่อย ได้แก่ การเป็นหน้าห้อง
เป็นผู้ประสานงานให้เจ้านาย และรองเลขานุการรัฐมนตรี
และในที่สุดก็ครองตำแหน่งเลขานุการรัฐมนตรี
ซึ่งเป็นตำแหน่งการเมืองที่ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี
และมีคำสั่งแต่งตั้ง ด้วยความจงรักภักดี ซื่อสัตย์ เก็บความลับ
แบ่งปันหรือเป็นผู้หาให้
ก็จะได้รับความไว้วางใจได้รับการสืบทอดอำนาจได้รับการสนับสนุนให้มีโอกาส
เป็นกรรมการพรรคการเมืองที่มีตำแหน่งรัฐมนตรีรออยู่

ดังนั้น จึงไม่เป็นข้อกังขาเลยว่า ทั้งทักษะความรู้การทำธุรกิจ
และการเมืองขั้นพื้นฐานของทักษิณพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ และในที่สุดความรู้
ทักษะ และประสบการณ์ทำให้ทักษิณได้รับการยอมรับจาก พล.ต.จำลอง ศรีเมือง
ชักนำเข้ามาสู่วงการเมืองในพรรคที่สาธารณชนมองว่าใสสะอาดในขณะนั้น คือ
พรรคพลังธรรม

และนี่เป็นหมากกลขั้นต้นในเชิงจิตวิทยาของทักษิณที่ฝังตัวในพรรคพลัง
ธรรม สามารถสัมผัสหมู่นักการเมืองเสรีนิยม
นักธุรกิจที่มีจริยธรรมเป็นพื้นในการดำรงธุรกิจ
จนทำให้ตัวเองเป็นคนรุ่นใหม่ใจซื่อและมีอุดมการณ์
จากนั้นก็สู่การตั้งพรรค
และฤทธิ์ที่ได้หล่อหลอมมาตั้งแต่เล็กในการทำธุรกิจ การต่อรองแลกเปลี่ยน
และการเอาเปรียบแบบสุจริต ก็สำแดงออกในห้วงปีที่ 2 ของการมีอำนาจรัฐ
การทุจริตเชิงนโยบายเป็นกลไกสำคัญ

หลักทุนนิยมเพื่อสร้างฐานประชานิยมเป็นอาวุธเอาชนะหลายพรรคการเมือง
คือ เอาเงินคนชั้นกลางไปให้คนจน แต่คนรวยที่มีกำไรจากการเล่นหุ้น
การลงทุนในบริษัทที่ได้สัมปทานรัฐ
การได้หุ้นแบบได้เปล่าจากรัฐวิสาหกิจหรือเรียกกันว่าหุ้นสำหรับผู้มีพระคุณ
ทั้งๆ ที่รัฐมนตรีคนนั้นยังไม่เกิดเมื่อเกิดรัฐวิสาหกิจนั้น
รวมถึงการไม่ต้องเสียภาษีหรือการโกงอย่างหน้าด้านๆ

ครั้นเมื่อมีฐานการเมืองแน่นหนาก็เริ่มที่จะคิดการใหญ่ทางรัฐศาสตร์
ที่หวังว่า จะขจัดหลักอะไรก็ได้ที่เป็นอุปสรรคในการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างรัฐศาสตร์ของ
ไทย เพราะหลายครั้งที่โครงการของทักษิณถูกเตือนให้หยุดจึงทำให้เขาโกรธ
หลายครั้งที่พระสงฆ์ผู้ทรงคุณประโยชน์ได้กล่าวตักเตือน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคำพิพากษายกฟ้องโจทย์ชื่อ
ทักษิณที่ฟ้องร้องเอาโทษนายสุเทพ เทือกสุบรรณ
กรณีหมิ่นประมาทซึ่งมีรายละเอียดพอสมควรที่ชี้ว่าทักษิณมีพฤติกรรมอันไม่
เหมาะสมต่อองค์พระมหากษัตริย์หลายวาระ

โดยเฉพาะในวันที่ 29 มิถุนายน 2549
ทักษิณได้พูดกับข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่ทำเนียบรัฐบาลว่า
"มีผู้มีบารมีเหนือรัฐธรรมนูญมาก่อความวุ่นวายต่อระบอบประชาธิปไตยมากเกินไป
" และนายมีชัย ฤชุพันธุ์
นักกฎหมายผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า
"การกระทำของทักษิณทำให้ประชาชนเคลือบแคลงสงสัยว่า
โจทย์ไม่ปกป้องต่อสถาบันพระมหากษัตริย์"

"ไม่ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์" หมายความได้สองนัยคือ อยู่เฉยๆ
ไม่ยุ่งเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ หรือต่อต้านระบอบพระมหากษัตริย์

การต่อต้านพระมหากษัตริย์ของทักษิณสามารถตีความจากการที่ทักษิณได้
ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์ไฟแนนเชียลไทม์
ซึ่งหนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับวันที่ 15 พฤษภาคม 2552 แปลความไว้ว่า
"พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ควรทราบเรื่องแผนการรัฐประหารมาล่วงหน้า"
ก็หมายความว่าทักษิณสิ้นความเคารพศรัทธาพระเจ้าอยู่หัวแล้ว
ถึงได้กล้าหาญชาญชัย กล่าวพาดพิงในเชิงทำลายความเชื่อถือของพระองค์
และคาดหวังว่าประชาคมโลกจะสิ้นศรัทธาในพระองค์อีกด้วย

ด้วยพฤติกรรมเหล่านี้ได้แก่ การคดโกง
ความโลภต้องการเงินที่โกงชาติคืน ความบ้าอำนาจต้องการอำนาจคืน
และต้องการที่จะต่อสู้กับระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
รวมทั้งต้องการประกาศศักดาว่าตัวเองมีอำนาจบารมีพร้อมที่จะปกครองประเทศอีก
จึงต้องทำสงครามการเมืองต่อไป

ด้วยกิเลสเหล่านี้ทักษิณจึงต้องทำสงครามกลางเมืองเมื่อมีโอกาส
โอกาสนั้นคือกิเลสของสาวก และไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อไร มีผู้พยากรณ์ว่า
"กรรมชั่วที่ตามทันเท่านั้น จึงจะสามารถหยุดทักษิณได้"
กรรมที่ทักษิณก่อมีผลรออยู่แล้ว เพราะกลับมาเมืองไทยก็ติดคุกทันที
คงไม่มีใครคิดที่จะผ่อนผันโทษให้เว้นแต่พวกคลั่งไคล้ทักษิณ
(Thaksinmania) เพราะมีนักการเมืองตั้งแต่ยุคเผด็จการทหาร ยุคประชาธิปไตย
และยุคเผด็จการนายทุนต้องติดคุกมาก่อนหน้านี้แล้ว

ทักษิณจะโฟนอินในวันที่กลุ่มเสื้อแดงจัดชุมนุมกันคือวันเสาร์ที่
27 มิถุนายนนี้ ณ ท้องสนามหลวง ก็เป็นอีกหนึ่งสมรภูมิที่น่าจับตาดูว่า
กลยุทธ์ของทักษิณจะออกมาเป็นรูปแบบอะไร จะกลับไปใช้ความรุนแรง เช่น
สงกรานต์เดือดเลือดพล่านคงไม่ได้อีกแล้ว
เพราะแสดงให้เห็นถึงธาตุแท้ที่โหดไร้มนุษยธรรม จะกล่าวโจมตี พล.อ.เปรม
ติณสูลานนท์อีกก็หมดเรื่องแล้ว

แต่ การโจมตีนโยบายและพฤติกรรมรัฐบาลผสมของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
น่าจะเป็นประเด็นร้อน เพราะขณะนี้เรตติ้งของนายอภิสิทธิ์กำลังแรง
และแรงกว่าเมื่อทักษิณเป็นนายกฯ เพราะสำนวนภาษาต่างกัน
การใช้คำที่เหมาะสม และกินใจลึกซึ้ง
สร้างความเชื่อมั่นให้กับชาวต่างชาติได้ชัดเจนกว่าทักษิณ
ในขณะที่ทักษิณไม่ได้เผชิญวิกฤตอะไรเลย
เมื่อเข้ารับตำแหน่งตรงข้ามนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้ชาวต่างชาติชอบเพราะได้เห็นทาสแท้ของผู้นำและความ
สามารถในการแก้ปัญหาแบบประชาธิปไตย ทำให้ต่อมอิจฉาทักษิณแตกก็ได้

nidd.riddhagni@gmail.com
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000072073

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น