...+

วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

มจธ.คิดค้นไอเดียสุดแจ่ม "พลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียน"

มจธ.คิดค้นไอเดียสุดแจ่ม "พลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียน"

นักศึกษาสาว 3 เพื่อนซี้ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมฯ มจธ. พัฒนา
"พลาสติกชีวภาพจากเปลือกทุเรียน" เพื่อ
นำไปใช้ในการบรรจุภัณฑ์สามารถช่วยลดขยะทางการเกษตรซึ่งเป็นการนำของที่ไม่
สามารถใช้งานได้มาก่อให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งรักษาสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย

"นิน" นิลวรรณ คงถาวร , "กิ๊ก" บุณยรัตน์ พิพัฒน์ศิริขจร และ
"ส้มโอ" ปิยะพร เขมะโรจน์กุล นักศึกษาชั้นปี่ที่ 4
ภาควิชาเทคโนโลยีการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมฯ 3
เพื่อนซี้เจ้าของผลงาน "พลาสติกจากเปลือกทุเรียน" นำ
ไปใช้ในการบรรจุภัณฑ์ที่ละลายน้ำได้และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายและ
สามารถนำมาใช้งานในอุตสาหกรรมต่างๆ อย่างกว้างขวางได้อีกด้วย โดยมี
รศ.ดร.สุชปา เนตรประดิษฐ์, ดร.กฤติกา ตันประเสริฐ , อาจารย์นิทัศน์
ทิพยโสตนัยนา และ อาจารย์พรชัย ราชตนพันธุ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ

"กิ๊ก" บุณยรัตน์ พิพัฒน์ศิริขจร หนึ่งในนักศึกษาเจ้าของผลงาน
เอ่ยถึงจุดเริ่มต้อนการคิดค้นผลงานชิ้นนี้ว่า
ทุเรียนเป็นผลไม้ซึ่งมีปริมาณการบริโภคเป็นจำนวนมากในแต่ละปี
ภายหลังจากการบริโภคในปริมาณมากนั้น
ส่งผลให้เกิดเป็นขยะเปลือกทุเรียนจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการกำจัดได้ยาก

"พยายาม ศึกษาหาข้อมูลการจากคิดค้นฟิล์มพลาสติกที่ทำงานเปลือกผลไม้
ซึ่งก่อนหน้านี้ได้มีผลงานการทดลองนำเปลือกมะละกอ
มาทำเป็นพลาสติกและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี
เราจึงคิดค้นการทดลองใหม่จนกระทั่งมีโอกาสได้ฝึกงานที่ต่างจังหวัดและพบว่า
ปริมาณการบริโภคทุเรียนเยอะขึ้นทุกปี
หากเราปล่อยให้เปลือกทุเรียนย่อยสลายเองตามธรรมชาติต้องใช้ระยะเวลาที่ยาว
นานและส่งกลิ่นเหม็น
จึงมีแนวคิดที่จะช่วยลดปริมาณขยะเปลือกทุเรียนตามท้องตลาด
อีก ทั้งยังสามารถช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับเปลือกทุเรียนอีกด้วย
จึงจัดทำโครงการวิจัย
พร้อมทำการทดลองผลิตคาร์บอกซีเมทิลเซลลูโลสจากเซลลูโลสที่สกัดจากเปลือก
ทุเรียนเพื่อผลิตเป็นฟิล์มที่สามารถย่อยสลายได้
พร้อมทั้งพัฒนาคุณสมบัติของฟิล์มให้ดีขึ้น โดยการเติมสารเติมแต่ง
เพื่อนำมาใช้เป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์ประเภทพลาสติก
ซึ่งอาจพัฒนาไปสู่การผลิตในระดับอุตสาหกรรมต่อไปในอนาคต"

สำหรับขั้นตอนการผลิต เริ่มต้นจากการทำความสะอาดเปลือกทุเรียน
หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วนำไปตากแดด
จากนั้นนำมาสกัดเยื่อต้มด้วยหม้อต้มอัดความดัน นำมาปั่นแล้วบีบน้ำออก
และนำมาฟอกด้วยสารเคมี บดให้ละเอียดแล้วทำการขึ้นรูปแผ่นฟิล์ม

จากการทดลองคุณสมบัติทางกายภาพ ทางกลและการเป็นวัสดุบรรจุภัณฑ์
พบว่า เปลือกทุเรียนสามารถนำมาผลิตเป็นฟิล์มที่ละลายน้ำได้
ไวต่อน้ำและมีการดูดซึมความชิ้นได้ดี มีศักยภาพในการใช้เป็นบรรจุภัณฑ์
โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์ที่ละลายน้ำได้ เช่น บรรจุภัณฑ์ของปุ๋ย
หรือยาฆ่าแมลงที่ต้องละลายน้ำ
แต่ยังคงมีความสามารถในการปิดผนึกที่น้อยอยู่บ้าง
เพราะจะต้อใช้วิธีการปิดผนึกอื่นที่ไม่ใช่การปิดผนึกด้วยความร้อน
และต้องมีบรรจุภัณฑ์ชั้นนอกเพื่อป้องกันความชื้นก่อนการใช้งานอีก

"เรา อาจจะพบปัญหาความไม่แข็งแรง ไม่คงทนของพลาสติก
ซึ่งอาจเป็นสารเคมีที่ใช้ยังไม่ได้ประสิทธิ
ทั้งนี้เราได้ทำการส่งต่อผลงานวิจัยนี้ให้รุ่นน้องได้สืบต่อ
เพื่อให้ผลงานวิจัยครั้งนี้ประสบความสำเร็จ และพร้อมใช้งานได้จริง" กิ๊ก
เอ่ยสรุป


http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000072290

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น