...+

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ยางก้อนถ้วยอีกทางเลือกของชาวสวนยาง

ยางก้อนถ้วยอีกทางเลือกของชาวสวนยาง

อุตสาหกรรม "ยาง" ในขณะนี้มีการ เปลี่ยน แปลงพัฒนาอย่างต่อเนื่องโดยใน
ช่วงปีที่ผ่านมา ไทยมีการส่งออก ผลิตภัณฑ์ ยางพารา 2.8 แสนตันคิดเป็น
มูลค่า 54,300 ล้านบาท ขณะที่ส่งออก ยางดิบ ยางแทง น้ำยางข้น และอื่นๆ
2.35 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 74,600 ล้านบาท อย่างไรก็ตามถึงแม้จะ
มีการส่งออก ทั้งผลิตภัณฑ์และยางดิบปีหนึ่งจำนวน หลายร้อยล้านบาท
"เรายังต้องทำการ พัฒนา ในเรื่องของสายพันธุ์ รวมไปถึง
การพัฒนาเทคนิคการกรีดน้ำยาง" เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่มากขึ้น
อย่างประเทศมาเลเซีย ขณะนี้เขาเริ่มใช้เทคนิคกรีดยางด้วยการ เจาะ อัดแก๊ส
ซึ่งทำให้ได้ น้ำยางที่มีความสะอาด แถมยังได้ปริมาณน้ำยางมากขึ้น
แต่ใช้แรงงานน้อยลง ที่สำคัญยืดอายุ การใช้งานของต้นยางพาราได้ถึง 50 ปี
จากเดิมที่ได้เพียง 25 ปีซึ่งหากไทยเราจะใช้เทคนิค นั้นบ้าง
ก็ต้องมีการตกลงกัน เพราะว่าประเทศดังกล่าว
เขาได้ทำการจดลิขสิทธิ์เอาไว้แล้ว การผลิตยางก้อนถ้วย (Cuplump)
จึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกของชาวสวนยาง ในบ้านเรา นายประสาท เกศวพิทักษ์
ผู้อำนวย การสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร เผยในเรื่องนี้ว่า
"ยางก้อนถ้วยเป็นการ แปรรูปยาง แบบใหม่ ซึ่งขณะนี้กำลังเป็นที่
ต้องการของ โรงงานอุตสาหกรรม ที่แต่ เดิมจะรับซื้อขี้ยางเพื่อมา
ผลิตยางแท่ง แต่เมื่อทางกรมมีการส่งเสริม ให้ชาวสวน ทำยางก้อนถ้วย
ซึ่งมีจุดเด่นคือสะอาด มีสิ่งเจือปนน้อยมาก ซึ่งคุณสมบัติดังกล่าว
มีผลทำให้ต้นทุนการผลิตยางแท่งลดลง" ด้วยเหตุนี้ นายเนวิน ชิดชอบ
รมช.กระทรวงเกษตรฯ จึงได้ให้กรมไปดูความพร้อม
อีกทั้งส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถผลิตยางดังกล่าวได้
เพื่อเร่งเปิดตลาดในจังหวัดสงขลา
และสุราษฎร์ธานีเพิ่มขึ้นจากเดิมที่มีเพียงตลาดนครศรีธรรมราชที่เดียวเท่านั้น
สำหรับวิธีการผลิต จะต้องเตรียมกรดฟอร์มิกเจือจาง ทำได้โดยใช้น้ำกรด 10
ส่วนผสมน้ำ 90 ส่วน โดยการผลิต สามารถทำได้ 2 วิธีคือ วิธีที่ 1
หยอดกรดแล้วปล่อยให้จับตัว ตามธรรมชาติ ซึ่งจะใช้เวลา 2 วัน

เริ่มแรกให้กรีดยางเพื่อเตรียมน้ำเลี้ยงเซรุ่มหยอดน้ำ กรดเจือจางประมาณ
12-15 ซีซี/ต้น ลงในถ้วยที่มีน้ำเลี้ยงเซรุ่ม ลอกขี้ยางเส้นออกแล้วกรีด
อีกครั้ง อย่าให้ขี้ยางที่กรีดตกลงไปในถ้วย กรีดไปจนครบแปลง
แล้วกลับมาแคะ ยางก้อน ที่จับตัวขึ้นเสียบกับลวด หนวดแมว
ที่เกี่ยวถ้วยยาง เริ่มกรีดใหม่ เหมือนครั้งแรกจนครบแปลง กลับมาเก็บ
ยางก้อนที่เสียบไว้ครั้งแรก ใส่กระสอบปุ๋ย หรือถุงตาข่ายไนลอน
แล้วนำมาผึ่งเกลี่ย บนแคร่ ในร่มเพื่อไม่ให้ก้อนยางติดกัน รอจำหน่าย
ส่วนยางที่กรีดไว้ ปล่อยให้ จับตัวเป็นก้อนถ้วย รอมาเก็บในวันกรีด ถัดไป
วิธีที่ 2 หยอดน้ำกรดแล้วคน โดยเริ่มแรกลอกขี้ยางเส้นออกจาก
หน้ากรีดเก็บใส่ภาชนะ เช็ดถ้วยยาง ให้สะอาดก่อนรองน้ำยาง กรีดยาง
ตามปกติจนครบทั้งแปลง เมื่อน้ำยาง หยุดไหล หยอดน้ำกรด 12-15 ซีซี/ต้น
แล้วคนให้เข้ากัน ปล่อยให้น้ำยางจับตัว ในถ้วย
เสร็จแล้วแคะยางเกี่ยวเสียบ ไว้ที่ลวด 1 วัน หลังจากนั้นจึงเก็บใส่ถุง
ตาข่ายไนลอน แล้วนำมาผึ่งเกลี่ยบนแคร่ ในร่ม เพื่อไม่ให้ก้อนยางติดกัน
รอจำหน่าย วิธีนี้เหมาะจะใช้ในฤดูฝนหรือในพื้นที่มีฝนตกชุก
ซึ่งจะใช้เวลาและแรงงาน มากกว่าวิธีแรก แต่มีข้อดีคือ น้ำยางจับตัวภายใน
1 ชม.หลังคนเสร็จ.

เพ็ญพิชญา เตียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น