...+

วันจันทร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2552

การตั้งพรรคการเมือง ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ฉบับที่ 3)

การตั้งพรรคการเมือง ของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (ฉบับที่ 3)

จาก การวิเคราะห์การตั้งพรรคการเมืองของมวลชนพันธมิตรประชาชนฯ
ทั้งด้านที่เห็นด้วยให้ตั้งพรรคการเมือง
และไม่เห็นด้วยในการตั้งพรรคการเมือง ฉบับที่ 1 และ ฉบับที่ 2 แล้วนั้น
สำหรับฉบับนี้จะวิเคราะห์ว่าถ้ามติของมวลชนพันธมิตรประชาชนฯ
สนับสนุนให้ตั้งพรรคการเมืองจะมีรูปแบบ (Model) ดำเนินงานอย่างไร
ในอันที่จะทำให้การเมืองภาคประชาชนและการเมืองภาครัฐ
เกื้อกูลสร้างความแข็งแกร่งซึ่งกันและกัน โดยจะวิเคราะห์โดยสังเขปดังนี้

1. สมัชชามวลชนพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งจะมี
มวลชนพันธมิตรประชาชนฯ
ที่อยู่ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศเป็นมวลสมาชิกถ้วนทั่วกัน
และจะเชื่อมโยงผูกพันเป็นสายใยกันอย่างแนบแน่นในอุดมการณ์ที่ถูกต้องครรลอง
ครองธรรมเพื่อการเมืองใหม่
โดยจะมีการร่วมชุมนุมประชุมใหญ่อย่างเป็นทางการปีละหนึ่งถึงสองครั้ง เช่น
มีการชุมนุมเมื่อครบรอบปีในวันที่ 25 พฤษภาคม ทุกปี เป็นต้น

การ ประชุมใหญ่แต่ละครั้งจะมีวาระรายงานผลการดำเนินการของสภาพันธมิตรประชาชนฯ
และพรรคการเมืองของกลุ่มพันธมิตรประชาชนฯ
และวาระการขอฉันทามติประเด็นใหญ่ ๆ จากสมัชชามวลชนพันธมิตรประชาชนฯ
ดังเช่นที่ขอฉันทามติตั้งพรรคการเมือง จากมวลชนพันธมิตรประชาชนฯ ในวันที่
25 พฤษภาคม 2552 ณ สนามกีฬามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต เป็นต้น
ซึ่งทั้งสองวาระจะเป็นสาระสำคัญในการประชุมใหญ่แต่ละครั้ง
นอกจากนั้นจะมีวาระอื่น ๆ ตลอดจนวาระบันเทิง สังสรรค์
ของมวลสมาชิดสมัชชาพันธมิตรประชาชนฯ
ซึ่งขึ้นกับสถานการณ์ในการประชุมใหญ่แต่ละครั้งเช่นกัน

ภาระหน้าที่หลักของสมัชชามวลชนพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ตัวอย่างเช่น
1.1 ร่วมกันคัดเลือกคณะกรรมการบริหารสภาพันธมิตรประชาชนฯ
1.2 ร่วมการให้ฉันทามติประเด็นใหญ่ ๆ แก่สภาพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย
1.3 สมัชชามวลชนพันธมิตรประชาชนแต่ละจังหวัดลงคะแนนเลือกผู้แทนที่จะส่งลงสมัคร
รับเลือกตั้งในนามของ พรรคการเมืองของพันธมิตรประชาชนฯ
แต่ละเขตทั่วประเทศไทย
1.4 ร่วมกันตรวจสอบติดตามการบริหารงานของพรรคการเมือง

2. สภาพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งจะเป็นแก่นแกนในการกำหนดภาระ
(Mission) กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) และกำหนดนโยบาย (Policy)
ซึ่งแนวทางในการกำหนดดังกล่าวข้างต้น
กรณีที่มีประเด็นสำคัญจะมีการขอฉันทามติจากสมัชชามวลชนพันธมิตรประชาชน
เพื่อประชาธิปไตย ก่อนที่จะมีการกำหนดเป็นแนวทางเพื่อการปฏิบัติต่อไป

นโยบาย ของพรรคการเมือง ของพันธมิตรประชาชนฯ
คณะกรรมการกำหนดและบริหารนโยบายจะคัดเลือกโดยคณะกรรมการบริหารสภาพันมิตร
ประชาชนฯ ซึ่งจะคัดเลือกมาจากผู้รอบรู้ ผู้ชำนาญ ผู้ทรงคุณวุฒิ
และมีประวัติที่ซื่อสัตย์สุจริตเพื่อร่างนโยบายแต่ละด้าน เช่น ด้านสังคม
ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง ด้านความมั่นคงของประเทศ และด้านการต่างประเทศ
ซึ่งนโยบายต่าง ๆ
ที่คณะกรรมการกำหนดและบริหารนโยบายร่างเรียบร้อยแล้วจะมีการนำเสนอ
คณะกรรมการบริหารสภาพันธมิตรประชาชน ฯ
และคณะกรรมการบริหารสภาพันธมิตรประชาชนฯ
จัดพิธีการแถลงนโยบายให้สมัชชามวลชนพันธมิตรประชาชนฯ
เพื่อมีฉันทามติเห็นชอบ
เป็นการยืนยันว่านโยบายของพรรคการเมืองมาจากประชาชนอย่างแท้จริง
และส่งต่อนโยบายให้แก่พรรคการเมืองเพื่อนำไปปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมต่อไป

ภาระหน้าที่หลักของสภาพันธมิตรประชาชนฯ เพื่อประชาธิปไตย ตัวอย่างเช่น
2.1 เตรียมการจดทะเบียนจัดตั้งพรรคการเมือง และคัดเลือกคณะกรรการบริหารพรรคการเมือง
2.2 กำหนดภาระ (Mission) กำหนดวิสัยทัศน์ (Vision) และนโยบาย (Policy)
2.3 คัดเลือกคณะกรรมการกำหนดและบริหารนโยบาย
2.4 สนับสนุนสมัชชามวลชนพันธมิตรประชาชนฯ ฯ
ในการคัดเลือกผู้แทนแต่ละจังหวัดเพื่อสมัครรับเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภา
ในนามพรรคการเมืองของพันธมิตรประชาชนฯ
2.5 กำหนดแนวทางการบริหารพรรคการเมือง และส่งต่อ ภาระ วิสัยทัศน์ นโยบาย
ให้แก่ พรรคการเมือง
เพื่อให้ปฏิบัติตามแนวทางที่สมัชชามวลชนพันธมิตรประชาชนฯ เห็นชอบ
2.6 ประสานการเมืองภาคประชาชน (สมัชชามวลชนพันธมิตรประชาชน กับ
พรรคการเมืองเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกันได้เป็นหนึ่งเดียวกัน
2.7 วางแผนด้านการเงินและทรัพยากรบุคคลต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนพรรคการเมือง
และการเมืองภาคประชาชน

3. พรรคการเมืองของพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย
ดำเนินงานการเมืองภาครัฐตามแนวนโยบายของสภาพันธมิตรประชาชนฯ
โดยนำนโยบายด้านต่าง ๆ ทั้งด้านสังคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเมือง
ด้านความมั่นคงของประเทศ ด้านการต่างประเทศ
ด้วยการแปลงนโยบายเป็นแผนปฏิบัติ (Action Plan)
และดำเนินการให้เป็นไปตามแผน (Implement)

ภาระหน้าที่หลักของพรรคการเมืองของพันธมิตรประชาชนฯ ตัวอย่างเช่น
3.1 ยึดมั่นในนโยบายที่ได้รับฉันทามติจากสมัชชามวลชนพันธมิตรประชาชน ฯ
และสภาพันธมิตร ประชาชนฯ ด้วยการบริหารนโยบายด้านต่าง ๆ อย่างเป็นรูปธรรม
เช่น กำหนดแผนงานกำหนดโครงการ
เพื่อเป็นแผนปฏิบัติสนับสนุนนโยบายแต่ละด้าน
ซึ่งนโยบายแต่ละด้านอาจจะมีหลาย ๆ โครงการ หลาย ๆ แผนงาน โดยโครงการ
แผนงาน นั้น ๆ ผลสุดท้ายต้อง
ตอบโจทย์ได้ว่าสนองนโยบายด้านต่าง ๆ ได้อย่างแท้จริง
รวมทั้งแผนปฏิบัติต้องมีจุดปฏิบัติเริ่มต้น และ จุดปฏิบัติเสร็จสิ้น
ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมายบภายในระยะเวลาที่กำหนด (End to End
Process)
3.2 ยึดมั่นในอุดมการณ์ที่จะสร้างการเมืองใหม่
ให้เป็นไปตามปณิธานการก่อตั้งพรรคการเมือง ของพันธมิตรประชาชนฯ
3.3 ยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต ไม่หลุ่มหลงในลาภยศสรรเสริญ
และไม่ขายตัว ย้ายพรรค

จาก ตัวอย่างรูปแบบ (Model)
การบริหารการเมืองภาคประชาชนและการเมืองภาครัฐ
เป็นลักษณะการกำหนดโครงสร้างแบบเป็นระบบครบวงจร คือ
มีองค์ประกอบไตรภาคีเชื่อมโยงกันอย่างเหนี่ยวแน่น ได้แก่

1. สมัชชามวลชนพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย
ซึ่งเป็นเสียงสวรรค์ในการนำพา
ประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าด้วยมือของประชาชน
2. สภาพันธมิตรประชาชน เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นตัวประสานระหว่างประชาชน
และพรรคการเมือง
3. พรรคการเมือง ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนนโยบายนำการเมืองใหม่
ในมิติการเมืองภาครัฐ ให้เป็นไปตามฉันทะมติของประชาชน

จาก แนวทางรูปแบบเบื้องต้น (ซึ่งยังไม่ได้ลงรายละเอียด) ที่นำเสนอข้างต้น
เพื่อให้มองเห็นภาพความเป็นไปได้เพื่อมุ่งสู่การปฏิบัติจริง
ของการเมืองภาคประชาชนและการเมืองภาครัฐ เพื่อมุ่งสู่การเมืองใหม่

ประชาชน
25 พฤษภาคม 2552
Copy

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น