...+

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

พรรคของพันธมิตรฯ กับปรากฏการณ์ทางการเมืองข้างหน้า

โดย ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์


ในที่สุดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ได้ลงมติด้วยเสียงข้างมากอย่าง
ท่วมท้น ท่ามกลางสายฝนให้ตั้งพรรคการเมืองใหม่
เพื่อสร้างการเมืองใหม่ให้เกิดขึ้นตามเจตนารมณ์ของวีรชนและประชาชน ณ
สนามกีฬาเมนสเตเดียม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต

เป็นปรากฏการณ์ต่อเนื่องหลังจากที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ขับ
ไล่รัฐบาลเผด็จการรัฐสภาแห่งทุนนิยมสามานย์
ผิดหวังกับการใส่เกียร์ว่างของรัฐบาลที่มาจากรัฐประหาร
และเสียใจรัฐบาลเปลี่ยนขั้วที่เมินเฉยต่อการเรียกร้องของพันธมิตรประชาชน
เพื่อประชาธิปไตยและยอมสยบเป็นทาสของพรรคร่วมรัฐบาลจนไม่สามารถเป็นตัวของ
ตัวเองได้

ยิ่งไปกว่านั้น
ประโยคชาวพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยควรจะต้องจดจำการก้าวเข้าสู่อำนาจ
ของรัฐบาลชุดนี้และการพูดถึงการชุมนุมที่ผ่านมาโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ
รองนายกรัฐมนตรีและเลขาพรรคประชาธิปัตย์ เมื่อวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2552
ความตอนหนึ่งว่า:

"ขณะนี้ถือเป็นวิกฤตทางการเมืองที่เลวร้ายที่สุดของการเมืองไทย
มีกระบวนการแบ่งคนในประเทศให้ทะเลาะและเป็นศัตรูกัน
โดยเฉพาะกลุ่มเสื้อแดงและเหลือง ซึ่งเป็นอันตรายต่อประเทศ"

นอกจากไม่สนใจข้อเรียกร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยแล้ว
ยังไม่สำนึกคุณความดีของภาคประชาชนที่พิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญจนประชาชนต้อง
สูญเสียอวัยวะและชีวิตจำนวนมาก
ทำให้พรรคการเมืองรัฐบาลที่แล้วถูกยุบพรรคไปถึง 3 พรรค
จนเกิดการพลิกเปลี่ยนขั้วรัฐบาลในวันนี้
คำกล่าวนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเริ่ม
ต้นที่จะพึ่งพาตัวเองในการสร้างการเมืองใหม่ด้วยการตั้งพรรคการเมืองของตัว
เอง

สิ่งที่เกิดขึ้นถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในทางการเมืองไทย
เพราะโดยปกติแล้วพรรคการเมืองในประเทศไทยเกิดขึ้นด้วยการรวมกลุ่มกันของคน
เพียงไม่กี่คน และใช้พรรคสร้างมวลชนเพื่อใช้เป็นเครื่องมือให้กลุ่มบุคคลผู้ตั้งพรรคเข้า
สู่อำนาจทางการเมืองเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง

แต่เหตุการณ์ในวันที่ 24 - 25 พฤษภาคม 2552
ถือเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นเพราะภาคประชาชนได้ตัดสินใจจะใช้เครื่องมือที่
เป็นพรรคการเมืองเพื่อบรรลุเป้าหมายข้อเรียกร้องของตัวเอง
และสร้างการเมืองใหม่ให้ได้ตามความต้องการของประชาชน

เป็นการหลุดกรอบจากมายาคติเดิมที่ว่า
"นักการเมืองและนายทุนรวมตัวกันตั้งพรรคการเมืองโดยใช้มวลชนเป็นเครื่องมือเข้าสู่อำนาจเพื่อสนองความต้องการของนักการเมือง"

กลายมาเป็น...
"มวลชนก่อตั้งพรรคการเมืองและสร้างนักการเมืองเพื่อสนองความต้องการของมวลชน"

ที่สำคัญคือ "ความต้องการของมวลชน" ที่เรียกตัวเองว่า
"พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย" นั้นไม่ได้เพื่อประโยชน์ของตัวเอง
หากแต่เป็นความต้องการเพื่อประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ในประเทศ
พิสูจน์ได้จากการเสียสละ และกล้าหาญ ที่ต่อสู้โดยยอมเสียสละ หยาดเหงื่อ
เลือดเนื้อ และชีวิต เพื่อรักษาธรรมและความถูกต้องตลอดระยะเวลา 193 วัน

เพราะการต่อสู้ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตลอดระยะเวลา
193 วัน มีการเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ของประชาชนและวีรชนจำนวนมาก
ผู้ชุมนุมและแกนนำจึงยังคงติดค้างอยู่ในจิตใจหากยังไม่สามารถบรรลุข้อเรียก
ร้องและสร้างการเมืองใหม่ให้เกิดขึ้นให้ได้

เพราะในแถลงการณ์ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยหลายครั้งก็ระบุอย่างชัดเจนในพันธสัญญาที่มีต่อเหล่าวีรชนผู้เสียสละว่า
"เราจะไม่ปล่อยให้การเสียสละของวีรชนต้องสูญเปล่า"

พรรคของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยตามฉันทานุมัติของ
"มหาชน" ที่กำลังจะตั้งขึ้นมาใหม่จึงเป็นเพียง "เครื่องมือชนิดหนึ่ง"
ของภาคประชาชนเพื่อบรรลุเป้าหมายในการสร้างการเมืองใหม่

ส่วนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยก็ไม่ได้ยกเลิก
"วิธีการชุมนุม" ซึ่งเป็น "เครื่องมืออีกชนิดหนึ่ง" ของภาคประชาชนเช่นกัน

พรรคการเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่ ไม่ว่าจะชื่ออะไรก็ตาม
ก็จะเป็นพรรคการเมืองที่มี "ราก" และ "เป้าหมาย"
จากการต่อสู้และเสียสละอย่างยิ่งใหญ่ของประชาชน!

เช่นเดียวกันกับสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV ที่มี "ราก"
จากการร่วมต่อสู้เคียงข้างประชาชน และดำรงอยู่ได้เพราะสนับสนุน
"เป้าหมาย" ของภาคประชาชนอย่างซื่อสัตย์!

เพราะสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV
ได้ร่วมต่อสู้และเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง
ของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ในการต่อสู้และขับไล่รัฐบาลที่ฉ้อฉลตลอดในระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา
จึงได้รับการโอบอุ้มจากประชาชนในการสนับสนุนเงินทุนเพื่อให้ตอบสนองความต้อง
การของประชาชน โดยไม่ตกอยู่ในอาณัติของนักการเมืองหรือนายทุนกลุ่มใด

ดังนั้นการที่นักการเมืองในระบบเก่าที่เข้าใจว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตยเมื่อมีพรรคการเมืองแล้ว จะทำให้ ASTV
ต้องล่มสลายลงเพราะจะไม่เป็นกลาง จึงเป็นความคิดที่ผิดถนัด!

เพราะความเป็นจริง ASTV ได้หลุดกรอบในมายาคติว่า
"สื่อต้องเป็นกลาง" มาตั้งนานแล้ว
แต่เป็นสื่อที่เคารพและซื่อสัตย์ต่อประชาชนผู้สนับสนุน
ที่ต่อสู้เพื่อราชบัลลังก์ ยืนอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศชาติ
เลือกข้างความถูกต้องและความเป็นธรรมตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา
และยังจะต้องเป็นเครื่องมือที่ต่อสู้เคียงข้างร่วมกับประชาชนต่อไป

เมื่อเราสรุปแล้วว่า ASTV
วางตัวเป็นสื่อเลือกข้างความถูกต้องและผลประโยชน์ของประเทศชาติ
ก็จะไม่ใช่เรื่องแปลกถ้ายืนอยู่ข้างเดียวกันกับภาคประชาชนที่ยืนอยู่บนความ
ถูกต้องชอบธรรม และก็จะไม่แปลกอีกเช่นกันถ้ายืนอยู่ข้างเดียวกันกับพรรคการเมืองหรือรัฐบาล
ที่ยืนอยู่บนผลประโยชน์ของประเทศชาติเช่นกัน

นับจากวันนี้ พรรคการเมืองที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่
จะมีความยึดโยงกับความต้องการของมวลชนในการปฏิบัติตามข้อเรียกร้องของ
พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
และสร้างการเมืองใหม่ให้เกิดขึ้นให้ได้จริง และภารกิจหลังจากวางโครงสร้าง
เขียนนโยบาย และวางตัวบุคคลแล้ว ก็คือการ
"ทำการเมืองใหม่ใจกลางการเมืองเก่า"

ไปทำให้ดูว่า "การเมืองที่ส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมือง
และป้องกันมิให้คนไม่ดีมีอำนาจ" เป็นอย่างไร?

ตัวอย่างเช่น เราจะได้เห็นนักการเมืองทั้งๆ
ที่เป็นฝ่ายค้านยกมือสนับสนุนให้คนดีเป็นนายกรัฐมนตรี
และเราจะได้เห็นนักการเมืองที่เป็นฝ่ายรัฐบาลยกมือคัดค้านนักการเมืองที่
ฉ้อฉลที่เป็นคนในรัฐบาล

ไปทำให้ดูว่า
"สิ่งที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้เรียกร้องเอาไว้ 13 ข้อ
สามารถทำได้จริงหากมีอำนาจ
หรืออย่างน้อยก็ผลักดันได้อย่างจริงจังในยามไม่มีอำนาจ ทั้งการเอา
ปตท.กลับคืนมา, การปฏิรูปรัฐตำรวจ, การปฏิรูปสื่อมวลชน
ความซื่อสัตย์สุจริต และปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชัน ฯลฯ"

ไปทำให้ดูว่า
ระบบเศรษฐกิจที่สร้างความเป็นธรรมสามารถทำได้จริงในสังคม
โดยออกนอกกรอบระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน ฯลฯ

ต่อคำถามที่ว่า
พรรคการเมืองที่จะมาทำภารกิจข้างต้นหากไม่มีจำนวนมากจะทำได้จริงหรือ?
ก็ตอบได้ว่ามีมากหรือมีน้อยไม่สำคัญเท่ากับการยืนหยัดสร้างขยายอุดมการณ์อัน
มีค่าให้สังคมเห็น
และจนกว่าประชาชนจะเชื่อมั่นและไว้วางใจสร้างการเมืองใหม่ให้เกิดขึ้นจริง

ทำให้เกิดความแตกต่างว่า อะไรคือการเมืองเก่าที่เน่าเฟะ
และอะไรคือการเมืองใหม่ที่เป็นแสงสว่างในสังคม
เหมือนดังการอดทนรอคอยในการจุดเทียนเล่มแรกในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
มาเป็นพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในวันนี้

ลำพังเพียงแค่การทำให้นักการเมืองในระบบเก่า
เร่งรีบปรับตัวเพื่อไม่ให้เสียคะแนนนิยม ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้ว!

ถามว่าฐานเสียงของพรรคที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะตั้งขึ้นอยู่ที่
ไหน และทับซ้อนกับเสียงในพรรคประชาธิปัตย์เท่าไร อาจจะพิจารณาไม่ง่ายนัก

เอาเป็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ในปี 2544
มีคะแนนเสียงปาร์ตี้ลิสต์ประมาณ 7.6 ล้านเสียง ใน
ขณะที่พรรคไทยรักไทยมีคะแนนเสียงประมาณ 11 ล้านเสียง
พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านไป 4 ปี
ในช่วงนั้นพรรคไทยรักไทยเป็นความหวังการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจมากกว่าพรรค
ประชาธิปัตย์ที่ภาพลักษณ์ติดลบจากวิกฤตเศรษฐกิจระหว่างปี 2540 - 2543

ปี 2548 มีการเลือกตั้งอีกครั้ง
พรรคประชาธิปัตย์มีคะแนนเสียงปาร์ตี้ลิสต์อยู่ที่ประมาณ 7.2 ล้านเสียง
ส่วนพรรคไทยรักไทยได้คะแนนเสียงท่วมท้นเกือบ 19 ล้านเสียง
เป็นการชนะกันอย่างขาดลอย พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านจนถึงวันรัฐประหาร
19 กันยายน 2549

ปลายปี 2548 เป็นจุดเริ่มต้นของปรากฏการณ์ สนธิ ลิ้มทองกุล
ที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลในรายการเมืองไทยรายสัปดาห์
และถูกปลดออกจากผังรายการของช่อง 9 อสมท ปรากฏการณ์สนธิ
และเกิดพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2549
ทำให้การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน 2549 (เป็นโมฆะ)
นั้นพรรคไทยรักไทยได้คะแนนเสียงเหลือเพียง 16 ล้านเสียง คะแนนหายไป 3
ล้านคะแนน ในครั้งนั้นมีคนกาบัตรว่าไม่ลงคะแนนถึงจำนวน 8.3 ล้านคน
ในปีนั้น 3 ล้านคะแนนที่พรรคไทยรักไทยหายไปเพราะไม่สามารถรับได้กับการฉ้อฉลในรัฐบาล

ปี 2550 พรรคพลังประชาชนได้คะแนนทั้งประเทศเหลือเพียง 13.2
ล้านเสียง ส่วนพรรคประชาธิปัตย์ได้คะแนนประมาณ 12.8 ล้านเสียง
ซึ่งบางคนอนุมานว่าคะแนนพรรคพลังประชาชนจากปี 2548 หายไปกว่า 6 ล้านเสียง
แล้วกลับมาบวกใหักับพรรคประชาธิปัตย์ 6 ล้านเสียงนั้น อาจเป็นเสียงที่
เคยเลือกพรรคไทยรักไทยเพราะความหวังการแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ
แต่ผิดหวังพรรคไทยรักไทยเพราะเป็นทุนนิยมสามาย์ที่ทุจริตฉ้อฉลปล้นบ้านเมือง
ภายใต้การตรวจสอบและชุมนุมกดดันโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
ใช่หรือไม่!?

ถ้าใช่ แปลว่าฐานเสียงพรรคประชาธิปัตย์เหนียวแน่นที่ประมาณ 7 - 8
ล้านเสียง ส่วนอีกเกือบ 6 ล้านเสียง
สามารถแปรเปลี่ยนได้อีกหากพรรคประชาธิปัตย์ทำให้ประชาชน 6
ล้านเสียงผิดหวัง และ 6 ล้านเสียงหรือมากกว่านั้นอาจหาทางเลือกทางอื่นๆ
ที่เสนอทางออก "เศรษฐกิจนอกกรอบที่มีความหวัง และไม่ฉ้อฉลสามานย์"

สรุป ได้ว่าพรรคที่จะเกิดขึ้นโดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
กำเนิดขึ้นเพราะความผิดหวังที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่สามารถข้ามผ่านการเมือง
ที่ล้มเหลวในระบบปัจจุบันไปได้
ยอมจำนนกับพรรคร่วมรัฐบาลโดยไม่สนใจข้อเรียกร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อ
ประชาธิปไตย จึงเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000059154

- ผมว่าคุณปานเทพ เก่งขึ้นอย่างผิดหูผิดตา จากปี 2548
- คุณเริ่มพูด และเขียน
ได้ดีมากเหมือนนักวิชาการคนหนึ่งเลยทีเดียวและเก่งเรื่องคณิตศาสตร์ตั้งแต่เมือไหร่
- ผมได้ดูรายการ Nation TV เมื่อคืนนี้ที่คุณได้ไปออกรายการกับ อ.สมบัติ
นิด้า ผมว่าคุณเก่งมาก แต่คุณน่าจะสั่งสอน คนที่ออกรายการกับคุณด้วย
เพราะ ดร.คนนี้ไม่ทราบว่าแกเก่งการเมืองมาจากไหน
ถึงได้กล้ามาท้ารบกับอ.สมบัติ ทั้งที่ท่านสอนการเมืองการปกครอง มาตั้งแต่
ดร.คนนี้ยังอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ น่าจะรบให้รู้จักฝีมือพันธมิตรเสียบ้าง
เพราะถ้าเป็นผมคงไม่ปล่อยเอาไว้ เพราะคำว่า
ดร.ไม่ได้แปลว่าเก่งไปเสียทุกคน และทุกเรื่อง
- ผมดีใจที่เรากำลังจะได้พรรคที่เป็นทางเลือกสำหรับคนที่สนใจการเมืองอย่าง
จริงจัง เหมือนที่ อ.สมบัติท่านพูด
และเหตุผลของท่านน่ารับฟังเป็นอย่างมากในการมองการเมืองบ้านเรา
ซึ่งพันธมิตรคงต้องรับฟัง
- คุณบรรจง พิธีกรก็เหมือนกัน เป็นพิธีกรที่ดีคนหนึ่ง
แต่ไม่รู้ว่าพักหลัง ทำไมเครือเนชั่นถึงเปลี่ยนไป อย่างว่า
คนในกลุ่มนี้ก็มีทั้งรักพันธมิตร และเกลียดรวมอยู่ด้วยกัน
แต่อย่าลืมอดีตว่าพวกท่านเคยโดนปิดล้อมมาแล้ว คงไม่ต้องบอกว่ามาจากพวกไหน
แต่พันธมิตรคงไม่ทำแน่
- เดินหน้าต่อไปอย่างรวดเร็วเถอะครับ เพราะเวลาเป็นสิ่งที่ไม่คอยใคร
และนักการเมืองเก่า ๆ
และคนในพรรคที่เราเคยคิดว่าเป็นพันธมิตรก็พยายามดิสเครดิตตัวเอง
ด้วยการกล่าวถึงพันธมิตรทุกวัน วันละหลาย ๆ คน
ไม่ทราบว่ากลัวจริงหรือแกล้งกลัวกัน
- ไม่ต้องพูดถึงภาคไหน ๆ คนมีสิทธิที่จะเลือกทางเลือกใหม่ทั้งนั้น
ประชาชนฉลาดขึ้นก็เพราะ ASTV นั่นคือเรื่องจริงที่ปฏิเสธไม่ได้
- พันธมิตรแข่งกับประชาธิปัตย์ในบางพื้นที่ แต่
เพื่อไทยและภูมิใจไทยก็แข่งกันในหลายพื้นที่เหมือนกัน
ของอย่างนี้มันอยู่ที่ประชาชน
- ขอให้พันธมิตรประสบความสำเร็จในการเมืองใหม่ การเมืองเพื่อประชาชน
ประเทศชาติ และพระมหากษัตย์ที่ไม่มีอีกแล้วในโลกนี้
- พวกเรากำลังจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น
ก็ขอระวังทุกก้าวย่างที่เรากำลังเดินไป
เพราะมีพวกกำลังจะเต่ะตัดขาพวกเราทุกขณะ
แต่ก็ไม่อยากให้ระวังจนกลัวไปทุกเรื่องในเรื่องความชัดเจน
เพราะถ้าความชัดเจนมีช้า เหล็กที่ต้องตีกำลังร้อน จะตีกันไม่ทัน
เวลากำลังเหมาะสม เพราะที่บอกว่าได้เท่าไหร่ไม่สำคัญ
ก็ขอให้ตั้งใจไว้ตามนั้น แต่พยายามทำให้ถึงที่สุด เพราะความคาดหวัง
กับการกระทำไม่ใช่เรื่องเดียวกัน
- ขอให้บ้านเมืองได้รับการแก้ไขโดยเร็ว
เพราะประชาชนส่วนใหญ่กำลังจะหมดเรี่ยวแรงแล้ว ถ้าไม่มีคนดีมาช่วย

ขอบคุณพันธมิตร
จุมพล

++
คุณสนธิ ต้องอย่าตกหลุมพรางทางการเมืองด้วยการรับตำแหน่งหัวหน้าพรรค

มีหลายเหตุผล ที่คุณสนธิไม่ควรรับตำแหน่งหัวหน้าพรรค

- คุณสนธิ เคยพูดไว้ในที่สาธารณะถึง 2 ครั้งว่า จะไม่เข้าสู่การเมือง
ประเด็นหลักไม่ได้อยู่ที่กลุ่มพันธมิตรจะเสื่อมศรัทธา แต่มันอยู่ที่
ประชาชนทั่วไปต่างหาก ทั้งเสื้อแดงที่จะคอย เติมเชื้อไฟ คอยใส่ความ
ทั้งจากพวกฝ่ายตรงข้าม ที่จะโหมเพื่อทำลายความน่าเชื่อถือ

- คุณสนธิ มีภาพของนักสื่อสารมวลชนที่มีข้อมูลนักการเมืองมากมาย
การแสดงออกของคุณสนธิ เป็นการแสดงออกส่วนหนึ่งในสถานะ สื่อสารมวลชน
และอีกสถานะหนึ่ง คือ ผู้นำมวลชน
ซึ่งการแสดงออกจะมีน้ำหนักมากในการสื่อข้อความต่างๆถึง มวลชน
แต่หากสถานะเปลี่ยนไปเป็น นักการเมือง น้ำหนักและคำพูดของคุณสนธิ
จะกลายเป็นการโจมตีกันระหว่าง นักการเมืองด้วยกัน น้ำหนัก เหตุผล
ต่างๆจะลดลง

- คุณสนธิเอง เป็นทั้งจุดดีจุดแข็ง และจุดอ่อนในคราวเดียวกัน
ยิ่งคุณสนธิเป็นเจ้าของสื่ออย่าง ผู้จัดการ และ เอเอสทีวี
หากเข้าสู่การเมือง จะหนีเหตุผลที่ฝ่ายตรงข้ามจะยัดเยียดให้ว่า
ผลประโยชน์ทับซ้อนได้หรือไม่

- คุณสนธิ มีบุคคลิกพิเศษในการสื่อสารอธิบายข้อมูล
และเรื่องราวต่างๆให้เป็นเรื่องที่ฟังง่ายไม่น่าเบื่อ
แล้วถ้าคุณสนธิเข้าสู่การเมืองเต็มตัวนั้น
คุณสนธิจะสามารถทำอย่างที่เคยทำได้หรือไม่
หากทำไม่ได้แล้วใครจะมาทำหน้าที่แทน

- คุณสนธิเองก็มี ข้อหาที่ถูกยัดเยียดจากฝ่ายตรงข้าม
เพื่อเตรียมพร้อมที่จะหยุดคุณสนธิหากคิดจะเดินหน้ารุกต่อไป ทั้งข้อหา กบฏ
ข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ
และอีกหลายข้อหาที่ถูกรัฐบาลก่อนหน้าที่ยัดเยียดให้
จะถูกทยอยนำมาเล่นเป็นเกมการเมืองทันที และหากคุณสนธิถูกฟ้อง
สถานภาพการเป็น นักการเมือง หรือ สส หรือถ้าโชคดีอาจเป็นนายกนั้น
ก็ต้องถูกระงับ เมื่อมีคดีความอาญาติดตัว ทั้งหลายทั้งมวลนี้ คือ
เกมที่จะทำลายคุณสนธิ ให้หมดความน่าเชื่อถือทาง สังคม
และทำลายหนทางการเข้าสู่อำนาจทางการเมือง
พันธมิตรเคยมองจุดสำคัญด้านนี้หรือไม่ ทุกอย่างล้วนมีดี มีเสีย
หากมองแต่จุดดี โดยไม่มองข้อด้อยเลย ก็ค่อนข้างจะประมาทและไม่รอบคอบ
สุ่มเสี่ยงมากมายที่จะพังกันหมด ทั้งพันธมิตร ผู้จัดการ เอเอสทีวี
และพรรคการเมือง

- ทำไมทุกๆคนถึงมองแต่จะดันคุณสนธิ
เพราะนี่เป็นการผลักคุณสนธิไปสู่ความหายนะ แท้ๆ
เพราะคุณสนธิจะไม่ถูกรุมยำแต่เพียง พรรคเพื่อไทยเท่านั้น ไม่ว่าจะ
พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคภูมิใจไทย หรือแม้กระทั่งพรรคประชาธิปัตย์
จะไม่ร่วมมือกัน จัดมหกรรมรุมยำ คุณสนธิเหรอ
เขาเล่นกันทางการเมืองเราต้องรู้ให้ทัน

- กรณีคม ชัด ลึก ที่วิเคราะห์การเมืองออกมานั้น มองให้ ขาด ก็คือ
เกมที่บีบให้คุณสนธิเล่นการเมือง โดยได้ประโยชน์ 2 เด้ง

เด้งแรกคือ ได้ดิสเครดิตพันธมิตรไปเรื่อยๆ

เด้ง สองคือ หากคุณสนธิโดดเข้าสู่การเมืองเต็มตัวนั้นแผนการที่จะมี
มหกรรมรุมยำคุณสนธิ ก็จะสำเร็จผล เพราะมหกรรมรุมยำคุณสนธินั้น
มีหลายฝ่ายมากเหลือเกินที่จะร่วมมหกรรมนี้ รวมทั้ง สีเขียว กากี สีขาว
สำน้ำเงิน สีแดง และกลุ่มนักธุรกิจผู้สูญเสียผลประโยชน์
- ทำไมพันธมิตร ไม่หาผู้นำพรรคที่อยู่ในแกนนำรองเพื่อเป็นทัพหน้าในการ
เข้าสู่การเมือง เพื่อสร้างระบบ ปูพื้นฐานการเมืองใหม่

- ให้แกนนำหลักคือ 5 แกนนำอยู่กับมวลชนเพื่อ ขยายความรู้ แนวคิด
และข้อมูล และคอยแฉข้อมูลต่างๆของนักการเมืองที่คิดฉ้อโกง
เพื่อกดดันและสร้างความหวาดผวา อึดอัด ให้กับนักการเมืองขี้ฉ้อทั้งหลาย

- ส่วนการต่อสู้ทางสภา ก็ให้ สส ที่ได้รับเลือก หรืออาจได้เป็นรัฐมนตรี
นำแนวความคิด ทั้งหลายของพันธมิตรที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง
ผลักดันเข้าสู่สภาเพื่อแปรแนวคิด ให้เป็นนโยบายต่อสภา
หรือผลักดันให้เป็นนโยบายรัฐบาล

สู้ทั้งสองระบบ ผลักกดัน
และสร้างแรงกดดันไม่ว่าใครจะเป็นรัฐบาลให้หันมามอง
นโยบายที่ประชาชนช่วยกันผลักดัน และหากว่า
ขั้นตอนทุกอย่างถูกแปรเป็นรูปธรรม ประชาชนทั้งประเทศได้ประโยชน์
เมื่อนั้น แรงสนับสนุนทั้งหลายก็จะเทเข้ามาสู่
ทั้งพรรคการเมืองของพันธมิตร ( ผมชอบชื่อ พรรคเทียนแห่งธรรม มากกว่า )
และภาคประชาชน พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และเมื่อนั้น
การเมืองใหม่ที่ทุกคนหวัง ก็ใกล้เป็นความจริงโดยไม่จำเป็นต้องเอาแกนนำ
ไปสุ่มเสี่ยงกับการเสียผู้เสียคน เสียสัจจะ
และอาจจะเพลี่ยงพล้ำต่อฝ่ายตรงข้าม

ชนะด้วยปัญญา เหนือกว่า ชนะด้วยการปะทะด้วยกำลัง

ลองพิจารณาดูนะครับ

ด้วยความเคารพครับ
ขงเบ้งดิจิตอล
copyมาให้อ่าน

++
กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 27 พ.ค. 52 คอลัมภ์ กาแฟดำของคุณ สุทธิชัย หยุ่น
เพราะ นี่มิใช่กิจกรรมเฉพาะ "คนเสื้อเหลือง" อีกต่อไป
หากแต่เป็นพันธกิจที่มวลชนกลุ่มหนึ่งได้ประกาศเจตนารมณ์
ที่จะผลักดันให้เกิดพรรคการเมืองที่จะเป็น "น้ำดี" และส่งเสริมให้
"เลือดใหม่" เข้ามาสู่วงการการเมืองอย่างเป็นกระบวนการที่ถูกต้อง

ผม จึงถือว่ามติท่ามกลางสายฝนของพันธมิตร เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (25
พ.ค.) เป็นสัญญากับประชาชนทั้งประเทศว่าพรรคการเมืองใหม่นี้
จะไม่เดินตามรอยของการเมืองเก่าที่มีเป้าหมายหลัก คือ การแย่งชิงอำนาจ
เก้าอี้ และมุ่งจะได้อำนาจรัฐมาเพื่อให้เกิดประโยชน์กับกลุ่มของตนเท่านั้น

คำ ประกาศของแกนนำพันธมิตร ที่ว่าพรรคใหม่จะมีกติกาที่เคร่งครัด
และเข้มแข็งในการสร้างคุณภาพใหม่ให้กับการเมืองไทยเป็นข้อผูกมัดที่ท้าทาย
และต้องพิสูจน์

เช่นว่าจะไม่ให้กลุ่มทุนมาบงการทิศทางของพรรค จะไม่ให้ ส.ส.
ของพรรคเป็นรัฐมนตรี จะไม่ให้นักการเมืองของพรรคมี "ผลประโยชน์ทับซ้อน"
และจะรับฟังความเห็นของคนทุกกลุ่มในสังคมอย่างเปิดกว้าง

สำคัญกว่า การประกาศว่าจะรับฟังความเห็นของคนอื่น ก็คือ การไม่ใช้กลยุทธ์
"ตะลุยพลีชีพ" (suicide offensive) ในหลายๆ กรณี
เพื่อกดดันให้เกิดสิ่งที่ตนต้องการโดยไม่สนใจว่าจะเกิดผลข้างเคียง
(lateral damage) กับสังคมโดยส่วนรวมอย่างไร

อีกทั้งยังจะต้องไม่มอง ว่าคำวิพากษ์วิจารณ์ของคนอื่นๆ นั้น
เป็นการจงใจทำลายตนเอง หรือชี้นิ้วกล่าวหาผู้ไม่เห็นด้วยว่าเป็นศัตรู
หรือ "รับงาน" จากคู่แข่งทางการเมืองของตน

การประกาศว่าจะไม่ยึดเอาจำนวนที่นั่งใน สภา
เป็นเกณฑ์วัดความสำเร็จหรือล้มเหลวของการทำงาน
แต่จะมุ่งให้พรรคเป็นฐานแห่งการปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน
โดยเฉพาะคนที่ไม่มีอำนาจต่อรองในโครงสร้างการเมืองปัจจุบันนั้นเป็นแนวทาง
ที่น่าชื่นชม

เพราะการสร้างพรรคการเมืองที่ดี ยืนยาว และไม่โยกคลอนตามกระแสสังคมนั้น
เป็นเรื่องที่ต้องใช้ความอดทน อดกลั้น ใจกว้าง สติ
และความเสียสละอันใหญ่หลวงยิ่งนัก...ใครที่อาสามารับภารกิจเช่นนี้ย่อมต้อง
ถือว่าเป็นผู้ที่ควรแก่การยกย่อง

การสร้างพรรคการเมืองที่ประชาชน เลื่อมใสศรัทธา
มิอาจเกิดขึ้นได้ในชั่วข้ามคืน หรือเพียงแค่หนึ่งหรือสองปี
หากแต่จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการปรับปรุงตนเอง
สะท้อนความต้องการของประชาชนทุกหมู่เหล่า และผู้นำในระดับต่างๆ
อย่างมั่นคง ต่อเนื่องและเปิดกว้าง

ส่วนพันธมิตรจะสามารถทำงานพรรค การเมือง
และเดินหน้าในฐานะกลุ่มการเมืองภาคประชาชนพร้อมๆ
กันไปได้อย่างที่เป็นมติเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกพันธมิตร
จะเป็นไปได้แค่ไหน จะประสบอุปสรรคอย่างไร จะสอดคล้องและขัดกันอย่างไร
เป็นประเด็นที่พันธมิตร และสังคมจะต้องวิเคราะห์ ประเมิน
และวิพากษ์กันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องเช่นกัน

แน่นอนว่า ความเคลื่อนไหวใหม่ล่าสุดของพันธมิตรเช่นนี้จะต้องเป็นเป้าของการวิพากษ์
วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ทั้งที่หวังดี และหวังร้าย
ทั้งที่ต้องการให้เกิดและต้องการให้สลาย...

แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับ การที่แกนนำพันธมิตร
และผู้บริหารพันธมิตรในระดับต่างๆ จะต้องแสดงจุดยืนของตนให้มั่นคง
แยกให้ออกว่าอะไรคือสิทธิส่วนตน และอะไรคือผลประโยชน์แห่งสาธารณะ

เพราะวันนี้ ท่านทั้งหลายได้อาสาตัวเอง
มารับใช้ผลประโยชน์ของชาติในเวทีใหญ่ที่มีกติกา ความคาดหวัง รางวัล
และบทลงโทษของมันแล้ว มิใช่เป็นการทำสื่อเอกชน มิใช่การจัดการชุมนุม
และมิใช่เป็นเพียงกลุ่มกดดันเฉพาะกิจอีกต่อไป

ขอคารวะในความจริงจัง และกล้าหาญ ขอให้กำลังใจ
และขอต้อนรับเข้าสู่สมรภูมิแห่งการพิสูจน์ และการท้าทายอันหนักหน่วงยิ่ง

ขอ ให้รับทราบว่าคำวิพากษ์ แนะนำ เห็นพ้อง และเห็นต่างใดๆ
ล้วนมาจากเจตนาแห่งการสร้างสรรค์
เพื่อส่งเสริมคนต้องการทำดีเพื่อชาติบ้านเมือง
และกีดขวางคนที่ต้องอำนาจรัฐเพื่อประโยชน์แห่งตนเท่านั้น

มิมีเหตุผลปนเปื้อนอื่นใดทั้งสิ้น
ลอกมาให้อ่านอีกจะ ยอมรับผู้คิดต่างและยังรักกันเพราะเป็น พธม.

++
*** คิดว่าคงไม่ถูก Block นะครับ เพราะ ASTV เป็นของประชาชน
ผมก็จ่ายทุกเดือนเหมือนกัน **
** ไม่เข้าใจครับ **
1. ประชุมแกนนำ วันที่ 24 ไม่มีการจัดกลุ่มแลกเปลี่ยน โดยตัวแทน พธม 10
ภูมิภาค ไม่มีการสรุปผล ออกมา ได้แต่ให้แกนนำภาค
ที่บางภาคดูเหมือนไม่เคยปรึกษาใคร เพราะจังหวัดตัวเอง ก็มีอยู่ 4-5 กลุ่ม
ที่ไม่เคยคุยกันอยู่แล้ว ออกมาพูด หลายจังหวัด ก็บอกว่า ยังไม่พร้อม
และไม่เห็นด้วย
2. องค์กรแนวร่วม ที่ไม่เห็นด้วยกับการตั้งพรรค ได้แก่ TGO , TAXI,
พยาบาลมัฆวาน และอีกหลายหน่วยงาน
3. พธม ยอมรับหรือไม่ หลายจังหวัด แตกแยกกันเป็นหลายกลุ่ม คนที่เคยเป็น
พธม อย่างสุดชีวิต ปัจจุบัน เปลี่ยนไป (เพราะอะไร หรือ ถ้าไม่รู้
วันหลังจะบอกอีกครัง) ขนาดใน จังหวัด ซึ่งต้องเป็นฐานเสียงที่สำคัญ
ยังไม่รวมกลุ่มกัน แล้วจะเป็นการเมืองใหม่อย่างไร
4. แกนนำ พูดอยู่ตลอดเวลา ว่า ไม่เคยชี้นำ ประชาชน ต้องเป็นคนเลือก
ฟังยังไง ๆ แกนนำพูดกี่ครั้ง ASTV รายงานไม่ว่าจะเป็นรายการใด
ท่านก็ชี้นำตลอด สกู๊ป พิเศษ แต่ทำไมมีประวัติแกนนำชนิดจงใจ ให้โดดเด่น
ใคร ๆ เขาก็รู้กันทั้งนั้น
5. ท่านคงลืมไปว่า ท่านสอนให้ มวลสมาชิก พธม ฉลาดคิด นักศึกษา
ม.ราชดำเนิน ก็คิดเป็นทั้งนั้น 8 ใน 10 คน พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า แกนนำ
ตั้งธงไว้แล้ว
6. ถ้า ท่านแกนนำ บอกมาเลยว่า ต้องตั้งพรรค เพราะมีความจำเป็น ขอพี่น้อง
พธม ทั่วประเทศ ช่วยกัน เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน แนวร่วมทั้งหลาย
มาช่วยกัน **** ผมจะไม่ว่าสักคำ ความรู้สึกจะดีกว่านี้เยอะ ***
7. ไม่ต้องพูดถึงวันที่ 25 เพราะยิ่งชัดเจน

*****คราวหน้า จะพูดเรื่อง ASTV TV ของประชาชน จะดูซิว่า วันนี้ จะถูก
Block หรือไม่ *****
พธม บ้านนอก

++
อยากเสนอให้อาจารย์ดร.เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองใหม่
ของพันธมิตรจริงๆ เลย เพราะท่านเก่งรอบด้าน
และเป็นนักสู้กล้าเปิดโปงรู้ทันทักษิณมาตลอด วิเคราะห์เรื่องต่างๆ
ได้ชัดเจน เก่งไม่แพ้คุณสนธิเลย อยากให้คุณสนธิท่านเป็นแกนนำพันธมิตร
ทัพหลักทัพหลวงของประชาชนดีกว่า ไม่ใช่ไม่อยากให้คุณสนธิเป็นหัวหน้าพรรค
แต่กลัวโดนฝ่ายตรงข้ามเล่นงานซะก่อนการเมืองใหม่จะได้เกิด
ส่วนพรรคของพันธมิตรที่จะตั้งขึ้นอยากให้เป็นเครื่องมือของพันธมิตรอย่าง
หนึ่งในการต่อสู้ในสภา เช่นที่คุณสนธิท่านได้บอกไว้
สรรหาบุคลากรชาวพันธมิตรที่ไว้วางใจได้ในความสามารถ ฝีมือ และความกล้าหาญ
ซื่อสัตย์ สุจริตทำเพื่อชาติและประชาชนจริงๆ ที่เห็นๆ
ก็มีท่านดร.เจิมศักดิ์
ปิ่นทองนี่แหละที่ท่านร่วมรบเคียงบ่าเคียงไหล่กับพันธมิตรมาโดยตลอด
คุณสมบัติท่านเหมาะสมในทุกๆ ประการ บุคคลิกสมานฉันท์
สุขุมอ่อนน้อมแต่กล้าต่อสู้กับอธรรมทุกๆ เรื่อง ไม่มีจุดอ่อนใดๆ
ที่ฝ่ายตรงข้ามจะเอามาโจมตีได้ เรียกว่าชาวบ้านทั่วๆ ไปไม่ว่าสีไหนๆ
ก็ค่อนข้างจะเปิดใจรับท่านดร.เจิมศักดิ์ได้ด้วย ท่านเป็นคนศึกษาธรรมะด้วย
ครบเครื่องน่ะ ทีนี้แม่ทัพทั้งสองทัพของเราทั้งทัพหลวงนำภาคประชาชนมีคุณสนธิ
ทัพหน้าลุยในสภามีดร.เจิมศักดิ์ ประสานพลังกันกอบกู้สร้างชาติบ้านเมือง
ขจัดคนชั่วในระบอบการเมืองเก่าให้หมดไป
รับรองศัตรูแค่เห็นชื่อก็กลัวกันแล้ว
การเมืองใหม่ของไทยเราจะได้เกิดได้เต็มตัวซะที
ขอแสดงความคิดเห็น
++

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น