สวช. อบรมเยาวชนหวังอนุรักษ์หุ่นไทย
หลังขาดช่วงการสืบสานมาเป็นเวลานาน
ขณะที่นักวิชาการชี้ไทยยังขาดการศึกษาค้นคว้าเรื่องนี้อย่างจริงจัง
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) จัดเสวนาหัวข้อ
"พัฒนาการหุ่นไทยในวัฒนธรรมสังคมเมือง" ซึ่งเป็น 1
ในกิจกรรมพิธีปิดการฝึกอบรมโครงการ "รักษ์หุ่นไทย
ระบายสีเสริมสร้างสุนทรีย์ การ์ตูนอาเซียน" ซึ่งมีนักเรียน นักศึกษา
ประชาชนทั่วไปที่เข้าร่วมอบรมกว่า 100 คน
ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต
นายอเนก นาวิกมูล วิทยากรจากศูนย์สังคีตป์ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด
(มหาชน) กล่าวว่า มีหลักฐานการบันทึกว่าหุ่นไทย เช่น หุ่นกระบอก หุ่นหลวง
หุ่นกระบอก หุ่นสายเสมา เป็นต้น มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
เป็นภูมิปัญญาของบรรพบุรุษด้านช่างศิลป์ไทยที่สามารถประดิษฐ์หุ่นเหมือนคน
จริง สามารถเคลื่อนไหวได้ทุกส่วนตั้งแต่ใบหน้าจนถึงเท้า น่า
เสียดายว่าการพัฒนาบ้านเมืองแต่ละยุคสมัย ที่มักเน้นด้านเศรษฐกิจ
และด้านอื่นๆ แต่การสืบทอดศิลปะของหุ่นไทยกลับไม่ได้รับความสนใจจนเกือบสูญหายไป
ที่ผ่านมาประเทศไทยขาดการจดบันทึกวิวัฒนาการหุ่นไทยอย่างต่อเนื่อง
ไม่ได้มีการจัดเก็บในพิพิธภัณฑ์
และขาดนักวิชาการศึกษาค้นคว้าเรื่องดังกล่าวอย่างจริงจัง
จึงทำให้เรื่องราวหุ่นไทยโดยเฉพาะหุ่นที่เป็นศิลปะพื้นบ้านของแต่ละภาคได้
เลือนหายไป แต่การรื้อฟื้นอบรมเด็กและเยาวชนขึ้นมาใหม่เชื่อว่าจะสามารถส่งเสริม
ปลูกฝังค่านิยมและสืบสานมรดกทางศิลปวัฒนธรรมไทยให้อยู่คู่สังคมไทยต่อไป
นายวรวินัย หิรัญมาศ ผู้อำนวยการสถาบันศิลปะและวัฒนธรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง กล่าวว่า
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10
ได้กำหนดการพัฒนาสังคมสู่สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้
ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากปราชญ์ผู้
รู้ที่มีประสบการณ์ รวมไปถึงการเรียนรู้เรื่องหุ่นไทยด้วย
ที่ได้มีการถ่ายทอดความรู้ทั้งการประดิษฐ์ตัวหุ่น
เสื้อผ้าและเครื่องประดับ การเชิดหุ่นในท่วงท่าต่างๆ
ซึ่งได้รับความนิยมจากเยาวชนไทยมากขึ้นซึ่งถือเป็นสิ่งที่น่ายินดีในการสืบ
สานและอนุรักษ์ศิลปะแขนงนี้อยู่คู่คนไทย
และเป็นชื่นชอบของชาวต่างชาติด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น