...+

วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ประจาน "บก.เก๊ะ" ข้อมูลชัด "มติชน" ฟาดโฆษณารัฐอิ่มแปล้!

ประจาน "บก.เก๊ะ" ข้อมูลชัด "มติชน" ฟาดโฆษณารัฐอิ่มแปล้!
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

เปิดสถิติ "มติชนรายวัน" ฟาดโฆษณาจากหน่วยงานภาครัฐทะลุ 60 ชิ้น/สัปดาห์
บ่งชี้ต้นเหตุ "ประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์" นายกสมาคมนักข่าวฯ ออกมาโวย
จะเอากันยังไงถ้าไม่มีโฆษณารัฐ นสพ.เจ๊ง-นักข่าวตกงานแน่ สื่ออาวุโสระบุ
"โฆษณารัฐ" เยอะไม่เป็นไรแต่อย่ามีพฤติกรรมเลียนักการเมือง
ให้เงินใต้โต๊ะ หรือทอนเงิน ขรก.-นักการเมือง
ชี้แม้แต่เอากระเช้าไปให้นักการเมืองเมื่อได้ตำแหน่งก็ไม่เหมาะสม

จากกรณีที่วานนี้ (28 พ.ค.) นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ หรือ
"บก.เก๊ะ" บรรณาธิการในเครือมติชน
ในฐานะนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
ได้กล่าวอภิปรายในงานสัมมนา "สื่อและประชาธิปไตยในวิกฤต :
บทบาทและความรับผิดชอบของสื่อ" ซึ่งจัดโดย คณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน
สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา
สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และมูลนิธิฟรีดริช เอแบร์ท
(The Friedrich Ebert Stiftung) ที่อาคารรัฐสภา 2
เกี่ยวกับกรณีปัญหาความจำเป็นในการพึ่งพิงโฆษณาจากภาครัฐของสื่อไทย
รวมถึงกล่าวโจมตีสื่อเครือเอเอสทีวี-ผู้จัดการด้วยว่าเป็นเครื่องมือทางการ
เมือง

นายประสงค์กล่าวว่า
ด้วยเหตุนี้สื่อมวลชนไทยจึงต้องเอาอกเอาใจนักการเมือง
เนื่องจากนักการเมืองเป็นผู้คุมงบประมาณของโฆษณาภาครัฐอยู่
ซึ่งถ้าหากไม่มีโฆษณาจากภาครัฐสื่อจะทำกำไรไม่ได้ หรืออาจอยู่รอดไม่ได้
และพนักงานขององค์กรสื่ออาจจะต้องตกงาน

"เรื่อง ของทุนก็ต้องยอมรับกันว่าสื่อหนังสือพิมพ์ส่วนใหญ่เป็น
100 เปอร์เซ็นต์ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของเครื่องมือทางการเมืองบ้าง อะไรบ้าง
จะทำยังไงกับมัน กำไรก็ต้องมี พนักงาน 2,000 คน จะทำยังไง
จะให้อยู่รอดไหม ยิ่งเค้กก้อนเล็กลง โฆษณาก้อนเล็กลงขณะนี้จะเอายังไง

"แล้ว ก้อนที่ใหญ่ที่สุดขณะนี้บอกให้ตรงๆ นะครับ
ก้อนใหญ่ที่สุดคือโฆษณา งบประมาณของเรา ในแง่โฆษณาประชาสัมพันธ์จะทำยังไง
ซึ่งคนที่คุมก็คือนักการเมือง แต่ถ้านักการเมืองคุม นักการเมือง
สปอตโฆษณาออกทีวีนี่หน้านักการเมืองทั้งนั้นเลยนะ จะทำยังไง
จะให้อยู่รอดไหม พวกผมเอาให้ตกงานไหม พูดลงลึกไปถึงระดับลูกจ้าง
ลูกน้องจะตกงานหรือเปล่า อันนี้พูดความจริงกัน
โครงสร้างการจัดการจะยอมให้เป็นสื่อแบบทุนนิยมแบบนี้ ทุนโดยรัฐ
จะเอายังไงกับมัน สังคมจะทำยังไง จะตอบยังไง
ก็พูดข้อเท็จจริงว่านี่เป็นปัญหาใหญ่ ผมแก้ไม่ได้หรอก
ให้ผมแก้ผมจะไปยอมได้ไง" บรรณาธิการในเครือมติชนกล่าว

ขณะที่ในอีกตอนหนึ่งนายประสงค์กล่าวว่า "เรา
จะยอมรับหรือเปล่าให้สื่อเป็นเครื่องมือทางการเมืองได้
เราจะยอมรับความจริงไหม วันนี้ถ้าเกิดพรรคพันธมิตรฯ ตั้ง ASTV
บอกไม่ใช่ของพรรคหรอก มันเป็นเครื่องมือทางการเมืองแน่นอน ..."

ทั้งนี้ เมื่อข่าวดังกล่าวเผยแพร่ออกไป ทีมข่าวของ
ASTVผู้จัดการออนไลน์ก็ได้รับแจ้งจากประชาชนผู้ติดตามสื่อซึ่งระบุว่า
หากสังเกตให้ดีจะพบว่าตลอดระยะเวลาปลายปีที่ผ่านมาสื่อในเครือมติชน
โดยเฉพาะ นสพ.มติชนรายวัน
นั้นถือเป็นสื่อหนังสือพิมพ์ที่ได้รับงบประมาณโฆษณาจากหน่วยงานภาครัฐมากที่
สุด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับสื่อหนังสือพิมพ์อื่นๆ
โดยบางวันในหนังสือพิมพ์ที่มี 32 หน้า (รวมส่วนโฆษณาย่อยแล้ว)
มีโฆษณาจากหน่วยงานภาครัฐมากกว่าสิบชิ้น

ด้วยเหตุนี้เอง
เมื่อผนวกเข้ากับคำอภิปรายของนายประสงค์ล่าสุดก็อาจจะเป็นการไขคำตอบได้ว่า
ไม่ว่าจะยุคใดสมัยใด เมื่อนักการเมืองกลุ่มใดขึ้นมาเป็นรัฐบาล
สื่อบางส่วนจึงต้องเอาอกเอาใจนักการเมืองเหล่านั้นเป็นพิเศษ

เมื่อผู้สื่อข่าวตรวจสอบจำนวนโฆษณาภาครัฐของ นสพ.มติชนรายวัน
ในรอบ 1 สัปดาห์ที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่ วันเสาร์ที่ 23 พ.ค. ถึงวันศุกร์
29 พ.ค.52 ก็พบว่ามีหน่วยงานภาครัฐ หรือ หน่วยงานที่กำกับดูแลโดยภาครัฐ
ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ฉบับดังกล่าวมากถึง 63 ชิ้น โดย
ไม่นับรวมถึงโฆษณาสถาบันการศึกษาของรัฐ
โฆษณาของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่แสวงหากำไร อีกทั้ง
ไม่รวมโฆษณาในส่วนโฆษณาย่อย (Classified) และโฆษณาฉบับพิเศษ (Supplement)
อื่นๆ

นอกจากนี้ยังมีข้อสังเกตด้วยว่า โฆษณาภาครัฐที่ลงใน
นสพ.มติชนรายวัน จะกระจุกตัวอยู่ในช่วงวันทำการของราชการ คือ
วันจันทร์ถึงวันศุกร์ โดยคิดเป็นสัดส่วนมากถึงประมาณร้อยละ 50
ของโฆษณาทั้งหมดที่ลงในหนังสือพิมพ์แต่ละวัน
สำหรับรายละเอียดของโฆษณาในแต่ละวันมีดังนี้

วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม 2552 มีโฆษณาของหน่วยงานภาครัฐ 2 ชิ้น จาก
1.กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงมหาดไทย
2.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤษภาคม 2552 มีโฆษณาของหน่วยงานภาครัฐ 1 ชิ้น จาก
1.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2552 มีโฆษณาของหน่วยงานภาครัฐ 12 ชิ้น จาก
1.กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
2.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กระทรวงศึกษาธิการ
3.กรมการปกครอง
4.ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
5.สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.)
6.การเคหะแห่งชาติ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
7.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
8.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
9.กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง
10.สำนักงานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย
11.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
12.กรมพัฒนาพลังงานทดแทน กระทรวงพลังงาน

วันอังคารที่ 26 พฤษภาคม 2552 มีโฆษณาของหน่วยงานภาครัฐ 9 ชิ้น จาก
1.สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ และกระทรวงอุตสาหกรรม
2.สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(กปร.) สำนักนายกรัฐมนตรี
3.กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
5.สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกร (คปก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
6.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
7.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
8.กรมประชาสัมพันธ์
9.สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม 2552 มีโฆษณาของหน่วยงานภาครัฐ 14 ชิ้น จาก
1.องค์การเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุข
2.กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
3.การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)
4.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
5.สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน
6.กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย
7.การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.)
8.กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กระทรวงพลังงาน
9.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน
10.สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
11.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
12.กระทรวงสาธารณสุข
13.สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) กระทรวงศึกษาธิการ
14.กรมประชาสัมพันธ์

วันพฤหัสบดีที่ 28 พฤษภาคม 2552 มีโฆษณาของหน่วยงานภาครัฐ 15 ชิ้น จาก
1.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
สำนักนายกรัฐมนตรี
2.สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) สำนักนายกรัฐมนตรี
3.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข
4.บรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บสท.) กระทรวงการคลัง
5.สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กระทรวงการคลัง
6.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
7.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
8.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
(สกสค.) กระทรวงศึกษาธิการ
9.คุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ
10.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
11.สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม
12.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
13.สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
14.กรมประชาสัมพันธ์
15.กรมประชาสัมพันธ์

วันศุกร์ที่ 29 พฤษภาคม 2552 มีโฆษณาของหน่วยงานภาครัฐ 10 ชิ้น จาก
1.กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) สำนักนายกรัฐมนตรี
2.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
3.สำนักงานกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) กระทรวงศึกษาธิการ
4.สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม
5.กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์
6.สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
(กปร.) สำนักนายกรัฐมนตรี
7.สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
8.สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (กช.) กระทรวงศึกษาธิการ
9.กรมประชาสัมพันธ์
10.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข

ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนโฆษณาจากหน่วยงานภาครัฐของหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
กับหนังสือพิมพ์ประเภทเดียวกัน หรือใกล้เคียงกัน อย่างเช่น สยามรัฐ
คมชัดลึก เดลินิวส์ ไทยรัฐ
แล้วก็จะเห็นได้ชัดว่ามีจำนวนแตกต่างกันอย่างชัดเจน

ด้านบรรณาธิการหนังสือพิมพ์อาวุโสท่านหนึ่งให้สัมภาษณ์ว่า
การที่หนังสือพิมพ์ฉบับใดฉบับหนึ่งจะได้รับโฆษณาจากหน่วยงานภาครัฐมากเป็น
พิเศษนั้นถือเป็นเรื่องปกติ
เพราะหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นอาจะได้รับความนิยมสูงและอาจมีอัตราค่าโฆษณาถูกก็
เป็นได้ อย่างไรก็ตามจะถือว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้องและผิดจรรยาบรรณอย่างร้ายแรงหาก
หนังสือพิมพ์ฉบับใดมีพฤติกรรมการอิงแอบหรือเอาอกเอาใจนักการเมืองที่มีอำนาจ
และยิ่งร้ายแรงกว่านั้น หากสื่อใดมีพฤติกรรม "จ่ายเงินใต้โต๊ะ" หรือ
"ทอนเงิน" ให้กับข้าราชการหรือนักการเมืองเพื่อให้มีการจัดสรรงบโฆษณามาลงในสื่อหรือหนังสือพิมพ์

จากข้อมูลดังกล่าวเป็นที่น่าสังเกตอย่างยิ่งว่า การที่ นายประสงค์
เลิศรัตนวิสุทธิ์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
กล่าวในทำนองที่ว่า
หากไม่มีโฆษณาจากหน่วยงานภาครัฐแล้วหนังสือพิมพ์-สื่อจะไม่สามารถอยู่รอดได้
จะเป็นสาเหตุหนึ่งหรือไม่ที่ทำให้สื่อกระแสหลักส่วนใหญ่
และหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่บางฉบับต้องเอาอกเอาใจนักการเมืองเป็นพิเศษ
เพียงเพื่อหวังให้ธุรกิจอยู่รอดและทำกำไร อย่างเช่นกรณีที่เมื่อวันที่ 19
ก.ย.2551 ประธานกรรมการบริษัทของเครือหนังสือพิมพ์แห่งหนึ่งได้ไปมอบช่อดอกไม้แสดง
ความยินดี กับนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ที่ได้รับโปรดเกล้าฯ
ให้เป็นนายกรัฐมนตรี
หรือการนัดมอบดอกไม้หรือนัดรับประทานอาหารเพื่อแสดงความยินดีกับนักการเมือง
ในโอกาสที่ได้รับตำแหน่ง หรือ ในโอกาสพิเศษต่างๆ เป็นต้น


http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000060559

นี่แหละครับคือต้นเหตุที่มติชนพูดไม่ออก
ด่ารัฐบาลไม่ได้ ประจบสอพลอตลอด
แล้วแมร่งจะเปลี่ยนแปลงสังคมในทางที่ดีได้ยังไง
นี่คือเหตุผลที่ว่าทำไมไอ้แม้วถึงโกงบ้านเมืองได้สะดวก
เพราะไอ้พวกสื่อมันไม่มีจรรยาบรรณ
แดกค่าโฆษณากับหน่วยงานรัฐงี้แหละ
กำ
++
พวกสื่อจอมปลอม รับแต่เงินพวกนักโกงชาติชั่วๆ
แต่ก่อนเคยคิดว่าเป็นสื่อที่มีคุณภาพ ตั้งแต่ไอ้เหลี่ยมมันยกย่อง
ได้เลยอ่านตั้งแต่บัดนั้น
อย่าไปซื้ออ่านให้มันได้เงินพีน้อง...ต้องสั่งสอนให้มันรู้เสียบ้าง
พวกจอมปลอม.....
สายลม
+++ประชาชนไม่ต้องวิจารณ์สื่ออีกต่อไป
เพราะสื่อประจานตัวเองล่อนจ้อน

นายกของสื่อ สารภาพต่อสาธารณะชนว่า
สื่อไม่สามารถเป็นกระจกและตะเกียง
สะท้อนความจริงให้กับประชาชนได้
เพราะสื่อต้องการเงินเพื่อการปะทังชีวิต

ธุรกิจสื่อล้นตลาดมากเสียจน
ไม่สามารถเป็นสื่อที่ดีได้
เพราะต้องแย่งกันหาเงินโฆษณา
สุดท้ายก็ต้องเป็นทาสของนายเงิน
ethics
++ ผมสงสัยมากเหลือเกินและสงสัยมานานแล้วว่า
ทำไมหน่วยงานของรัฐต้องโฆษณาด้วย หลาย ๆ
หน่วยงานบอกตามตรงครับไม่จำเป็นเลยที่จะต้องโฆษณา
เงินที่โฆษณามาจากไหนครับ ภาษีที่มาจากประชาชนทั้งนั้น
ทำไมจึงต้องผลาญไปอย่างหาผลตอบแทนที่คุมค่าไม่ได้ นอกจากหนังสือพิมพ์แล้ว
ยังมีโฆษณาทางโทรทัศน์ วิทยุอีก เพื่ออะไรครับ
ทำไมแต่ละหน่วยงานถึงไม่คิดที่จะปรับปรุง แก้ไข พัฒนา
การทำงานภายในเสียให้ดี เลอเลิสไปเลย
สิ่งนี้ครับคือการโฆษณาที่ดีที่สุดและลงทุนน้อยที่สุดและ
ประชาชนอย่างผมจะรู้จักหน่วยงานนั้นดีขึ้นเองโดยที่ไม่ต้องเสียเงินโฆษณาซัก
สลึงด้วยซ้ำไป หรือว่าเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายที่ไม่ว่าพรรคไหนเป็นรัฐบาลก็แล้วแต่จะต้อง
โกงกินภาษี ฯ อยู่ร่ำไป ขอบคุณ
คนชานกรุง

++ ผมก็สงสัยมติชนตั้งแต่ลงโฆษณาให้นักโทษทักษิณเต็มหน้าเรื่องที่จะไปพูด
เกี่ยวกับเศรษฐกิจประเทศไทยที่ฮ่องกง ภายหลังก็ไม่ได้พูด
มติชนดูถูกคนไทยทั้งประเทศเห็นแก่เงิน รู้ผิดเป็นชอบ
เห็นนักโทษทักษิณเหมือนเทวดามาโปรด ทั้ง ๆ
ที่ปล้นชาติปล้นแผ่นดินหลายแสนล้าน ร่วมมือกับนักโทษแผ่นดิน
ไม่น่าเชื่อว่าหนังสือพิมพ์ที่เคยมีคุณภาพ ผู้บริโภคเชื่อถือ
จะกลับกลายเป็นอย่างนี้ ไม่เพราะทุนสามานย์ที่คุณประสงค์พูดหรอกหรือ
เพื่อรักษาราคาหุ้นไม่ให้ตก
ข่าวที่เป็นสินค้าหลักจึงไม่สำคัญเท่าโฆษณาของนักการเมืองที่อาศัยงบประมาณ
ของแผ่นดินมาอุดปาก โฆษณาประชาสัมพันธ์ของรัฐจึงมีวาระแฝงอย่างแน่ชัด
จึงขอให้ผู้บริโภคข่าวได้ตรวจสอบหนังสือพิมพ์
หากฉบับใดยี่ห้อใดมีข่าวโฆษณาของรัฐมาก ของนักธุรกิจการเมืองมาก
ที่มีผลต่อข่าวอย่าได้ซื้ออ่านเลย เพราะถูกหลอกแน่นอน เหมือนเศษกระดาษ
ซื้อมา 10 บาท ขายกิโลบาทกว่า แล้วไม่ได้ความจริงอะไรเลย ถูกหลอกลวง
เต้าข่าว สร้างข่าวเท่านั้น หันมาอ่านใน internetดีที่สุด ประหยัดที่สุด
แล้วช่วยกันรับข่าว SMS ที่ ASTVดีที่สุด
ปปช
++
ดูถูกผู้บริโภค เห็นทุนสำคัญกว่า จึงจินตนาข่าว เต้าข่าว
วิเคราะห์ข่าวโดยการจินตนาการ สร้างข่าว โกหก หลอกลวงผู้บริโภค
แล้วจะไปซื้ออ่านให้หลอกไปทำไม
ไม่น่าเชื่อว่ามติชนที่เคยสร้างความศรัทธาให้กับผู้บริโภคมานาน
พอระบบทุนนิยมสามานย์เข้ามาก็เปลี่ยนไป นำเข้าตลาดหุ้น
สร้างข่าวเพื่อนายทุน นักธุรกิจการเมือง
เคยซื้ออ่านมาตั้งแต่เริ่มจนติดขาดไม่ได้
พอมาช่วงปีกว่าจึงหยุดอ่านหยุดซื้อ หาอ่านใน internet แทน
แต่บางครั้งก็อยากซื้ออ่านพอเดินผ่านแผงขายหนังสือ เห็นพาดข่าว
และข่าวหน้าแรกต้องเดินหนีทุกครั้งไป ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ
และคิดว่าการเสนอข่าวต้องมีนโยบายสั่งการมาจากผู้ถือหุ้นใหญ่
จึงเห็นการวิเคราะห์ข่าวฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลทักษิณไม่ว่าวิเคราะห์เกี่ยวกับ
ทหารอย่างกับเป็นนวนิยายลึกลับซับซ้อน
ที่เคยมีชื่อว่าเด่นทางวิเคราะห์ในระดับลึก แต่เป็นการจินตนาการเอาทั้งเพ
เชื่อถือไม่ได้ หลอกผู้บริโภค โดยหวังเงินค่าโฆษณาเท่านั้น เอวัง
xxx
++
คุณรู้ไหมหนังสือพิมพ์The Daily telegraph รายงานข่าวเกี่ยวกับ The
Expenses filesของ รมต ทุกคน อยากจะถามว่าสื่อ หนังสือพิพม์ของไทย
จะมีใครรายงานข่าวแบบนี้ให้คนไทยที่เสียภาษีทุกวันรู้บ้างว่า รมต
เงินเดื่อนเท่าไรได้รับสิทธิ์พิเศษอะไรบ้าง
เบิกค่าใช้จ่ายอะไรได้บ้างและใครที่เบิกเงินมากที่สุด
แบบนี้ช่วยสรรหามาให้ประชาชนได้อ่านข่าวมีความรู้ที
เอา มาแผ่ทีเถอะทำไมพวก รมต สส
มันถึงหน้าเก่าๆๆทั้งนั้นไม่ยอมลงจากตำแหน่ง
มันต้องมีอะไรที่มากมายในผลประโชยน์แน่ๆๆ
ช่วยเปิดข่าวแบบนี้ทีจะได้รู้ว่าวันๆๆพวก สส รมต ไทย
ทำงานวันล่ะกี่ชั่วโมง มาทำงานสายไหม
และใครที่เบิกเงินค่าใช้จ่ายส่วนตัวกันมั้ง
ทำข่าวแบบต่างประเทศบ้างซิ
ใครเอาเวลาราชการไปใช้ส่วนตัวบ้าง เอาซะทีเสนอข่าวแบบนี้บ้าง
เงินภาษีของประชาชนๆมีสิทธิ์ตรวจสอบ
ไทยยูเค
++
เคยชื่นชมนิยมอ่านมติชน
เป็นมวลชนหนุ่มสาวเข้าถึงข่าว
คอมมิวนิสต์จากป่าคราสกาว
เบื้องหลังข่าวก็เข้าใจกันได้เอง
แล้วมาเรียกร้องสมานฉันท์
หยุดทำร้ายประเทศไทยไม่ข่มเหง
ก็เพราะสื่อประเภทนี้ที่บรรเลง
เป็นบทเพลงจำต้องสื่อให้ลือตามฯ
ผมเป็นใคร
+
คำก็อยู่รอด 2000 คนต้องตกงาน
จิตสำนึกของคนทำสื่อมีแค่นี้หรือ
ทุกคนก็ต้องการอยู่รอดกันทั้งนั้น
ขอทานยังต้องทำตัวให้น่าสงสารเพื่อความอยู่รอดเลย

หรือสื่ออย่างพวกคุณต้องสอพลอเพื่อความอยู่รอด
ไอ้ที่ร่ำเรียนมาใช้ไม่ได้เลยใช่ไหม
ต่อไปนี้ก็สอนลูกหลานคุณให้สอพลออย่างเดียวไม่ต้องไปเรียนมันให้เสียเวลา

ความดีน๊ะ ทำเป็นไหม๊ คิดดีน๊ะ คิดเป็นไหม๊

เอาความดี คิดดี สำนึกดี ทำออกมาขายซิ แล้วคุณจะอยู่รอด

ทำเป็นแต่โกหก ตอแหล เห็นเงินเป็นไม่ได้โค้งหัวถึงพื้น
แล้วจะมาเรียกร้องให้คนอื่นยอมรับ

คนทำสื่อต้องมีอุดมการ หนักแน่น ไม่สั่นคลอนไปกับทุน
เพราะเป็นทางที่คุณเลือกเอง

ถ้าอยู่ไม่ได้ก็ปิดไปเลย อย่าได้เสนอและเป็นตัวอย่างเลวๆในสังคมอีกเลย
ลูกเนียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น