...+

วันศุกร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

กูเกิลจุดพลุเสิร์ชอัจฉริยะ ไม่อิงตามอักษรแต่อิงตามคำที่สัมพันธ์กัน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

กูเกิล (Google) ยักษ์ใหญ่เสิร์ชเอนจิ้นเริ่มให้บริการค้นหาข้อมูลอัจฉริยะหรือ Semantic Search แล้ว ปรับให้เอนจิ้นของกูเกิลเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างคำได้ แถมเพิ่มจำนวนบรรทัดแสดงตัวอย่างบทความในลิงก์ที่พบ ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้ทราบรายละเอียดในแต่ละลิงก์ให้มากขึ้นก่อนตัดสินใจคลิก
      
       ผลของการปรับปรุงครั้งนี้ คือผู้ใช้กูเกิลจะสามารถพบข้อมูลอื่นที่เป็นเรื่องเดียวกับคีย์เวิร์ดแม้จะ เป็นคำคนละคำกัน เช่น หากสืบค้นด้วยคีย์เวิร์ด "principles of physics (หลักการฟิสิกซ์)" กูเกิลจะโชว์ลิงก์ที่มีคำว่า "BigBang (การระเบิดครั้งใหญ่)" หรือ "Special Relativity (ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ)" ให้ด้วยเพราะเชื่อว่าลิงก์ที่มีคำเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้สืบค้น ต่างจากอดีตที่จะแสดงลิงก์เพจที่มีคำตรงกับคีย์เวิร์ดเท่านั้น
      
       Semantic Search เป็นคำที่ชาวไอทีใช้เรียกความสามารถในการสืบค้นตามแนวคิดหรือความสัมพันธ์ ไม่ใช่การสืบค้นเพื่อหาเว็บเพจที่มีตัวอักษรตรงกับคีย์เวิร์ดเช่นในอดีต แต่เป็นการสืบค้นเว็บเพจที่มีคำซึ่งสัมพันธ์กับคีย์เวิร์ด แน่นอนว่าบริษัทเสิร์ชเอนจิ้นทั่วโลกมีเป้าหมายพัฒนาให้เอนจิ้นของตัวเอง สามารถทำ Semantic Search ได้ และกูเกิลเป็นรายล่าสุดที่เริ่มนำมาให้บริการจริงแล้วในขณะนี้
      
       ตามบทความที่หัวหน้าทีมเทคนิคเพื่อพัฒนาคุณภาพการสืบค้นของกูเกิลนาม Ori Allon เขียนในเว็บล็อกกูเกิลเกี่ยวกับการปรับปรุงครั้งนี้ ไม่มีการใช้คำว่า Semantic Search แต่ระบุว่าเป็นการนำเทคโนโลยีใหม่มาใช้เพื่อให้ระบบของกูเกิลเข้าใจความต้อง การและแนวคิดที่ผู้ใช้ต้องการสืบค้นได้ดีขึ้น
      
       นอก จาก Semantic Search กูเกิลยังเพิ่มบรรทัดแสดงคำอธิบายลิงก์ผลการเสิร์ชเป็น 4 บรรทัด จากเดิมที่เคยแสดงเป็น 2 บรรทัด โดยจำนวนบรรทัดที่เพิ่มขึ้นช่วยให้ผู้ใช้ทราบรายละเอียดในแต่ละลิงก์ได้มาก ขึ้นก่อนตัดสินใจคลิก และยังทำให้ผู้ใช้สามารถใส่คีย์เวิร์ดสำหรับสืบค้นได้มากเท่าที่ต้องการ
      
       สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการสะท้อนภาพความน่าสนใจใน semantic search ที่ขยายวงกว้างยิ่งขึ้น โดยกูเกิลให้บริการ Semantic Search รองรับ 37 ภาษา (ไม่มีภาษาไทย) ได้แก่ภาษารัสเซีย ภาษาอิตาลี ภาษาอังกฤษ เป็นต้น
      
       ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ของกูเกิลถือว่าช้ากว่ารายอื่น โดยเสิร์ชเอนจิ้นอย่าง Ask.com นั้นเริ่มเปิดให้บริการ semantic search ไปตั้งแต่ปีที่แล้ว ขณะที่คู่แข่งอย่างไมโครซอฟท์ออกมายืนยันว่ากำลังทดสอบ Kumo.com ที่เป็นเอนจิ้น semantic search ซึ่งเชื่อว่าจะสามารถได้รับความนิยมจากตลาดได้มากกว่า Live Search ที่ไมโครซอฟท์ให้บริการอยู่ในขณะนี้

http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9520000034171

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น