...+

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2552

ที่มาของ "ขนมจีน" อาหารจากดินแดนสุวรรณภูมิ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์   
       แม้จะมีชื่อว่า "ขนมจีน" แต่อาหารจานนี้ไม่ได้เป็นทั้งขนม และไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับประเทศจีนอีกต่างหาก โดยบำรุง คำเอก จากคณะโบราณคดี ม.ศิลปากรเป็นผู้สันนิษฐานว่าขนมจีนนั้นเดิมเป็นอาหารของชาวมอญ โดยขนมจีนในภาษามอญนั้นเรียกว่า "คนอม" ส่วนคำว่า "จีน" นั้นไม่มีใช้ในภาษามอญ มีแต่คำว่า "จิน" ซึ่งแปลว่าสุก ว่ากันว่า ขณะที่คนมอญกำลังทำคนอมอยู่ ก็มีคนไทยเดินมาและร้องถามว่ากำลังทำอะไรอยู่ คนมอญก็ตอบเป็นภาษามอญว่า "คนอมจินโก๊กเซมเจี๊ยะกัม" แปลว่าขนมจีนสุกแล้ว เรียกคนไทยมากินด้วยกัน และจากนั้นเป็นต้นมา คนไทยก็เรียกอาหารชนิดนี้ว่า "คนอมจิน" และเพี้ยนมาเป็น "ขนมจีน"
      
       ขนมจีนนั้นเป็นอาหารที่พบเห็นกันได้ในแถบดินแดนสุวรรณภูมิ คนไทย คนมอญ คนพม่า คนลาว คนกัมพูชา และคนเวียดนามต่างก็มีขนมจีนเป็นอาหารที่กินกันในชีวิตประจำวัน จะต่างกันไปก็ตรงน้ำยาที่นำมาราดบนขนมจีนนั่นเอง ในประเทศไทยเองก็มีการกินขนมจีนกันทั่วไปในทุกพื้นที่ภาคเหนือเรียกขนมจีนว่ าขนมเส้น ภาคอีสานเรียกข้าวปุ้น แต่ก็คือเส้นขนมจีนเหมือนกัน โดยเส้นขนมจีนนั้นจะมีสองแบบคือขนมจีนแป้งหมักและขนมจีนเส้นสด โดยขนมจีนแป้งหมักจะมีความเหนียวนุ่มมาก มีกลิ่นแป้งหมัก และมีสีเหลืองคล้ำ ส่วนขนมจีนเส้นสดนั้นใช้เวลาแช่ข้าวสั้นลง เส้นขนมจีนจึงนุ่มเหนียวไม่เท่าขนมจีนแป้งหมัก ส่วนความอร่อยนั้นก็แล้วแต่คนชอบ
      
       สำหรับคุณค่าจากขนมจีนนั้น หลักๆเลยก็คือจะได้คาร์โบไฮเดรตจากเส้นขนมจีน ส่วนคุณค่าอื่นๆนั้นก็มาจากน้ำยาที่เราเลือกกิน ไม่ว่าจะเป็นน้ำยาป่า น้ำยากะทิ น้ำยาแกงเขียวหวาน น้ำ ฯลฯ แต่ต้องไม่ลืมกินผักที่เป็นเครื่องเคียงให้เยอะๆด้วย รับรองว่าได้สารอาหารครบ 5 หมู่แน่นอน

http://www.manager.co.th/Travel/ViewNews.aspx?NewsID=9520000015345

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น