...+

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2552

4 คนขยัน ชวนทำงาน(พิเศษ) รับซัมเมอร์

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    

นิว -สมชาติ สังขพิไล
   
       ย่างเข้าช่วงปิดเทอมยาวทีไรดูเหมือนว่าหลายคนก็ตักตวงเอาจังหวะนี้หา ประสบการณ์นอกห้องเรียนด้วยการออกหาทำงานพิเศษ ยืนยันได้จากยอดผู้เข้าสมัครงานกับทางศูนย์บริการจ้างงานวัยเรียนช่วงปิด เทอม กระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ 3 – 6 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่มียอดสรุปสูงถึง19,761คน ซึ่งนับว่านอกจากจะเป็นการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่แล้ว ก็ยังถือเป็นทางออกที่ดีสำหรับวิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้เพราะจะทำให้หลายคน สามารถแบ่งเบาภาระหน้าที่รายจ่ายของผู้ปกครองไปอีกทาง
      
       อย่างไรก็ตาม สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าจะหางานอะไรทำ หรือยังสองจิตสองใจอยู่ ลองมาฟังประสบการณ์จาก 4 คนขยันที่ผ่านชีวิตดังกล่าวมาแล้วเพื่อประกอบการตัดสินใจดู
      
       พนักงานขายไอศกรีมสเวนเซ่นส์
       “นิว -สมชาติ สังขพิไล” นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะนิเทศศาสตร์ สาขาการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. เล่าว่า ขณะนี้ทำงานหารายได้พิเศษอยู่ที่ร้าน สเวนเซ่นส์ ในตำแหน่งเสิร์ฟและบริการ
      
       “สมัย เรียนชั้นมัธยมฯ อยู่ที่กาญจนบุรี ตอนแรกคิดว่าเรียนมหาวิทยาลัยจะไม่มีเวลาทำอย่างอื่น ที่ไหนได้เวลาเหลือเยอะมาก ประกอบกับตอนนั้นผมกู้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา(กยศ.)ไม่ได้ด้วยเลยมีปัญหา เรื่องค่าใช้จ่ายบ้าง ผมเลยเริ่มมาสมัครเป็นพนักงานร้านไอศกรีมพร้อมกับเพื่อนๆ ที่ชักชวนกันมา
       สำหรับเรื่องค่าตอบแทน ผมไม่ได้คิดว่าจะได้มากหรือได้น้อย หรือต้องไปแสวงหางานที่ได้เงินมากๆ แต่จะคำนึงถึงเรื่องความสะดวกในการเดินทางไปกลับ และไม่มีปัญหากับการเรียน”
      
       สำหรับเรื่องการคัดเลือกและสัมภาษณ์นั้น นิวบอกว่า ไม่ได้มีความยุ่งยากอะไร ทางหน่วยงานที่รับก็จะถามถึง ความพร้อมที่จะมาทำงาน ถามถึงประสบการณ์ที่ผ่านมาว่า เราเคยทำงานกลุ่มใหม่ นอกจากนี้จะพิจารณาจากทักษะและบุคลิกภาพประกอบกันไป จากนั้นเมื่อบริษัทตกลงรับเข้าทำงาน ก็จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าที่จำหน่าย วิธีการพูดและทักทายกับลูกค้าที่เข้ามาในร้าน โดยกฎเหล็กที่จะรู้กันก็คือ ห้ามแอบทานไอศกรีมและเรื่องการมาทำงานให้ตรงเวลา
      
       “ผม จะมาทำงานช่วงเย็นตอนเลิกเรียน ส่วนวันเสาร์อาทิตย์เต็มวัน โดยมีค่าตอบแทนเป็นรายชั่วโมง ชั่วโมงละ 29 บาท อย่างปิดเทอมนี่ก็จะได้ตกอยู่ประมาณ 6,000 บาททำตั้งแต่ห้างเปิด11.00 จนห้างปิด 21.30 น. นับตั้งแต่เริ่มถึงตอนนี้ก็ทำมาประมาณปีกว่าแล้ว ถามว่ารู้สึกอย่างไรบ้าง คงต้องตอบว่าดีครับ มันทำให้เราได้รู้จักคุณค่าของเงินและทำให้ขอเงินที่บ้านน้อยลงไปจากเดิม กว่าครึ่งครับ”นิวเล่าชีวิตการทำงาน"
      
       *************

   
โจ- สุจวัฒน์ รักพวงทอง
       พนักงานเดินอาหารในร้านเอ็มเคฯ
      
       “โจ- สุจวัฒน์ รักพวงทอง” นักศึกษาระดับชั้นปวช.3 โรงเรียนพาณิชย์วิมล ศรีย่าน ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เสิร์ฟอาหารอยู่ร้านเอ็มเคสุกี้ เล่าว่า ก่อนหน้านี้เคยหารายได้พิเศษระหว่างเรียนหลายอย่างด้วยกัน เช่น เป็นผู้ช่วยแคชเชียร์ในห้าง อย่างในก็ตาม ในช่วงปิดเทอมนี้ปีเลยคิดว่าจะเปลี่ยนลักษณะงานบ้างเพื่อที่จะได้ไม่เบื่อ เพราะโดยส่วนตัวแล้ว ไม่ชอบงานที่ทำแล้วเครียดมาก ชอบที่ทำเพลินๆ แล้วได้เงิน
      
       “ช่วงนี้ใคร ช่วยอะไรได้ก็ให้หาทางช่วยกันคนละไม้ละมือดีกว่า อย่างพ่อโจเองตอนนี้ทำงานขับแท็กซี่แม่ก็ไม่มีรายได้ เราก็ต้องหางานทำเงินเอง เวลาอยากได้อะไรจะได้ไม่ต้องขอ ส่วนรายได้ที่คาดว่าน่าจะได้มาติดกระเป๋าช่วงปิดเทอมนี้ อยู่ที่ประมาณ 6,000 – 7,000บาท”
      
       “ปิด เทอมจะมีเวลาทำเยอะกว่า ขณะที่เปิดเทอมจะมีแค่เพียงหลังช่วงเลิกเรียนจนถึง 4 ทุ่มและบางครั้งก็ไม่ได้มาทำทุกครั้งถ้าอยู่ในช่วงใกล้สอบ หรือเรียนไม่ทัน ก็ต้องแจ้งกับทางร้านก่อน รายได้ก็ตกอยู่ที่ประมาณ 5,000 บาท ที่เอ็มเคจะให้ความสำคัญกับเรื่องเวลาในการทำงาน เรื่องการมีระเบียบวินัย เรื่องการให้บริการที่ต้องสุภาพ แรกๆที่มาทำก็ยังหยิบจับอะไรไม่เป็น รู้สึกอาย อย่างเต้นประกอบจังหวะในร้านที่สองชั่วโมงครั้ง เราก็อายไม่กล้าเต้น แต่หลังๆ สนุกกับงานได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และยังได้ เก็บเงินที่ได้เอาไปใช้จ่ายค่าเรียนเทอมหน้า”โจเล่าประสบการณ์

   
แจน- ชิดชนก ธาราชีวิน
       พนักงานเสิร์ฟร้านอาหารไทย
      
       “แจน- ชิดชนก ธาราชีวิน” นักศึกษาชั้นปีที่ 1 จากมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา ซึ่งปัจจุบันหารายได้พิเศษด้วยการเป็นพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารไทยมาเป็น กว่า 1 ปี เล่าว่า ตัดสินใจหางานทำเพื่อช่วยเหลือครอบครัว โดยออกหางานพร้อมๆ กับน้องสาว และก็ไปพบประกาศรับสมัครงานในร้านอาหารไทยแห่งหนึ่ง จึงตกลงที่จะไปสมัครงานเพราะคิดว่าน่าจะทำได้ และสถานที่ทำงานก็อยู่ไม่ไกลจากแม่ที่ขายของอยู่ละแวกนั้น โดยทำงานในช่วงเลิกเรียนประมาณ 6 โมงถึง 4 ทุ่ม
      
       “คุณสมบัติ สำคัญของพนักงานเสิร์ฟก็คือ ต้องมีความอดทน ถ้าใครไม่อดไม่ทนก็จบนะ แต่ตอนนี้ กำลังมองหางานอื่นอยู่เหมือนกัน ส่วนตัวอยากจะทำพวกแมคโดนัลล์ หรือร้านไอศกรีมอย่างพวกร้านไอซ์มอนสเตอร์ที่มีวัยรุ่นเข้าเยอะๆ หรือเบเกอร์รี่ก็ได้ เป็นอะไรที่มองว่าดูน่าสนุกดี ส่วนเงินจะดีเท่าเสิร์ฟในร้านอาหารไทยที่เราเคยทำหรือเปล่า ก็ไม่เป็นไร เพราะงานประมาณนี้ส่วนใหญ่ก็จะตกอยู่ที่เดือนละ 5,000 – 6,000 บาทไม่ต่างกัน แต่แจนอยากหาประสบการณ์ อยากทำงานในร้านที่มีบรรยากาศดีๆ มีชุดทำงานน่ารัก ดึงดูดให้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์”
      
       *************

อ้อ-กาญจนา บรรจง
   
       ติวเตอร์พาร์ทไทม์
      
       “อ้อ-กาญจนา บรรจง” นิสิตชั้นปีที่ 4 คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เล่าถึงงานพิเศษว่า ขณะนี้รับติวน้องๆ นักเรียนชั้น ม.1-ม.3 อยู่ที่สถาบันกวดวิชาครูแอน ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.เมือง จ.อยุธยา โดยทางสถาบันจะออกค่าใช้จ่ายในการเดินทาง(โดยรถตู้) ให้
      
       “ปกติ จะสอนเฉพาะวันเสาร์-อาทิตย์ รายได้อยู่อยู่ที่เดือนละ 6000-7000 บาท แต่ช่วงปิดเทอมทีก็จะเป็นคอร์สใหญ่ 20 วัน ตรงนี้อ้อจะมีรายได้อยู่ที่ประมาณ 12,000 บาท ซึ่งเมื่อปิดเทอมที่แล้วก็ได้เท่านี้ ภูมิใจมากที่เราทำเงินได้ถึงหลักหมื่น"
      
       อ้อบอกว่า สาเหตุที่ต้องทำงานเพราะต้องการหารายได้เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายและการเรียน หนังสือ และส่วนหนึ่งก็จะได้ส่งเงินกลับไปให้ทางบ้านด้วย
      
       “อ้อ เองได้ทุนโครงการจุฬาฯ-ชนบทรุ่นที่ 24ทำให้ไม่ปัญหาเรื่องค่าเล่าเรียน แต่อ้อก็อยากที่จะทำงานเพื่อหารายได้ช่วยเหลือครอบครัว เพราะแม่อ้อเองก็ไม่ได้มีรายได้อะไร ซึ่งแม้จะเดินทางไกลไปนิดหนึ่งแต่ก็นับว่าเป็นโอกาสที่ดีของอ้อที่มีอยู่ เพราะได้ส่งเงินกลับไปให้ที่บ้านด้วยครั้งละ 1,000 – 3,000 บาทต่อเดือนที่ได้รับเงินเดือน การทำอย่างนี้มันทำให้เรารู้สึกภูมิใจและรู้ถึงคุณค่าของเงินมาก สำหรับรายได้ที่ได้รับ ก็ตั้งใจไว้ซื้อหนังสือ เพราะบางวิชาก็ขอหรือยืมเรียนได้ แต่บางเล่มก็ขอพี่รหัสไม่ได้ จึงต้องซื้อเอง แล้วหนังสือเล่มหนึ่งก็มีราคาเป็นพันบาท เงินจากงานสอนเลยช่วยได้เยอะค่ะ”อ้อทิ้งท้าย

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000028419

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น