โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
แม้ชื่อของเขาจะยาว แต่หาได้มีนามสกุลอยู่ในนั้นไม่ ความพิเศษสุดของมันคือการรวมเอาความเป็นฮินดู/มุสลิม/คริสต์เอาไว้ในชื่อของ คนๆ เดียว ซึ่งสะท้อนถึงความหลากหลายของสังคมและวัฒนธรรมในประเทศอินเดียบ้านเกิดของเข าเป็นอย่างดี ซึ่งเรื่องราวชีวิตของเด็กหนุ่มชื่อยาวคนนี้แทบจะไม่ต่างอะไรกับอาหารอินเดี ย ที่เข้าเนื้อทั้งความสนุก ตื่นเต้น สะเทือนใจ โศกสลด และร่ำรวยอารมณ์ขัน
เมื่อกล่าวถึงหนังสือ Q & A หลายคนอาจจะไม่คุ้นชื่อเท่าไหร่ ต่างกับ Slumdog Millionaire ซึ่งเป็นชื่อที่แฟนหนังเกือบทุกคนน่าจะรู้จักกันดีในฐานะหนังที่ฟอร์มร้องแร งที่สุดในช่วงเทศกาลล่ารางวัลในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมา เมื่อกวาดรางวัลสำคัญๆ มาได้เกือบทุกสถาบัน เหลือเพียงรางวัลใหญ่จากเวทีออสการ์ที่จะมอบกันในปลายเดือนนี้
ขณะที่ตัวหนังจะยังไม่เข้าในบ้านเราจนกว่าผู้จัดจะแน่ใจว่ามันเป็นหน ังแชมป์ออสการ์แน่นอนแล้ว คงไม่มีอะไรจะดีไปกว่าการหยิบตัวหนังสือที่เป็นแรงบันดาลใจของมันมาดูเสียหน ่อย ในเมื่อมีทฤษฎีที่ว่า "หนังไม่มีวันทำได้ดีกว่าหนังสือ" แต่เมื่อหนังที่ว่านี้กำลังจะชิงภาพยนตร์ยอดเยี่ยมของออสการ์ แล้วตัวหนังสือเองจะน่าเกรงขามสักแค่ไหน
Q & A เป็นนิยายอินเดียสมัยใหม่ ถูกตีพิมพ์เมื่อปี 2005 นี้เอง เนื้อเรื่องกล่าวถึง ราม โมฮัมหมัด โทมัส เด็กกำพร้าที่หาที่มาที่ไปไม่ได้ จนถูกตั้งชื่อแบบรวมมิตรออกมาแบบนี้ เรื่องของเรื่องก็คือเขาถูกจับไปสอบสวนอย่างบ้าเลือดเมื่อไปทำในสิ่งที่ปาฎิ หาริย์ก็ไม่อาจทำให้เป็นจริงได้ เมื่อใครเล่าจะเชื่อว่าเด็กที่โตมาในสลัมและทำงานประเภทรองมือรองเท้าชาวบ้า นมาทั้งชีวิต ดันไปออกรายการตอบปัญหาประเภทเกมเศรษฐี แล้วตอบคำถามถูกหมดทุกข้อ!
เป็นโจทย์ที่ทำให้ผู้อ่านคนไหนก็อยากจะหาคำตอบเกี่ยวกับมันได้ไม่ยาก แต่แทนที่เล่าตามลำดับเหตุการณ์จากหน้าไปหลังเหมือนกันพงศาวดาร หนังสือเล่มนี้ได้พาผู้อ่านผจญภัยไปตั้งแต่คำถามแรกจนคำถามสุดท้าย ซึ่งแต่ละเรื่องราวจะเป็นถ่ายทอดของเด็กหนุ่มคนนี้ในห้วงเวลาที่ต่างกรรมต่า งวาระกันไป เรื่องราวอดีตที่ทับซ้อนกับอดีตอีกที ฟังดูแม้จะหน้าเวียนหัว แต่มันกลับกลายเป็นเสน่ห์ของผลงานชิ้นนี้อย่างยิ่งยวด เรื่องราวที่ผู้เขียนถ่ายทอดออกมาอย่างเรียบง่าย แต่แฝงไปด้วยชั้นเชิงของการเขียนเรื่องสั้นอันเหนือเมฆ ทุกครั้งที่ผู้อ่านเริ่มจะเคยชินกับวิธีการดำเนินเรื่อง ทุกอย่างก็พลิกผันไปแบบไม่ตั้งตัว แต่ละบทของเรื่องถูกนำมาเรียงร้อยเข้ากันอย่างวิเศษ จนกลายเป็นผลงานที่ทำให้คนที่อาจจบไปแล้วต้องกลับมาทบทวนมันใหม่อย่างน้อยก็ สองครั้งด้วยความเต็มใจ
มีอย่างหนึ่งที่ผมมั่นใจก็คือ ใครก็แล้วแต่มีปัญหาซื้อหนังสือเล่มนี้มาอ่าน เขาต้องอยู่ในสถานะทางสังคมที่สูงกว่านายโทมัสคนนี้ทั้งนั้น แล้วเราจะเรียนรู้อะไรจากเด็กหนุ่มผู้ต่ำต้อยผู้นี้?
ในฐานะเด็กสลัม ที่มีโอกาสครั้งหนึ่งในชีวิตได้ไปเที่ยวตามประสาลูกคนรวยที่เอามรดกของพ่อแม ่มาผลาญเล่นไปกับอาหารอันหรูหราและเรือนร่างของสตรี เป็นครั้งแรกที่เขาเริ่มสงสัยว่า การเป็นคนที่เกิดมา "ไม่เคยอิ่ม" อย่างเขา อาจจะดูน่าสมเพชน้อยกว่าคนบางคนที่ตายไปโดยไม่รู้ว่า "ความหิว" ของการมีชีวิตคืออะไร
ในฐานะเด็กกำพร้า ในเรื่องจะมีบรรยายภาพของโทมัสที่ฝันถึงแม่ผู้เป็นหญิงสาวผู้งดงามอยู่เสมอไ ม่ว่าชีวิตช่วงนั้นของเขาจะเป็นเช่นไร ในฐานะคนอ่านที่แล้งแค้นไม่ต่างจากโทมัสแต่โชคดีกว่าที่มีครอบครัวที่อบอุ่น ภาพที่บรรยายออกมาน่าจะสะท้อนความรู้สึกของผู้ที่โหยหาความรักที่ไม่เคยได้ร ับการเติมเต็มอย่างนี้ได้อย่างดี จนบางครั้งอดนึกไม่ได้ว่าบทสรุปมันจะเลวร้ายเช่นไรถ้าในที่สุดโทมัสหรือผู้ท ี่มีความต้องการไม่ต่างจากเขาได้พบในสิ่งที่เฝ้ารอมาชั่วชีวิต เพียงแค่ได้รู้ว่าความฝันที่วาดเอาไว้ต้องแตกกระจายไม่มีสิ้นดี จนบางครั้งน่าจะดีกว่าถ้าเราเก็บความฝันไว้กับตัวตลอดกาล เพราะ "ฝันที่เป็นจริง" กับสิ่งที่เรียกว่า "ความสุข" อาจจะไม่ใช่สิ่งเดียวกันเสมอไป
ถ้าจะถามว่า Q & A คือหนังสือประเภทไหน ผมบอกได้เลยว่ามันเป็นหนังสือตลก
คนที่มีโอกาสได้อ่านมัน นอกจากจะเพลิดเพลินไปกับการเดินทางไร้เข็มทิศของโทมัสและเพื่อนของเขา ตั้งแต่โรงภาพยนตร์ในมุมไบ, สถานีรถไฟในเดลี จนถึงเมืองที่ตั้งของสิ่งมหัศจรรย์ของโลกอย่างอักรา มันยังสะท้อนให้เห็นชีวิตความเป็นอยู่ที่ชนิดต่อสู้แบบวันต่อวันของเพื่อนๆ ประชาชนชาวอินเดียของโทมัส ที่บรรยายได้สมกับคำกล่าวที่ว่า "การด้นรนจากนรกแห่งหนึ่ง ไปสู่นรกที่ไม่รู้จักอีกแห่งหนึ่ง"
ผู้อ่านหลายคนอ่านจะหลั่งน้ำตาไปกับสภาพชีวิตของเด็กกำพร้าที่ตกเป็น เหยื่อของความเลื่อมล้ำทางสังคมเท่าที่มนุษย์จะจินตนาการได้ ที่ไม่ยากที่จะจินตนาการให้เห็นภาพกับสิ่งเหล่านี้ที่มีอยู่จริงในปัจจุบันท ั้งที่อินเดียและเมืองไทยของเรา รวมทั้งความสูญเสียและสิ้นหวังส่วนตัวของโทมัสในฐานะบุคคลที่ได้ชื่อว่า "ลำดับสุดท้ายของห่วงโซ่อาหาร" ที่แทบจะทำให้ผู้อ่านสิ้นศรัทธาไปกับราคาของความเมตตาที่เพื่อนมนุษย์มีเหลื อเอาไว้แก่กัน
แต่กระนั้นผู้เขียนก็ไม่ลืมที่จะสอดใส่มุกตลกที่แสนจะเด็ดขาดลงไปในท ุกอณูที่แสนอาดูรของนายโทมัส ทั้งมุกตลกแบบใสๆ ของเด็ก ประเภทชวนให้ขำอ้อมๆ และประเภทเย้อหยั่นต่อความโหดร้ายของโลก เป็นความขบขันที่ไล่หลังความสะเทือนใจอย่างไม่คาดคิด เหมือนพยายามจะบอกว่าเรื่องเศร้าที่ไม่เกิดกับตัวเราเองก็คือเรื่องตลกชั้นด ี หรือมองกลับกันตลกชั้นดีอาจจะเป็นเรื่องเศร้าของใครบางคน
หลังจากอ่านจบ ความรู้สึกเหมือน "การทรยศหักหลัง" เกิดขึ้นกับผมชั่วแวบหนึ่ง ในฐานะเด็กที่เคยวิ่งเล่นในย่านชุมชนแออัดแถบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเมื่อ 20-30 ปีก่อน ย่อมหวังถึง "วีรบุรุษ" ผู้สร้างสรรค์ผลงานชิ้นนี้ที่มีพื้นเพไม่ต่างจากตัวเองหรือเจ้ารามเท่าไหร่ แต่กลายเป็นว่าผู้ที่แต่งเรื่องราวชีวิตเด็กสลัมได้อย่างน่าตื่นเต้นคนนี้กล ับกลายเป็นทูตที่เกิดในตระกูลทนายความอันมีเกียรติอย่าง Vikas Swarup ที่แม้จะเป็นผลงานนิยายชิ้นแรก แต่เมื่อดูจากไอเดียในการเขียนงานส่งอาจารย์ตั้งแต่สมัยเด็กประถมแล้วก็ไม่แ ปลกใจที่จะแต่งเรื่องได้น่าสนใจขนาดนี้ ซึ่งวิธีเลี้ยงชีพของทูตขี้โม้คนนี้ทำให้ผมหายสงสัยได้ประการหนึ่งว่าเหตุใด โทมัสถึงมีอาวุธคู่กายอย่าง "ภาษาอังกฤษ" ที่ช่วยให้เขาไม่ต้องเผชิญกับชะตากรรมที่ยากลำบากกว่าที่เป็นอยู่
จากจำนวนบทที่แบ่งออกเป็น 12 บท ทำให้อดนึกไม่ได้ว่าถ้าเรื่องนี้ทำออกมาเป็นหนังฮอลลีวูด หรือละครญี่ปุ่น (ที่มักฉาย 11-12 ตอนจบและลงตัวในการดำเนินเรื่องอย่างที่สุด) จะน่าตื่นเต้นซักแค่ไหน จนกระทั้งมันถูกสร้างออกมาเป็นหนังชื่อใหม่ที่เรียกว่า Slumdog Millionaire
ในฐานะที่ดูหนังของ Danny Boyle มาบ้าง จะสังเกตว่าเขาชอบใช้วิธีการเล่าเรื่องราวฝ่ายตัวละครเอกที่เป็นเด็กหนุ่มได ้อย่างมีชั้นเชิงเสมอมา ส่วนตัวจึงเชื่อมั่นว่าเรื่องราวของนาย ราม โมฮัมหมัด โทมัส ผู้นี้น่าจะเป็นวัตถุดิบที่เพียงพอที่ผู้กำกับอังกฤษผู้นี้จะนำไปเล่นแร่แปร ธาตุจนกลายเป็นตำนาน เหมือนกับที่นาย มาร์ค เรนตัน แห่ง Trainspotting เป็นอยู่ทุกวันนี้ (ในฐานะสองบุรุษที่ไม่มีอะไรมาขวางได้ ไม่ว่าจะเป็นความโสโครกของโถส้วมสาธารณะหรือบึงอุจจาระ)
แต่ความยอดเยี่ยมของ Q & A ที่ส่งผ่านไปยัง Slumdog Millionaire จะเพียงพอที่จะคว้าออสการ์ปีนี้ได้หรือไม่ สุดท้ายเวลาเท่านั้นที่จะเป็นคำตอบ เพราะแม้จะคว้ารางวัลที่สามารถการันตีการเป็นเต็งหนึ่งเวทีออสการ์มาได้เกือ บหมด แต่ก็ยังมีบางสถิติที่ดูจะไม่เข้าข้างหนังอินเดียลูกครึ่งอังกฤษเรื่องนี้อย ู่เช่นกัน เพราะ 4 ปีแล้วที่หนังที่คว้าลูกโลกทองคำจะมาชวดออสการ์ตลอด (Slumdog Millionaire ได้ในปีนี้ และโกยมา 4) รวมทั้งความจริงที่ว่าหนังที่ได้ออสการ์จะเป็นหนังที่ทำเงินบนบ็อกซ์ออฟฟิศไ ด้ดีที่สุดใน 5 เรื่องที่เข้าชิงของแต่ละปี (ตำแหน่งในปีนี้เป็นของ The Curious Case of Benjamin Button คู่แข่งอันดับหนึ่งนั่นเอง)
แต่ถ้าที่สุดแล้วกลายเป็นว่า Slumdog Millionaire จะเป็นหนังที่มีดาราหลักทั้งหมดเป็นคนอินเดียเรื่องแรกที่คว้าชัยออสการ์ได้ อย่างยิ่งใหญ่ เหมือนครั้งที่ Bernardo Bertolucci ยอดผู้กำกับอิตาเลียนพา The Last Emperor ที่เป็นหนังเรื่องแรกที่มีนักแสดงหลักทั้งหมดเป็นคนจีนและเอเชียคว้าชัยได้เ มื่อปี 1988 (มี Peter O'Toole เป็นนักแสดงอังกฤษ) ก็คงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรที่หนังที่สร้างจากหนังสือที่ยอดเยี่ยมอย่าง Q & A จะได้รับเกียรติที่เท่าเทียมกัน
เพราะ "คนเราไม่ควรสงสัยในปาฎิหาริย์" เมื่อในท้ายที่สุดแล้ว "โชคมาจากตัวของเราเอง"
http://www.manager.co.th/Entertainment/ViewNews.aspx?NewsID=9520000013152
.ขอบ่นให้ฟังนะครับ
....ท ่านผู้อ่านคงเคยพบเห็น คนที่มีลักษณะแบบนาย รามมูฮัมมัดโทมัส หลายคนในเมืองไทย คนที่มีความคิดที่จะตีแพร่ภาพของชีวิต เช่น หลายท่านอาจจะเห็นคนขี้บ่น แต่บ่นในเรื่องที่สะท้อนความเป็นนรกหรือปัญหาของโลกใบนี้....แต่ท่านเชื่อมั ๊ยว่า สำหรับสังคมไทย ณ เวลาปัจจุบันนี้ ต่อให้ท่านบ่น หรือเขียนถึงปัญหาของสังคมที่เป็นจริง เพื่อให้คนในสังคมได้หันกลับมาดูแลแก้ไขปัญหา...เสียงบ่น เสียงสะท้อน เสียงคร่ำครวญ ไม่อาจจะทำให้คนในสังคมหันมาใส่ใจแก้ปัญหาเหล่านั้น .น้อยมาก..เป็นเพราะอะไรรู้มั๊ยครับท่าน ก็เพราะว่า สังคมไทย ได้ผ่านจากสังคมอุดมการณ์ไปนานแล้ว หมายถึง อุดมการณ์มันกินไม่ได้ เสียงบ่นก็เลยกลายเป็นเสียงที่น่ารำคาญสำหรับมนูษย์คนไทยที่เปลี่ยนค่านิยมเ หล่านั้น ค่านิยม ที่เป็น วัตถุนิยม และความหรูหราฟุ่มเฟือยนิยม ความมั่งคั่งนิยม หรือ ค่านิยมในทางลบอื่นๆ ค่านิยมที่ทำให้คนลืมอุดมการณ์ที่ดี คุณธรรมนำความสุข กลายเป็นวัตถุหรูหรานำความสุข กลายเป็นสังคมแก่งแย่ง อุดมการณ์นิยม คุณธรรมนิยม ได้หายไปจากสังคม อุดมการณ์ดีๆ ได้ผ่านพ้นไปนานแล้ว กลายเป็นสังคมเพื่อการแข่งขัน เอาตัวรอดเฉพาะตัวปล่อยให้คนที่อ่อนแอมันตายไปเอง แข่งขันเอาเป็นเอาตาย คนจำนวนมาก แก่งแย่งแข่งขัน จนลืมสนใจสังคมที่เอื้ออาทรณ์ต่อกัน ลืมสังคมที่เชิดชูคุณธรรม ลืมคุณค่าของคนที่ทำดี เราจะเห็นว่า คนดี ดี มีคุณธรรม จำนวนมาก หายหน้าไปจากสังคมส่วนรวม คนดี ๆ จำนวนมากกลับพาตนเองหลบหนีไปอยู่ในโลกส่วนตัว ไม่อยากข้องแวะหันมาเกี่ยวข้องกับกิจการช่วยสังคมเพราะว่า คนดี ๆ แม้ว่า ครั้งหนึ่งหรือหลายครั้ง ได้พยายามสู้ เพื่อจะเอาชนะคนไม่ดี แต่สุดท้ายปรากฎว่า ค่าของความดี กลายเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ คนไม่ดี กลับกลายเป้นคนมีอำนาจ มีความร่ำรวย คนไม่ดี ได้รับ การยกมือไหว้ เคารพนับถือ และทำให้คนที่ด้อยสามารถอีกกลุ่มคือ คนที่อ่อนแอกว่า อีกกลุ่ม ได้ทิ้งละเลิกความดี ได้หันไปซบอยู่ภายใต้อำนาจตนไม่ดี กลายเป็นทาสของคนรวยใจชั่ว ส่วนคนดีอีกจำนวนมากที่ไม่ยอมละเลิกความดี แต่หมดแรงที่จะต่อสู้ คนดีเหล่านั้น ก็หลบหนี้จากโลกส่วนรวมไปอยู่ในโลกส่วนตัวเงียบๆ เพราะหมดแรงที่จะต่อสู้ เก็บความดีไว้ในโลกส่วนตัว.....แต่โลกก็ยังไม่เลวร้ายเสียที่สุด เรายังคงเห็นคนดีๆ ยังเกาะกลุ่มรวมตัวเป็นกลุ่ม เพื่อต่อสู้กับอิทธิพลของคนไม่ดี แต่ก็กำลังน้อยลง หมดแรง .....ผมเชื่อว่า ธรรมะ ต้องเอาชนะอธรรม หากธรรมะ แพ้ อธรรม การใช้ชีวิตของคนที่อ่อนแอกว่า การมีชีวิตของคนอ่อนแอ ก็คงเป็นชีวิตที่อยู่ในขุมนรกบนโลกเรานี่เอง นรกไม่ได้อยู่่ใต้โลก หรือหลังความตาย นรกคือโลกที่เราอยู่นี่ไง เจอทุกวัน
..... ริมกำแพงกั้น ของตึกระฟ้า และในอาณาบริเวณของคนร่ำรวยที่ นั่งจิบไวน์ อยู่ริมสระน้ำ อย่างสุขสำราญ แต่ไม่ไกลจากคฤหาดส์อันหรูหราเหล่านั้น ยังมี สลัม ของคนยากจนเต็มไปหมดอยู่ทุกมุมเมือง ยังมีคนที่อ่่อนแอจำนวนมากที่กำลังดิ้นรนหาโอกาสหนีปัญหาความทุกข์ยากแสนเข็ นในแต่ละวันของการมีชีวิต หนีนรกบนดินของสังคมที่แตกต่างราวฟ้ากับดินระหว่างคนรวยกับคนยากจน.......เร ายังหวังว่า กลุ่มคนดี และกลุ่มคนรวยที่กุมอำนาจสรรพสุของโลกจนอิ่มล้นเหลือเฟือ จะได้หันมากระจายความสุขจากส่วนเกินที่ได้จากการแข่งขันเหนือคนอื่น ช่วยกระจายความสุขส่วนหนึ่งไปสู่้พื้นที่ที่เป้นนรกของคนยากจน บ้าง
คนจรจัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น