"อภิสิทธิ์" นั่งหัวโต๊ะประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
มีมติเห็นชอบร่างธรรมนูญสุขภาพแห่งชาติฉบับแรก
ใช้กำหนดทิศทางในฝันของประเทศ
ตั้งคณะกรรมการสนับสนุนศึกษาติดตามการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ
มอบสช.แก้ปัญหาในพื้นที่มาบตาพุด กำหนด
อปท.เพิ่มบทบาทประเมินผลกระทบทางสุขภาพของโครงการที่จะผุดในชุมชนมากขึ้น
วันนี้ (23 มี.ค.) ที่กระทรวงสาธารณสุข นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.)
กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2552
โดยใช้เวลาประมาณ 1.30 ชั่วโมงว่า มติ ของที่ประชุม
คสช.ได้ให้ความเห็นชอบร่างธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 1
ซึ่ง พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 กำหนดให้
คสช.จัดทำเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางการกำหนดนโยบายด้านสุขภาพของประเทศ
จากนี้จะมีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.)
ก่อนรายงานให้สภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาทราบ
"คสช. ได้ให้ความเห็นชอบการแต่งตั้งคณะกรรมการสนับสนุนการศึกษาและติดตามการเจรจา
การค้าระหว่างประเทศ ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพและนโยบายสุขภาพ อีกทั้ง
เห็นชอบมอบให้สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
ใช้กระบวนการสมัชชาสุขภาพแก้ปัญหาในพื้นที่มาบตาพุด
ซึ่งได้เสนอให้รัฐบาลชะลอการขยายและก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมใหม่ในพื้นที่
มาบตาพุดและบ้านฉาง
และเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพแห่งชาติเกี่ยวกับการเข้าถึงยาของคนไทยและการคลี่
คลายความขัดแย้งระหว่างผู้ป่วยและญาติ กับบุคลากรทางการแพทย์
โดยเรื่องทั้งหมดจะนำเสนอต่อ ครม.พิจารณาต่อไป" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ด้านนพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.)
กล่าวว่า หากธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว
จะส่งผลให้หน่วยงานทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน
นำไปเป็นทิศทางอนาคตของระบบสุขภาพในทุกมิติ โดยธรรมนูญฯจะประกอบด้วย 12
หมวด 111 ข้อ อาทิ
ในอนาคตบริการปฐมภูมิใกล้บ้านของคนไทยจะเป็นบริการที่มีศักดิ์ศรีมีคุณภาพ
,การมีโรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยประจำภาค
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเพิ่มบทบาทในการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ
ของโครงการที่จะเข้ามาในชุมชน และเมื่อใช้ไปอย่างน้อย 5 ปี
จะต้องมีการทบทวนธรรมนูญฯใหม่
"ส่วน เรื่องที่ คสช.มอบหมายให้
สช.ใช้สมัชชาสุขภาพซึ่งเป็นเครือข่ายภาคประชาชนแก้ปัญหามลพิษมาบตาพุดนั้น
สช.จะเชิญทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาคการเมือง หน่วยงานของรัฐ ภาคธุรกิจ
นักวิชาการและภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัด
มลพิษตามหลักการทำนโยบายสาธารณะที่ดี
เนื่องจากหากไม่มีการเชิญทุกฝ่ายเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย
เมื่อนำสู่การปฏิบัติจะเกิดความขัดแย้งขึ้น" นพ.อำพล กล่าว
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000033103
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น