...+

วันพุธที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2552

แผ่นอะคริลิคประหยัดพลังงาน 2 นวัตกรรมเจ๋ง ฝีมืออาจารย์รั้ว มทร.ธัญบุรี

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

       
   




       
“แผ่นป้ายโฆษณา” ส่วนใหญ่นิยม อะคริลิค (Acrylic) ปัจจุบันแผ่นป้ายที่ให้สีสันสวยงาม และสามารถให้ความโปร่งแสง เมื่อยามเปิดไฟในเวลากลางคืนจะได้รับความนิยมมาก แต่ปัญหาของการประยุกต์ใช้ในการทำป้ายโฆษณาที่มีสีสันสวยงามและมีความโปร่ง แสงจะต้องมีการใส่ผงสี (pigment) ลงไปในเนื้อของแผ่นอะคริลิคเพื่อปิดบังหลอดไฟที่อยู่ภายในแผ่นป้าย การเติมผงสีลงไปจะบดบังการทะลุผ่านของแสง เมื่อถึงเวลากลางคืนที่จะต้องเปิดไฟ จึงจำเป็นต้องใช้หลอดไฟเป็นจำนวนหลายหลอดเพื่อทำให้สว่างและเห็นได้อย่าง ชัดเจน ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้าในการใช้งานอย่างมาก
      
       ปัญหาดังกล่าว “ดร.ฉันท์ทิพ คำนวณทิพย์” อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและโลหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.)ธัญบุรี และคณะผู้วิจัย ได้คิดค้นนวัตกรรม Energy Saving White Acrylic Sheet (ESWA)) แผ่นอะคริลิคสีขาวประหยัดพลังงาน และ Energy Saving Acrylic Display (ESD) แผ่นอะคริลิคนำแสงประหยัดพลังงาน
      
       ซึ่งผลงานทั้งสองชิ้นทำให้อาจารย์ได้รับพิจารณาให้รับรางวัล เหรียญทอง “Gold Prize” จากงาน Seoul International Invention Fair 2008 (SIIF 2008) ซึ่งเป็นการเสนอผลงานและเข้าประกวดนวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์ ณ ประเทศเกาหลี โดยมีสิ่งประดิษฐ์ทั้งสิ้นจำนวน 479 ผลงาน จาก 34 ประเทศ ทั่วโลก เข้าร่วมแสดงและประกวดสิ่งประดิษฐ์ อาจารย์ เล่าว่า Energy Saving White Acrylic Sheet (ESWA)) แผ่นอะคริลิคสีขาวประหยัดพลังงาน เป็นงานวิจัยร่วมกันกับบริษัทแพนเอเชียอุตสาหกรรม จำกัด โดยได้รับทุนสนับสนุนจาก(สนช.)
      
       “ ลักษณของแผ่นอะคริลิคสีขาวประหยัดพลังงาน คือ การนำผงสี สีขาวหลากหลายชนิดมาผสมกันเพื่อให้มีค่ากำลังซ่อนแสง(hiding power)ที่เหมาะสม ทำให้แสงสว่างจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ที่อยู่หลังป้ายชื่อห้างร้าน สามารถส่องผ่านออกมาได้มาก ทำให้ป้ายดังกล่าวมีความสว่างชัดเจนในเวลาค่ำคืน โดยมีค่าความทึบแสง (opacity) 85.32 % ซึ่งสามารถปิดบังลำของหลอดไฟที่อยู่เบื้องหลังของแผ่นป้ายได้
      
       ในขณะที่แผ่นอะคริลิคสีขาวปกติมีค่าความทึบแสง (opacity) 92.85 % จึงยอมให้แสงสว่างจากหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ส่องผ่านออกมาได้น้อยกว่า และเมื่อทำการวัดความสว่างเมื่อมีการเปิดหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 16 วัตต์ เพียงจำนวน 2 หลอด “แผ่นอะคริลิคสีขาวประหยัดพลังงาน” ที่ผลิตได้จะให้ค่าความสว่างเฉลี่ย 741.11 lux ซึ่งให้ความสว่างมากกว่าแผ่นป้ายอะคริลิคสีขาวปกติที่ใช้งานในปัจจุบันเมื่อ มีการเปิดหลอดไฟฟลูออเรสเซนต์ 16 วัตต์ จำนวน 3 หลอด ดังนั้นในการนำ
       แผ่นอะคริลิคสีขาวประหยัดพลังงานไปใช้ในการทำป้ายชื่อหรือป้ายโฆษณาต่างๆ”
      
       ข้อ ดีคือ จะสามารถลดจำนวนของหลอดไฟที่ต้องใช้ในการทำตู้ไฟเพื่อให้ความสว่างแก่แผ่น ป้ายลงได้ถึง 1 ใน 3 ส่วน ซึ่งจะเป็นการช่วยในการประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่ต้องใช้ในการให้ความสว่างแก่ ป้ายไปได้
      
       นอกจากนี้ มีสมบัติเชิงกลที่ดีกว่าแผ่นอะคริลิคสีขาวปกติ โดยมีความต้านทานต่อการหักงอที่ดีกว่า สำหรับ Energy Saving Acrylic Display (ESD) แผ่นอะคริลิคนำแสงประหยัดพลังงาน ร่วมมือกับบริษัทแพนเอเชียอุตสาหกรรม จำกัด และขอทุนสนับสนุนจากโครงการ ทุนสนับสนุนโครงงานอุตสาหกรรมสำหรับนักศึกษา ปริญญาตรี โดย (สกว.) ในการทำการวิจัยมีแนวความคิดมาจากปรากฎการณ์ “ทินดอลล์” ปรากฏการณ์ที่เมื่อฉายแสงผ่านคอลลอยด์จะมองเห็นลำแสงชัดเจน เพราะว่าแสงจะมีการกระจายตัวในตัวกลางที่อยู่ในคอลลอย์ เพราะอนุภาคเล็กๆที่อยู่ในคอลลอยด์จะช่วยในการกระเจิงของแสง
      
       “ ลักษณะแผ่นอะคริลิคนำแสงประหยัดพลังงาน มีการเติม “สารช่วยในการกระจายแสง” ลงไปในปริมาณเล็กน้อย จึงช่วยทำให้สามารถให้ความสว่างได้มากกว่าแผ่นอะคริริคใสโดยปกติ (GP) ที่ไม่มีการเติมสารช่วยในการกระจายแสง “สารที่ช่วยในการกระจายแสง” เป็นสารอนินทรีย์ที่มีอนุภาคขนาดเล็กกระจายตัวอยู่ในเนื้ออะคริลิค โดยที่อนุภาคดังกล่าวจะทำหน้าที่ในการกระเจิงแสงที่ส่องผ่านเข้ามาในแผ่นอะ คริลิค แสงสว่างจากหลอดไฟฟ้าจึงไม่ได้เดินทางเป็นเส้นตรง แต่มีการกระจายไปทั่วทั้งแผ่นอะคริลิค
      
       ถึงแม้จะมีรอยขีดข่วนเกิดขึ้นก็จะไม่กระทบต่อการให้ความสว่าง หรือเกิดจุดบอดของการกระจายแสงเนื่องจากผลของการกระเจิงแสงเกิดจากการที่มี สารช่วยในการกระจายแสงกระจายตัวอยู่ในเนื้ออะคริลิคซึ่งจะแตกต่างจากแผ่นอะ คริลิคนำแสงที่นำเข้าจากต่างประเทศ ที่ใช้กรรมวิธีการปรับปรุงผิวหน้าให้มีพื้นผิวที่ลักษณะขรุขระ เพื่อช่วยในการกระเจิงแสง ดังนั้นถ้ามีรอยขีดข่วนเกิดขึ้น จะลดประสิทธิภาพในการกระเจิงแสงลง ทำให้เกิดจุดบอดของการกระจาย “
      
       สำหรับผู้ที่สนใจผลงานทั้ง 2 ชิ้นสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 02-549-483-4 ทั้งนี้ผลงานทั้งสองได้ยื่นขอจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์เรียบร้อยแล้ว และปัจจุบันผลิตภัณฑ์ทั้งสองนั้นได้ผลิตและจัดจำหน่ายโดย บริษัท แพนเอเซียอุตสาหกรรม เขตลาดกระบัง

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000021579

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น