...+

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

วิกฤติเศรษฐกิจ อาจเป็นโอกาสของคนรุ่นใหม่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    
       ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจถดถอยทั่วโลกส่งผลให้ตลาดแรงงานหดตัวลงเป็นอย่า งมาก หลายแห่งปิดกิจการ ส่งผลให้จำนวนคนตกงานพุ่งสูงขึ้น และบรรดานิสิต นักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษา ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า โอกาสที่จะได้งานทำยิ่งลดน้อยลง หลายภาคส่วนในสังคมเริ่มหาหนทางช่วยเหลือทั้งผ็ตกงาน นิสิต นักศึกษาที่กำลังจะจบการศึกษา เช่น ศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จัดงาน UBI FAIR : Make by hand เพื่อเปิดช่องทางการประกอบอาชีพใหม่ให้ผู้ว่างงาน หรือผู้ที่สนใจประกอบธุรกิจสร้างรายได้ โดยมีผลงานสร้างสรรค์ของนักศึกษา ที่สามารถนำไปประกอบธุรกิจได้จริง ระหว่างวันที่ 21 - 25 มกราคม ที่จะถึงนี้ และยังมีอีกหลายสถาบันการศึกษาที่หาช่องทางให้กับศิษย์ของตัวเองได้มีโอกาสส ร้างธุรกิจเป็นของตัวเอง
      
       แม้ภาวะเศรษฐกิจจะถดถอย แต่ในวิกฤตยังมีโอกาสสำหรับคนรู้จักคิด อย่างนักธุรกิจรุ่นใหม่หลายคนทีเดียวที่เห็นความนิยมของผู้คนในสังคมที่มีต่ อสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วนำมาประยุกต์เป็นธุรกิจจนประสบความสำเร็จ และบางคนได้เข้าร่วมเวทีเสวนา “เจาะแผนธุรกิจ ....ยอดนักธุรกิจรุ่นใหม่” ในโครงการประกวดแผนธุรกิจ เอชเอสบีซี ยอดนักธุรกิจรุ่นใหม่ โดยมุ่งสร้างแรงบันดาลใจจุดประกายแนวคิดเชิงธุรกิจให้นิสิต นักศึกษา โดยเชิญกลุ่มนักธุรกิจ Young Blood จากหลายวงการร่วมเปิดไอเดียแผนการเริ่มธุรกิจ

ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์
   
       เช่น “ณัฐชัย อึ๊งศรีวงศ์” กรรมการผู้จัดการ บริษัท ครีเอ้ จำกัด เขาเริ่มต้นทำธุรกิจเว็บไซต์ เพลย์กราวน์ เมื่อตอนเขาอายุเพิ่งจะยี่สิบต้นๆ
      
       ณัฐชัยบอกว่าสองในสามของรูปที่เราถ่ายนั้น พฤติกรรมของคนทั่วไปมักจะดูคนเดียว จึงคิดทำบริการเพลย์กราวน์ขึ้นมา เพื่อช่วยคนที่ถ่ายรูปจากมือถือ สามารถที่จะอัพโหลดขึ้นเว็บได้ทันที
      
       “ทำเป็นแอพพลิเคชั่นตัวแรกและตัวเดียวของโลกที่เชื่อมโยงฟังก์ชั่นขอ งกล้องดิจิทัลบนมือถือ แผนที่ของกูเกิล และเว็บบล็อกเข้าด้วยกัน ประโยชน์อย่างหนึ่งของเว็บนี้คือ เวลาไปเที่ยวหรือกินที่ไหนก็สามารถถ่ายรูปมายืนยันและแบ่งปันแผนที่ให้คนอื่ นตามไปได้ด้วย ผมเห็นว่าทุกวันนี้ตลาดไอทีในเมืองไทย ยังโตไม่เต็มที่ และที่สำคัญเมื่อคิดได้แล้ว ต้องทำให้เร็ว และต้องมี business model ด้วย”

   
ณัทธร รักษ์ชนะ
       “ณัทธร รักษ์ชนะ” กรรมการผู้จัดการ “Karmakamet” หนึ่งในผู้ก่อตั้งแบรนด์เครื่องหอม เทียน อโรมา น้ำมันหอม จนขยายไปสู่การสร้างโรงแรมสไตล์ Aromatic Hotel เองก็เริ่มต้นทำธุรกิจนี้จากความชอบในเรื่องของกลิ่นหอม โดยเขาเริ่มต้นธุรกิจเครื่องหอมจากร้านในตลาดนัดสวนจตุจักร จนผลิตภัณฑ์เครื่องหอมของเขาเป็นที่รู้จัก
      
       “กลิ่น เป็น factor หนึ่งที่ไม่ลบออกจากความทรงจำ เราเห็นว่ามันมีช่องว่างอยู่เพราะตั้งแต่ตื่นเช้า ขับรถ ทำงาน นอน ก็ยังมีเรื่องของกลิ่นอยู่ ผมเลือกทำในสิ่งที่ผมชอบเท่านั้นเอง ผมเป็นคนไม่ชอบโลกที่วุ่นวาย อยากมีเป้าหมายในชีวิตที่มั่นคง และต้องการให้ลูกน้องมีชีวิตที่มั่นคง ผมไม่ได้ต้องการความเป็นใหญ่หรือเป็นที่หนึ่งมากไปกว่านี้ เพียงผมเลือกในสิ่งที่ผมรักและชอบ และตั้งใจทำมันให้ดี”
      
       ส่วนผู้เข้าร่วมการเสวนา ภิรญา บรรเจิดพิธพร นิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ วิทยาเขตศรีราชา กล่าวว่าต้องการหาประสบการณ์เพิ่มเติมจากความรู้ที่ได้เรียน และอยากทำธุรกิจด้านสัตว์เลี้ยง เพราะเป็นคนชอบสัตว์ และอยากจะเจริญรอยตามครอบครัวที่ทำธุรกิจอยู่แล้วด้วย
      
       วัชรพล โชตเชาว์โรจน์ นิสิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ภาคอินเตอร์) BBA จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่าการที่เริ่มทำธุรกิจขณะที่เรากำลังศึกษาอยู่ เหมือนได้ก้าวไปก่อนคนอื่นหนึ่งก้าว เคยมีคนบอกว่า การเรียนในห้องเรียนมีแต่น้ำ แต่ที่เราออกไปใช้จริงข้างนอกมีแต่เนื้อๆ ที่เราอาจไม่เคยเรียนรู้ มันคือประสบการณ์ที่แท้จริง

http://www.manager.co.th/Campus/ViewNews.aspx?NewsID=9520000005876

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น