...+
▼
วันพุธที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
โพลชี้เพลงพระราชนิพนธ์ทำคนไทยรักชาติ เกิดสามัคคี แนะนายกฯ เปิดในรายการทุกอาทิตย์
เอแบคโพลล์ เผยผลสำรวจบทเพลงพระราชนิพนธ์อยู่ในความทรงจำและความปลื้มปีติของประชาชนทุก หมู่เหล่า เผยเพลงพระราชนิพนธ์ “ใกล้รุ่ง” ประชาชนปลื้มปีติสุด บทเพลง “เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย” สร้างบรรยากาศให้คนไทยรักชาติบ้านเมือง ประเทศสงบสุข แนะ “อภิสิทธิ์” นำเพลงพระราชนิพนธ์เปิดในรายการทุกวันอาทิตย์ เพื่อเชื่อมความรัก ไมตรีจิตให้เกิดขึ้นในสังคม
นายนพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน (ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน) มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเรื่อง “บทเพลงพระราชนิพนธ์ในความทรงจำและความปลื้มปีติของคนไทย กับความรักความสามัคคีของคนในชาติ กรณีศึกษาประชาชนในเขตกรุงเทพฯ” จำนวน 1,209 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 10-22 มกราคม 2552 พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 84.4 เคยฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์ ในขณะที่ ร้อยละ 15.6 ไม่แน่ใจ แหล่งที่เคยได้ฟังบทเพลงพระราชนิพนธ์อันดับแรก คือร้อยละ 68.4 ได้ฟังจากรายการโทรทัศน์ รองลงมาร้อยละ 42.1 ได้ฟังจากสถานีวิทยุ คลื่นเอฟเอ็ม ในขณะที่ ร้อยละ 16.5 ได้ฟังจากเทป ซีดี วีซีดี เอ็มพี 3 และรอง ๆ ลงไป ได้แก่ เวทีวงดนตรีร้องเพลง สถานีวิทยุเอเอ็ม อินเทอร์เน็ต ร้านอาหาร เป็นต้น
เมื่อสอบถามถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ในความทรงจำและความปลื้มปีติของประชาชน พ บว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 71.0 ระบุบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ใกล้รุ่ง” ในขณะที่ ร้อยละ 63.4 ระบุบทเพลงพระราชนิพนธ์ “แสงเทียน” ร้อยละ 53.2 ระบุบทเพลง “เกิดเป็นไทย ตายเพื่อไทย” ร้อยละ 50.5 ระบุบทเพลง “ยามเย็น” ร้อยละ 49.0 ระบุบทเพลง “พรปีใหม่” ร้อยละ 47.7 ระบุบทเพลง “สายฝน” ร้อยละ 43.3 ระบุบทเพลง “ความฝันอันสูงสุด” ร้อยละ 42.4 ระบุบทเพลง “เราสู้” ร้อยละ 33.3 ระบุบทเพลง “ชะตาชีวิต” และร้อยละ 31.7 ระบุบทเพลง “แผ่นดินของเรา”
นายนพดล กล่าวต่อว่า เมื่อถามถึงบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามร้องได้จนจบ พ บว่า ร้อยละ 24.8 ระบุร้องบทเพลงพระราชนิพนธ์ “ใกล้รุ่ง” ได้จนจบ ร้อยละ 21.8 ระบุบทเพลง “พรปีใหม่” ร้อยละ 20.7 ระบุบทเพลง “แสงเทียน” ร้อยละ 17.9 ระบุบทเพลง “เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย” ร้อยละ 17.1 ระบุบทเพลง “สายฝน” ร้อยละ 16.5 ระบุบทเพลง “ความฝันอันสูงสุด” ร้อยละ 16.0 ระบุบทเพลง “ชะตาชีวิต” ร้อยละ 14.8 ระบุบทเพลง “เราสู้” ร้อยละ 13.2 ระบุบทเพลง “ยามเย็น” และร้อยละ 21.3 ระบุอื่น ๆ เช่น บทเพลงแผ่นดินของเรา ลมหนาว อาทิตย์อับแสง ยิ้มสู้ ราชนาวิกโยธิน เป็นต้น
ที่น่าพิจารณา คือ ประชาชนเชื่อว่ามีบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่น่าจะนำมาเปิดเพื่อสร้างบรรยากาศให้ คนไทยรักชาติบ้านเมือง ทำให้ประเทศสงบสุข มีความรักความสามัคคีกันในหมู่ประชาชน โดยผลสำรวจพบว่า ร้อยละ 41.0 ระบุเป็นบทเพลง เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย ในขณะที่ร้อยละ 31.0 ระบุบทเพลง แผ่นดินของเรา ร้อยละ 22.1 ระบุบทเพลง เราสู้ ร้อยละ 16.2 ระบุบทเพลงความฝันอันสูงสุด ร้อยละ 11.4 ระบุบทเพลงใกล้รุ่ง
ผอ.ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน กล่าวว่า สิ่งที่ค้นพบในการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า บทเพลงพระราชนิพนธ์อยู่ในความทรงจำและความปลื้มปิติของประชาชนทุกหมู่เหล่า โดยประชาชนทั่วไปได้เล็งเห็นว่าบทเพลงพระราชนิพนธ์มีบทบาทสำคัญที่จะสร้างบร รยากาศให้คนไทยรักชาติบ้านเมือง ทำให้ประเทศสงบสุข ประชาชนคนไทยมีความรักความสามัคคีกันและกันได้ ด ังนั้น รัฐบาล หน่วยงานและสถาบันสื่อสารมวลชนที่เกี่ยวข้องอาจจะนำผลการศึกษาครั้งนี้ไปประ กอบการพิจารณาตัดสินใจใช้บทเพลงพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เชื่อมประสานความรักและไมตรีจิต ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้เกิดขึ้นในสังคมไทย และสิ่งที่เป็นข้อเสนอแนะอีกประการหนึ่งคือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี น่าจะอัญเชิญบทเพลงพระราชนิพนธ์ มาในโอกาสจัดรายการพบประชาชนในทุกวันอาทิตย์ด้วย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9520000007984
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น