โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ .
นายธันวา เลาหศิริวงศ์
ไอบีเอ็มเชื่อ 3 กลยุทธ์ที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในยุคเศรษฐกิจแบบใหม่ขององค์กรธุรกิจ ด้วยการทำให้โลกฉลาดขึ้น พร้อมออกนวัตกรรมใหม่ๆ ตอบโจทย์ลูกค้าที่ต้องการในเศรษฐกิจยุคนี้
นายธันวา เลาหศิริวงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไอบีเอ็มประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันโลกกำลังก้าวเข้าสู่จุดเปลี่ยนสำคัญ อย่างที่เห็นได้ชัดคือวิกฤตการณ์ในตลาดการเงินที่เริ่มจากประเทศหนึ่งแต่ได ้ส่งผลกระทบลุกลามไปประเทศอื่นๆ อย่างกว้างขวาง จากเหตุการณ์ดังกล่าวทำให้ไอบีเอ็มตระหนักถึงความจริงและความสำคัญของการเกี ่ยวโยงอย่างใกล้ชิดระหว่างกันในโลกปัจจุบัน นอกจากนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเปลี่ยนแปลงของสภาวะอากาศทั่วโลก ปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมและประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับพลังงาน ห่วงโซ่อุปทานระดับโลกสำหรับอาหารและยารักษาโรค หรือประเด็นเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยและภัยคุกคามต่างๆ โลกในปัจจุบันยังมีการเชื่อมโยงกันทั้งในทางเศรษฐกิจ เทคนิค และสังคมอย่างแยกไม่ออก
ขณะที่โลก “เล็กลง” และ “แบนลง” โลกคงไม่ได้มีเพียงการเกี่ยวข้องเชื่อมโยงระหว่างกันเท่านั้น แต่โลกจำต้อง “ฉลาดขึ้น” หรือ Smarter Planet ด้วย ซึ่งหมายถึงการที่สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งบริการในหลาย ๆ ด้านในโลกมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งรวมถึงแนวโน้มการใช้ชีวิตและรูปแบบการทำงานของผู้คนหลายพันล้านคนในโลกท ี่จะถูกพัฒนาให้ดีขึ้นด้วย อีกนัยหนึ่งเมื่อโลกฉลาดขึ้น “ความฉลาด“ ดังกล่าวก็จะก่อให้เกิดประโยชน์ในเรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการขนส่ง เงินทุนและน้ำมัน ไปจนถึงเรื่องของน้ำหรือแม้กระทั่งอิเล็กตรอน เป็นต้น
ใ นมุมมองของผู้บริหารไอบีเอ็มที่เห็นว่าโลกที่ฉลาดขึ้นเกิดขึ้นได้อย่างไรคือ 1.โลกฉลาดขึ้นเพราะโลกมีเทคโนโลยีที่เก่งขึ้น ปัจจุบันมีการคาดการณ์กันว่าจะมีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือราว 4,000 ล้านคนทั่วโลกในปี พ.ศ. 2552 รวมทั้งจะมีการติดตั้งเซ็นเซอร์ไว้ในทุกๆ ที่ เช่น ในรถยนต์ อุปกรณ์ กล้องถ่ายรูป ถนน ท่อส่งน้ำมัน และแม้กระทั่งในยารักษาโรคและสัตว์ เป็นต้น เทคโนโลยีเก่งดังกล่าวถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้โลก “ฉลาดขึ้น”
2.โลกจะติดต่อเชื่อมโยงกันอย่างเหนียวแน่นมากขึ้น เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าในอนาคตอันใกล้ จะมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตราว 2,000 ล้านคนทั่วโลก ขณะเดียวกัน ระบบและอุปกรณ์ต่างๆ ก็จะสามารถ “พูดคุยสื่อสารกัน” กันได้ดีขึ้นกว่าแต่ก่อน หากลองนึกถึงอุปกรณ์ต่างๆ หลายล้านชิ้นที่มีความชาญฉลาดและสามารถเชื่อมต่อหรือพูดคุยสื่อสารกันได้ รวมถึงข้อมูลจำนวนมหาศาลที่ถูกสร้างขึ้นซึ่งเป็นผลมาจากการติดต่อสื่อสารกัน แล้ว เรื่องดังกล่าวจะทำให้โลกฉลาดมากขึ้น
3.อุปกรณ์ต่าง ๆ จะมีความฉลาดมากขึ้น เนื่องจากสิ่งต่างๆ ในปัจจุบันจะถูกเชื่อมโยงเข้ากับระบบแบ็กเอนด์รุ่นใหม่ที่มีสมรรถนะสูงซึ่งส ามารถประมวลผลได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งระบบวิเคราะห์ข้อมูลก็จะก้าวล้ำ และสามารถแปรเปลี่ยนข้อมูลดิบให้กลายเป็นข้อมูลเชิงลึกในแบบเรียลไทม์ได้ ด้วยปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ มีส่วนทำให้อุปกรณ์ต่าง ๆ มีประสิทธิภาพดีขึ้น และทำงานได้อย่างไร้ขีดจำกัด
“ หากลองนึกถึงปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพลังงานจำนวนมากที่ถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ ระบบซัปพลายเชนที่ไร้ประสิทธิภาพ ระบบคมนาคมขนส่งที่ล้าสมัย หรือปัญหาแหล่งน้ำที่ใกล้จะเหือดแห้งในหลายประเทศ สิ่งเหล่านี้คือสาเหตุว่าทำไมเราต้องทำให้โลกฉลาดขึ้น”
นายธันวากล่าวว่า สาเหตุที่โลกต้องฉลาดยิ่งขึ้น 1.การทำให้โลกฉลาดขึ้นเป็นสิ่งที่สามารถทำได้ในปัจจุบัน เพราะเทคโนโลยีมีประสิทธิภาพและราคาไม่แพง สามารถซื้อหาและนำมาใช้ประโยชน์ได้สะดวกง่ายดายกว่าในอดีต 2.การทำให้โลกฉลาดขึ้นกลายเป็นสิ่งจำเป็น เพราะปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าวิธีการทำงานและการแก้ปัญหาต่าง ๆ ยังมีข้อบกพร่องอยู่มาก การที่โลกฉลาดขึ้นมีส่วนช่วยแก้หรือบรรเทาปัญหาต่าง ๆ ให้เบาบางลงได้ 3.การทำให้โลกฉลาดขึ้นเป็นสิ่งที่คนต้องการ ผู้คนต่างๆ ในโลกควรพูดคุยและทำงานร่วมกันเพื่อรังสรรค์ให้เกิดความก้าวหน้าและทำให้โลก ฉลาดขึ้น เพราะช่วงเวลานี้คือช่วงเวลาที่สามารถทำกิจกรรมใดๆ ก็ตามเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงได้
จากปัจจัยดังกล่าวไอบีเอ็มได้เตรียมนำเสนอนวัตกรรมสำคัญๆ เพื่อใช้ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า และเล็งเห็นคุณค่าของนวัตกรรมที่มีความสำคัญทั้งต่อองค์กรต่างๆ รวมไปถึงโลกด้วย
“ การทำให้โลกฉลาดมากขึ้น ถือเป็นภารกิจหลักที่พวกเราต้องช่วยกัน และไอบีเอ็มไม่สามารถทำเรื่องดังกล่าวได้เพียงลำพัง เพราะเราต้องการความร่วมมือจากทุกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นผู้นำธุรกิจและผู้คนทั่วโลก นอกจากนี้ การทำให้โลกฉลาดขึ้นถือเป็นงานสำคัญที่เราทุกคนจะต้องร่วมแรงร่วมใจกันทำให้ สำเร็จลุล่วง และเราทุกคนควรเริ่มต้นลงมือปฏิบัติกันตั้งแต่วันนี้เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็ นรูปธรรม นี่คือภารกิจที่ยิ่งใหญ่ในการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโลกใบนี้ โลกของเราพร้อมแล้วสำหรับการเปลี่ยนแปลง และเราทุกคนก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับภารกิจที่สำคัญนี้เช่นกัน”
Company Related Links :
IBM
http://www.manager.co.th/Cyberbiz/ViewNews.aspx?NewsID=9520000011023
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น