โดย สุรัช พงษ์พิพัฒน์พานิช
หลังจากการแถลงนโยบายของนายกฯ อภิสิทธิ์ต่อรัฐสภาที่กระทรวงการต่างประเทศเมื่อวันที่ 30 ธันวาคมที่ผ่านมา เสียงตอบรับจากสังคมดูเหมือนจะมีน้อยมากที่แสดงความชื่นชมยินดี แต่เสียงส่วนใหญ่ค่อนข้างเป็นไปในลักษณะอาการที่แสดงออกว่า “พอรับได้แต่ไม่ดีนัก” หรือไม่ก็ “ก้ออย่างนั้นๆ แหละไม่มีอะไรน่าตื่นเต้น” ไปจนกระทั่งถึงมีบุคคลบางกลุ่มออกมากล่าวหาว่าคัดลอกมาจากนโยบายของรัฐบาลชุ ดก่อนเปรียบได้กับการลอกข้อสอบ
กว่า 2 สัปดาห์ได้ผ่านมาแล้วหลังจากวันขึ้นปีใหม่หรือวันแถลงนโยบายนั้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลต้องเร่งรีบสร้างมาตรการต่างๆ ที่จะใช้แก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน เช่น การใช้เงิน 1.15 แสนล้านช่วยเหลือผู้ที่มีเงินเดือนน้อยกว่า 14,000 บาท โดยจ่ายให้คนละ 2,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน (บางคนบอกว่าเพียงเดือนเดียว) จุดมุ่งหมายคือการกระตุ้นเศรษฐกิจ นอกจากนี้รัฐบาลยังมีมาตรการอื่นๆ ที่จะใช้เงินหรือทุ่มเงินเข้าไปแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
สำหรับมาตรการใช้เงินแก้ปัญหาเหล่านั้น เท่าที่ผู้เขียนติดตามดูในระยะ 2-3 วันนี้ ถ้ามีคนที่เห็นด้วย เสียงที่เปล่งออกมาจากปากคนเหล่านั้นไม่ค่อยชัดนักว่าจะเห็นด้วยเสียทีเดียว ฟังดูเสมือนแบ่งรับแบ่งสู้ว่าอาจช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจให้ฟื้นตัวได้ แต่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบเริ่มมีมากขึ้น เช่น นักวิชาการทางด้านแรงงานคนหนึ่งกล่าวว่าเป็นการตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ (ไม่พอที่จะทำให้น้ำมีรสเผ็ดขึ้นมาได้ เทียบได้กับว่ามาตรการ 1.15 แสนล้านนี้ไม่อาจกระตุ้นให้เศรษฐกิจฟื้นตัวหรือเติบโตต่อไปได้)
อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยท่านหนึ่งถึงกลับออกมาค่อนขอดว่า ไม่น่าเชื่อว่ามาตรการแก้ปัญหาแบบนี้จะออกมาจากสมองของคนที่จบการศึกษามาจาก มหา’ลัยออกซ์ฟอร์ดหรือเคมบริดจ์ (น่าจะคิดทำอะไรได้ดีกว่านี้) คอลัมนิสต์บางคนในหนังสือพิมพ์ก็วิจารณ์ในทำนองนี้เช่นกัน ล่าสุดนักธุรกิจท่านหนึ่งให้สัมภาษณ์ผ่านสื่อเอเอสทีวี ซึ่งอาจตรงกับใจของคนหลายๆ คนว่า เป็นวิธีการที่ต้องการสร้างความนิยมชมชอบให้กับรัฐบาล (เผื่อไว้ถ้าเกิดมีการยุบสภาฯ จะได้เปรียบพรรคอื่น เป็นต้น)
เสียงวิจารณ์เหล่านี้ไปสอดคล้องกับเสียงวิจารณ์หลังวันแถลงนโยบายว่า รัฐบาลนี้ใช้นโยบายประชานิยมที่พรรคประชาธิปัตย์เองก็เคยวิจารณ์รัฐบาลชุดก่ อนๆ (เข้าทำนองเกลียดตัวแต่กินไข่) หรือก่อนหน้านี้ในรายการรู้ทันประเทศไทยของ ดร.เจิมศักดิ์ ทางเอเอสทีวี มีการสัมภาษณ์รองนายกฯ ที่ดูแลด้านเศรษฐกิจที่ชื่อ กอปร์ศักดิ์ สภาวสุ มีคำพูดหลายคำเป็นที่น่าสังเกตจากท่านนี้ อย่างเช่นคำพูดที่ว่ารัฐบาลจะต้องทำให้เงินไปถึงมือประชาชนให้เร็วที่สุด ถ้าทำเมกะโปรเจกต์จะช้า และเมื่อพิธีกรถามถึงการจัดลำดับความสำคัญของคนที่เดือดร้อนที่รัฐบาลต้องเข ้าไปช่วยเหลือ คำตอบคือรวมคนทุกๆ กลุ่มเริ่มไปตั้งแต่เกษตรกรไปจนถึงผู้ใช้แรงงาน หรือแม้กระทั่งคนรวยคนทำธุรกิจก็ถือว่าได้รับความเดือดร้อน
คำให้สัมภาษณ์ของรองนายกฯ ท่านนี้น่าจะเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่า การแก้ปัญหาของรัฐบาลมีแรงจูงใจทางการเมืองอยู่เบื้องหลังมาก แต่ไม่อาจไปกล่าวหาว่ามีมากกว่าความตั้งใจที่จะแก้ปัญหาอย่างจริงจัง
อย่างไรก็ตาม แม้บทความนี้จะเกริ่นนำด้วยข้อวิพากษ์การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ แต่สิ่งนั้นก็ไม่ใช่เนื้อหาสาระของบทความนี้ จุดมุ่งหมายของบทความนี้ต้องการจะท้วงติงรัฐบาลอภิสิทธิ์แบบสร้างสรรค์ใน 2 ประเด็น
ประเด็นแรก การเข้าไปช่วยเหลือผู้ที่กำลังหรือกำลังจะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่เ ลวลงเป็นสิ่งที่รัฐบาลจะต้องทำอย่างยิ่ง แต่การช่วยเหลือจะต้องมีมาตรการที่รัดกุมและอยู่บนฐานของข้อมูลที่ดีกว่านี้ (ไม่ใช่แบบที่รองนายกฯ ท่านนั้นให้สัมภาษณ์) ต้องเป็นการช่วยเหลือที่ไปถึงมือผู้ที่เดือดร้อนจริงๆ ไม่ใช่ในลักษณะที่เป็นการหาเสียงล่วงหน้าเอาไว้เผื่อการเลือกตั้งที่อาจเกิด ขึ้นในวันใดวันหนึ่ง
ผู้เขียนอยากเตือนรัฐบาลว่า วันนี้พรรคประชาธิปัตย์ได้มีโอกาสทำหน้าที่รัฐบาล ผู้ที่เข้ามารับบทบาทฝ่ายบริหารจะต้องบริหารประเทศอย่างนักบริหารมืออาชีพจร ิงๆ (ถึงจะสมกับคำพูดของนายกฯ ตอนแรกที่ว่าจะเป็นนายกรัฐมนตรีของคนทั้งประเทศ) แล้วปล่อยให้งานการเมืองเป็นบทบาทหน้าที่ของพรรค ถ้ารัฐบาลยังแยกไม่ออกระหว่าง 2 เรื่องนี้การบริหารประเทศอาจไม่สัมฤทธิผลในที่สุด
แต่ที่สำคัญกว่านี้ คือ ในขณะที่รัฐบาลกำหนดมาตรการแก้ปัญหาเศรษฐกิจเฉพาะหน้าอย่างที่กำลังทำอยู่ใน เวลานี้ รัฐบาลจะต้องคำนึงอนาคตของประเทศในระยะยาวควบคู่ไปด้วย (นักการเมืองคิดถึงแต่เรื่องสั้นๆ อย่างเช่นการชนะเลือกตั้งครั้งต่อไป) และนั่นสำคัญยิ่งกว่าการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเสียด้วยซ้ำ คำถามคือ แล้วมีข้อเสนอแนะอะไรบ้างที่เป็นการแสดงให้เห็นว่ารัฐบาลที่กำลังบริหารประเ ทศอยู่ในวันนี้ทำในสิ่งที่มีความหมายต่ออนาคตของประเทศ
ในการตอบคำถามนี้ ผู้เขียนขออนุญาตอ้างถึงบทความที่ชื่อ “ถ้าประชาธิปัตย์ได้เป็นรัฐบาล ประชาธิปัตย์ควรทำอะไร” ที่ขึ้นหน้าเว็บไซต์ของผู้จัดการเมื่อวันที่ 15 ธันวาคมที่ผ่านมา ในบทความนั้นผู้เขียนได้เสนอแนะว่า นโยบายการคลังต่อไปจะเป็นนโยบายหลักที่รัฐบาลจะพึ่งพิงในการแก้ปัญหาในระยะต ่อจากนี้ไป นโยบายนี้คือการแก้ปัญหาเศรษฐกิจโดยอาศัยการใช้จ่ายของรัฐบาล แต่ในบทความนั้นผู้เขียนเสนอแนะหลักการที่รัฐบาลจะใช้จ่ายเงินไว้ดังนี้
“ โดยหลักการนโยบายนี้คือ การใช้จ่ายของรัฐบาลที่นอกจากการแก้ปัญหาการว่างงานเฉพาะหน้าแล้ว ยังต้องเป็นการใช้จ่ายที่มีผลดีต่อเศรษฐกิจทั้งในระยะกลางและระยะยาว ฉะนั้นจะต้องเป็นการใช้จ่ายที่มีผลในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจของ ประเทศเพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตในอนาคตด้วย”
เพื่อให้เป็นไปตามหลักการนี้ ผู้เขียนได้เสนอแนะต่อไปว่า รัฐบาลควรพิจารณาโครงการใหญ่ๆ 2 โครงการ โครงการหนึ่ง คือ โครงการแก้ปัญหาแหล่งน้ำแบบบูรณาการที่กระจายไปทั่วภูมิภาคเหนือ อีสานและภาคกลางตอนบน อีกโครงการหนึ่ง คือ การขุดคลองไทยในภาคใต้ ก่อนที่จะกล่าวถึงประเด็นที่สองที่เป็นที่มาของชื่อบทความนี้ ผู้เขียนขอให้เหตุผลว่าทำไมรัฐบาลจึงควรให้ความสนใจกับโครงการเหล่านี้และแต ่ละโครงการมีความหมายต่ออนาคตของประเทศเพียงใด แม้ว่ารัฐบาลอาจทำอะไรหลายๆ อย่างตามที่ปรากฏในคำแถลงนโยบายเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม แต่ถ้าตราบใดไม่ได้ทำให้โครงการเหล่านี้เกิดขึ้น การแก้ปัญหาพื้นฐาน การปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจตลอดจนถึงการทำให้ประเทศมีความสามารถในการแข่งข ันในเวทีโลกดีขึ้นจะไม่สามารถสำเร็จลุล่วงไปได้
สำหรับโครงการแรก ถ้าหากจะให้ตอบว่าเป็นสิ่งที่ควรจะทำหรือไม่ ขอให้พิจารณาข้อเท็จจริงดังต่อไปนี้ ประการแรก ประเทศไทยได้ลงทุนสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ในแม่น้ำสายสำคัญเกือบทุกสายแล้ว ยกเว้นแม่น้ำยม (แม่น้ำนี้เกี่ยวข้องกับโครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น) และได้ลงทุนไปมากมายในโครงการชลประทานขนาดเล็กหรือโครงการพัฒนาแหล่งน้ำกระจ ัดกระจายไปทั่วทุกภูมิภาค แม้กระนั้นก็ตามสิ่งที่ได้ยินเกือบจะทุกปีที่ย่างเข้าฤดูแล้งก็คือ ปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่หลายๆ แห่งในภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคกลางตอนบน จนกระทั่งปัญหาภัยแล้งกลายเป็นเครื่องมือทำมาหาเงินคอร์รัปชันของนักการเมือ งและข้าราชการประจำบางคน มีการทำโครงการชลประทานขนาดเล็กโดยอ้างถึงปัญหานี้
ในช่วงที่ผู้เขียนทำงานอยู่ในภาคเหนือ บางครั้งขับรถไปในที่บางแห่งทันทีที่เห็นป้ายติดประกาศว่า โครงการอ่างเก็บน้ำ...... แล้วก็ตามด้วยชื่อหน่วยงานราชการที่สังกัดกระทรวงมหาดไทย ก็จอดรถลงไปดู สิ่งที่เห็นคืออ่างน้ำที่แห้งขอดจนเหลือน้ำเกือบถึงก้นอ่าง และบางครั้งก็ไปในอีกที่หนึ่ง เห็นป้ายชื่อ สถานีสูบน้ำของหน่วยงานในกระทรวงอุตสาหกรรม แต่ไม่มีน้ำให้สูบ เป็นต้น
สรุปแล้วก็คือ รัฐได้ลงทุนไปมากมายในเรื่องเหล่านั้นแต่ทำไมปัญหาภัยแล้งจึงยังเรื้อรังอยู ่เช่นนั้น ผู้เขียนขอเสนอความคิดโดยย่อๆ ดังนี้ ในประเทศเรานอกจากจะมีเขื่อนขนาดใหญ่อยู่ทางต้นแม่น้ำแล้วเรายังมีเขื่อนกลา งแม่น้ำอยู่หลายแห่ง ที่รู้จักกันดี คือ เขื่อนเจ้าพระยาที่จังหวัดชัยนาท (นายแวน เดอร์ไฮด์ เสนอแนวคิดสร้างเขื่อนนี้ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เวลา 50 ปีหลังจากนั้นเขื่อนนี้จึงเกิดขึ้นในปี 2500 แต่แนวคิดการขุดคอคอดกระเกิดขึ้นในสมัยพระนารายณ์ บัดนี้ล่วงเลยมาถึง 3 ศตวรรษแนวคิดนี้ก็ยังไม่เป็นจริง!) เขื่อนนี้กักเก็บน้ำที่ส่งมาจากเขื่อนภูมิพลในจังหวัดตากแล้วส่งไปหล่อเลี้ย งภาคกลางตอนบนโดยผ่านแม่น้ำและลำคลอง 5-6 สาย
เขื่อนนเรศวรที่จังหวัดพิษณุโลกเป็นเขื่อนกลางแม่น้ำอีกแห่งที่ช่วยกักเก็บน ้ำจากเขื่อนสิริกิติ์เพื่อส่งยังไปพื้นที่ตามลุ่มน้ำน่านในพิษณุโลกตามคลองช ลประทานและลำน้ำแควน้อย ฉะนั้นการสร้างขื่อนกลางลำน้ำน่าจะเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ปัญหาเรื่องน้ำแบบ บูรณาการ
ในแต่ละภูมิภาคที่พูดถึงนี้ สภาพทางภูมิศาสตร์ทั่วไปคือ เป็นที่ราบสูงลาดชันลงไปสู่ลุ่มน้ำ ดังนั้นในหน้าฝนน้ำจะไหลลงไปสู่ที่ราบต่ำอย่างรวดเร็ว ยกเว้นน้ำฝนที่ตกหลังเขื่อน ส่วนสภาพดินก็เป็นดินทรายที่ไม่อุ้มน้ำ นอกจากนี้ ยังมีสภาพพื้นที่ที่เป็นที่ลุ่ม และลำคลองสาขาของแม่น้ำกระจัดกระจายไปทั่วทั้งภูมิภาค เท่าที่ผู้เขียนเคยเห็นมาพื้นที่เหล่านั้นบางแห่งตื้นเขินจากการทับถมของดิน มาเป็นเวลานาน เพราะเป็นพื้นที่สาธารณะที่ไม่มีใครครอบครอง
จากสภาพทางภูมิศาสตร์ที่กล่าวมาโดยย่อนี้และการสร้างเขื่อนกลางลำน้ำ น่าจะให้แนวคิดกับเราถึงวิธีการแก้ปัญหาน้ำแบบบูรณาการ แนวคิดนี้ คือ ให้มีการสร้างเขื่อนกลางลำน้ำเพื่อเก็บกักน้ำไม่ให้ไหลไปจนหมดสิ้น และขุดลอกคูคลองรวมทั้งพื้นที่สาธารณะที่ตื้นเขินเหล่านั้นให้สามารถรองรับห รือเก็บกักน้ำได้ในปริมาณมากๆ เขื่อนกลางลำน้ำจะช่วยยกระดับน้ำในแม่น้ำให้สูงขึ้น ประกอบกับสภาพดินเป็นดินทรายร่วนซุย ในระยะยาวน้ำจะแทรกซึมอยู่ใต้พื้นทั่วทั้งภูมิภาค ในภาคเหนือตอนล่างที่ผู้เขียนเคยพำนักอยู่ในช่วงเวลาหนึ่ง คนที่นั่นมักพบว่า ในฤดูแล้งลึกลงไปใต้ดินถึง 20 กว่าเมตรถึงจะมีน้ำให้สูบ หรือในบางแห่งไม่มีน้ำอยู่เลย
นี่คือแนวคิดการแก้ปัญหาแบบบูรณาการ ที่รัฐบาลควรพิจารณาแทนที่จะคิดทำโครงการขนาดใหญ่ที่มักมีปัญหามวลชนหรือปัญ หาสิ่งแวดล้อมเกิดขึ้น รัฐบาลควรกำหนดให้การแก้ปัญหานี้เป็นวาระแห่งชาติ หรืออาจจะออกเป็นพระราชบัญญัติ ที่หมายความว่า ใครก็ตามที่มาเป็นรัฐบาลจะต้องดำเนินการเรื่องนี้ต่อไป หากการแก้ปัญหาเรื่องน้ำทำได้สำเร็จ การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรือการปรับโครงสร้างภาคการเกษตรย่อมเป็นไปได ้ การพัฒนาในหลายๆ ด้านในภูมิภาคเหล่านั้นจะเกิดขึ้นซึ่งรายละเอียดเป็นเรื่องที่ผู้เขียนไม่จำ เป็นต้องกล่าวถึงมากนัก เพื่อให้บทความนี้ไม่ยาวจนเกินไป ขอกล่าวถึงโครงการที่สองต่อไป
โครงการคลองไทยตามเส้นทาง 9A ที่มี รศ.ดร.สถาพร เขียววิมล ที่ปรึกษาคณะกรรมการวิสามัญเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการขุดคอคอดกระ ในวุฒิสภา ในปี 2548 ได้ศึกษาและเผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการนี้แล้วพบว่า เส้นทางนี้จาก อ.สิเกา จ.ตรังไปออกอ่าวไทยที่ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช เป็นเส้นทางที่ดีที่สุด เพราะจาก จ.ตรัง ตรงออกไปก็เป็นน่านน้ำสากล ไม่ต้องมีปัญหากับประเทศเพื่อนบ้าน และเส้นทางนี้มีปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมตลอดจนผลกระทบต่อการท่องเที่ยวน้อยมา ก เฉพาะช่องแคบมะละกาที่ผ่านสิงคโปร์และมาเลเซียมีเรือเดินทางผ่านช่องแคบนั้น วันละ 1,000 กว่าลำ การลงทุนในโครงการขุดคลองนี้จึงคุ้มทุนมาก
ที่จริงแล้วภายในพรรคประชาธิปัตย์เองก็รู้ข้อมูลเหล่านี้ดี เพราะครั้งหนึ่งอาจารย์ท่านนี้ได้ไปเสนอผลการศึกษาโครงการนี้ ณ ที่ทำการของพรรคโดยมีคนระดับรองหัวหน้าพรรคคนหนึ่งที่ตอนนี้ก็มีบทบาทสูงในร ัฐบาลเป็นผู้ร่วมสัมมนา แต่ผู้เขียนไม่ทราบว่าทำไมรัฐบาลจึงไม่ให้ความสนใจเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่โครงการนี้ถ้าเกิดขึ้นได้จะมีผลเปลี่ยนแปลงในเชิงยุทธศาสตร์ต่อประเทศไทย อย่างมหาศาลทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศ การทหาร และเศรษฐกิจ ประเทศไทยจะมีความได้เปรียบในเรื่องลอจิสติกส์หรือการขนส่งมาก โครงสร้างทางเศรษฐกิจในภาคใต้จะเปลี่ยนแปลงไปอย่างชนิดหลังมือเป็นหน้ามือ
บางทีประวัติศาสตร์อาจช่วยคนไทยให้หวนคิดถึงเรื่องบางเรื่องได้ กรุงรัตนโกสินทร์เคยเป็นศูนย์กลางของการค้าการเดินเรือในภูมิภาคนี้มาก่อนจน กระทั่งอังกฤษได้ก่อตั้งเมืองสิงคโปร์ขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4 ศูนย์กลางจึงย้ายไปที่นั่น ถ้าหากต้องการดึงความเป็นศูนย์กลางการเดินเรือทางทะเลกลับมาสู่ประเทศไทยหลั งจากสูญเสียไปเป็นเวลาเกือบ 170 ปี คลองไทยนี้ควรต้องเกิดขึ้น อยากทราบว่าท่านนายกฯ คนนี้จะมีความกล้าหาญในการตัดสินใจเรื่องนี้หรือไม่ หรือยังจะเล่นบทที่ไม่ยอมเสี่ยงอย่างที่เคยเล่นจนได้ก้าวขึ้นมาสู่ตำแหน่งนา ยกฯ
รายละเอียดที่เกี่ยวกับโครงการนี้หาอ่านได้ทั่วไปและอาจยังเป็นเรื่องที่สัง คมไทยถกเถียงกันต่อไป แต่การตัดสินใจอย่างเฉียบขาดน่าที่จะเกิดขึ้นได้แล้ว จึงขอให้รัฐบาลคิดและทำเรื่องที่มีความสำคัญต่อคนรุ่นต่อๆ ไปในอนาคตบ้าง ไม่ใช่มัวแต่มุ่งแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แล้วประชาชนก็ไม่รู้ว่าประเทศชาติจะเดินหน้าไปในทิศทางใด
สำหรับประเด็นที่สองนั้น ผู้เขียนใคร่ขอตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลในรอ บเกือบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาว่ามีลักษณะคล้ายๆ กับรัฐบาลชวน 2 (นายชวน หลีกภัยได้เป็นนายกฯ สมัยที่สอง) อย่างไร และถ้าไม่ระมัดระวัง มัวแต่เดินหลงทางโดยไม่ยอมฟังเสียงทักท้วงจนในที่สุดแม้จะไม่ล้มเหลวเสียทีเ ดียว แต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเป็นที่พอใจของประชาชน นั่นก็จะเป็นการเดินซ้ำรอยเท้าของรัฐบาลชวน 2 แม้ว่าขณะนี้อาจเป็นช่วงเวลาที่ยังเร็วเกินไปที่จะวิจารณ์รัฐบาลในเรื่องนี้ แต่ก็มีสัญญาณบางอย่างบ่งบอกว่าอาจไปในทางนั้น
พฤติกรรมการทำงานของผู้นำรัฐบาลตั้งแต่สัปดาห์แรกหลังปีใหม่มีลักษณะของการแ สดงออก (ภาษาอังกฤษเรียกว่า show-off) อย่างเช่น การยกคณะไปพบผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ที่จริงแล้วรัฐบาล (ไม่ใช่นายกฯ) ขอให้ทีมจากธนาคารไปพบปรึกษาหารือก็ได้เมื่อคำนึงถึงความเหมาะสมตามสถานะ แม้ว่าเรื่องนี้จะไม่สำคัญ ค่อนข้างเป็นเรื่องจุกจิกด้วยซ้ำ แต่ผู้เขียนเพียงแต่อยากบอกกับรัฐบาลว่า การบริหารงานของท่านจะถูกสังคมตัดสินด้วยผลสัมฤทธิ์ในที่สุด ไม่ใช่ตัดสินกันที่การแสดงออกในการทำงานของท่าน
ความเหมือนความต่างระหว่างรัฐบาลอภิสิทธิ์และรัฐบาลชวน 2 มีดังนี้ สำหรับตัวผู้นำรัฐบาล 2 ชุดนี้คล้ายๆ กันอย่างหนึ่ง คือ มีบุคลิกนุ่มนวล ไม่เคยต่อสู้กับสิ่งที่ไม่ถูกต้องในสังคมไทยอย่างเอาเป็นเอาตาย เมื่อใดก็ตามที่วิจารณ์ฝ่ายตรงกันข้ามก็เพียงแต่ทำให้ฝ่ายนั้นขุ่นเคืองบ้าง เท่านั้น บุคลิกแบบนี้ถือว่าเป็นการเล่นเกมแบบถนอมตัว คนที่มาเป็นรัฐมนตรีคลัง ทั้ง 2 คนก็มีภูมิหลังมาจากทางด้านการเงินเช่นเดียวกัน ต่างกันบทที่เล่นซึ่งก็เป็นไปตามลักษณะปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นอยู่
ในสมัยรัฐบาลชวน 2 รัฐมนตรีคลังในขณะนั้นมุ่งแก้ปัญหาหนี้เสียและการเพิ่มทุนของสถาบันการเงินท ั้งหลาย จนกระทั่งในภาพรวมคนมองว่ารัฐบาลแก้ปัญหาทางด้านนั้นจนไม่ให้ความสนใจเศรษฐก ิจภาคการผลิตแท้จริงเท่าที่ควร ส่วนรัฐบาลอภิสิทธิ์ มีรัฐมนตรีคลังเข้ามาแก้ปัญหาเฉพาะหน้า แม้จะไม่ใช่การแก้ปัญหาเรื่องเงิน แต่ก็ใช้เงินแก้ปัญหา ในสมัยรัฐบาลชวน 2 เศรษฐกิจฟื้นตัวช้ามาก จนมองดูเหมือนไม่ฟื้นตัวเลย โชคดีที่มีการส่งออกมาช่วยฉุดเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นตัวได้ในที่สุด แต่นั่นก็สายไปแล้วเมื่อมีพรรคไทยรักไทยเข้ามาสู่เวทีการเมือง ชนะการเลือกตั้งช่วงชิงอำนาจทางการเมืองไป
รั ฐบาลอภิสิทธิ์มีความเสี่ยงในเรื่องการแก้ปัญหาเศรษฐกิจว่าจะสำเร็จหรือไม่ ถ้ายังแก้ปัญหาโดยมุ่งผลทางการเมืองเป็นเป้าหมาย มีโลกทัศน์เกี่ยวกับเศรษฐกิจไทยที่แคบตีบอยู่อย่างนี้ ความล้มเหลวที่ซ้ำรอยรัฐบาลชวน 2 มีโอกาสที่จะเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ผู้เขียนจึงขอให้รัฐบาลคิดทำสิ่งที่มีความสำคัญต่ออนาคตของประเทศบ้าง วิกฤต 2552 อาจเป็นโอกาสที่ดีของประเทศไทยที่จะทำเรื่องใหญ่ๆ ก็ได้ น่าจะลองเสี่ยงดู
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000007784
Greetings from Italy,good luck
ตอบลบMarlow
ขอบคุณมากครับสำหรับบทความ
ตอบลบ