โดย ภาณุเบศร์ มหาเรือนขวัญ
แม้มาตรา 5 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ที่ระบุว่าประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกันจะเป็นหลักการคงเดิมตามรัฐธ รรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ที่บัญญัติครั้งแรกไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พ.ศ.2475 จะมีเจตนารมณ์เพื่อคุ้มครองความเสมอภาคให้แก่ประชาชนชาวไทยตามหลักความเสมอภ าคกันต่อหน้ากฎหมาย (Principle of Equality before the Law) อันเป็นหลักสากลสำคัญที่ต้องการให้ทุกคนได้รับความคุ้มครองโดยไม่แบ่งแยก
ทว่าทางปฏิบัติจริงแล้วกลับพบพานความเหลื่อมล้ำจากการบังคับใช้กฎหมา ยสูงสุดเรื่อยมา โดยเฉพาะความคุ้มครองสิทธิและความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรมที่ชนชาวไทยทั่ วไปจะถูกทอนสิทธิด้านนี้จนกระทั่งสูญเสียศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อันเนื่องม าจากถูกเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมแตกต่างจากกลุ่มกุมอำนาจรัฐและทุน ที่จะว่าไปแล้วละม้ายยิ่งกับการไม่เลือกปฏิบัติ (Non-Discrimination Principle) อันเป็นหลักการพื้นฐานสำคัญของระบบการค้าพหุภาคีทั้งระบบภายใต้องค์การการค้ าโลก (World Trade Organization: WTO) ที่การค้าอย่างเสรีและเป็นธรรม (Free and Fair Trade) มักถูกแทรกแซงโดยประเทศที่มีอำนาจสูงกว่าเสมอๆ
หลักการรัฐธรรมนูญว่าด้วยสิทธิในกระบวนการยุติธรรมและการได้รับความค ุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันจึงมีชะตากรรมสุดท้ายคล้ายกับการไม่เลือกปฏิบั ติของ WTO ทั้งการไม่เลือกปฏิบัติระหว่างประเทศคู่ค้าหรือ ‘การให้การประติบัติเยี่ยงชาติที่ได้รับอนุเคราะห์ยิ่ง’ (Most-Favoured Nation Treatment: MFN) และการไม่เลือกปฏิบัติระหว่างคนชาติและต่างชาติ หรือ ‘การให้การประติบัติเยี่ยงชาติ’ (National Treatment: NT) เพราะจักถูกละเมิดอยู่เนืองนิตย์จากการนำประโยชน์ของตนหรือพวกของตนเป็นใหญ่
หากอำนาจและเงินทองยังดลบันดาลให้กระบวนการทางสังคมและเศรษฐกิจเบี่ย งเบนไปทางผลประโยชน์เฉพาะกลุ่มก้อนเช่นนี้ มีความโกลาหลยุ่งยากตามมาแน่นอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่สามารถสร้างกระบวนการยุติธรรมที่ยุติที่ ‘ธรรม’ ขึ้นในสังคมได้ ประชาธิปไตยย่อมยากเจริญงอกงาม เพราะพัฒนาการประชาธิปไตยผันแปรตามหลักสิทธิมนุษยชนว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิ และความเสมอภาคในกระบวนการยุติธรรมอันเป็นการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ข องทุกผู้คนไม่ว่าจะอยู่ในฐานะสถานภาพใดๆ มีหรือไม่เคยมีอำนาจรัฐ
ห ลักนิติธรรม (The Rule of Law) อันเป็นหลักปกครองภายใต้กฎหมายที่จำกัดการใช้อำนาจของผู้ปกครองไม่ให้เกินขอ บเขตแทงยอดแตกใบได้ในสังคมที่ผู้คนไม่ถูกเลือกปฏิบัติอันเนื่องมาจากความแตก ต่าง เฉกเช่นเดียวกับอารยะขัดขืนก็เข้มแข็งยิ่งในสังคมประชาธิปไตยที่สิทธิในการไ ม่เชื่อฟังกฎหมายได้รับการเคารพจากรัฐและตัวผู้กระทำการขัดขืนยอมรับดอกผลตา มมา
ถ้าเป็นไปในท่วงทำนองนี้ แน่นอนว่าประชาธิปไตยไทยจะรุดหน้าทัดเทียมอารยประเทศที่มีความเป็นประชาธิปไ ตยสูง หุบเหวแห่งความแตกแยกก็จะตื้นเขินขึ้นมากจนรัฐนาวาไทยที่กำลังร่วงหล่นหาทาง ตะเกียกตะกายป่ายปีนขึ้นมาได้ในระยะเฉพาะหน้า ขณะระยะยาวก็พ้นผ่านวิกฤตการณ์ได้ด้วยกระบวนการยุติธรรมที่จะนำความเสมอภาคม าสู่คู่ขัดแย้งอย่างแท้จริงได้
เช่นนั้น รัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนอกจากต้องบริหารชาติบ้านเมืองด้วยหลักธรรมาภิบาล (Good governance) ที่กอปรด้วยหลักนิติธรรม คุณธรรม ความโปร่งใส ความมีส่วนร่วม ความรับผิดชอบ และความคุ้มค่าแล้ว ยังต้องเร่งรัดให้ถ้อยแถลงนโยบายต่อรัฐสภาว่าด้วยการเสริมสร้างความสมานฉันท ์และความสามัคคีของคนในชาติปรากฏเป็นรูปธรรมชัดแจ้งจากการนำความยุติธรรมกลั บคืนประเทศไทยโดยเร่งด่วนด้วยการบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมไม่เลือกปฏิบ ัติ
ยิ่งกว่านั้นยังต้องแผ้วถางทางประชาธิปไตยรกชัฏให้เหี้ยนเตียนขึ้นด้ วยการแปลงทฤษฎีสันติวิธีสู่ ‘ปฏิบัติการ’ ด้วยมรรคาสมานฉันท์ใช่ได้มาจากการท่องบ่น ทว่าต้องบากบั่นหมั่นเพียรสร้างโอกาสและความน่าจะเป็นขึ้นมาเอง โดยอิงแอบแนวทางต่างๆ ทั้งสานเสวนา (Dialogue) ที่เป็นกระบวนการกลุ่มในการจัดการความขัดแย้งโดยอาศัยบุคคลที่สามมาช่วยอำนว ยการให้เกิดความเข้าใจระหว่างบุคคลที่มีความเชื่อและจุดยืนต่างกัน กระทั่งถึงความยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ (Restorative justice) ที่แก้ปัญหาความขัดแย้งโดยให้ผู้กระทำผิดได้แสดงความรับผิดชอบในการกระทำ บรรเทาช่วยเหลือเหยื่อ โดยมีเป้าหมายท้ายสุดให้คู่กรณีรู้สึกว่าความขัดแย้งยุติลงแล้ว
วิถีสันติแท้จริงจักต้องยืนหยัดกับความยุติธรรม เท่าๆ กับต้านทานเสรีภาพและความเสมอภาคที่ผิดเพี้ยนตามแรงเหวี่ยงทุนนิยม แก่งแย่งผลประโยชน์กัน ‘ให้ได้เท่าที่ต้องการ ไม่ให้ใครได้มากกว่า’ กระทั่งกระทบหลักการประชาธิปไตย เพราะแทนที่เสรีภาพและความเสมอภาคจะหลอมรวมผู้คนจนเกิด ‘ภราดรภาพ’ (Fraternity) สามัคคีมีเอกภาพ ช่วยให้ทุกคนใช้ทั้งสองสิ่งนี้ร่วมกันสร้างสรรค์สังคมดีงามมีสันติสุขได้เต็ มที่ตามการอรรถาธิบายของท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ก็กลับกลายเป็นความล้มละลายแตกแยกรังเกียจเดียดฉันท์อันเนื่องมาจากวัฒนธรรม หลากหลายหรือ ‘คติพหุวัฒนธรรม’ (Multiculturalism) นั้นหาได้อยู่ร่วมกันด้วยดีมีภราดรภาพไม่
กระทั่งการมาถึงของประธานาธิบดีผิวสีบารัค โอบามา (Barack Obama) กับถ้อยคำสะเทือนโลกว่า ‘Change’ ที่ไม่เพียงลดช่องว่างความแตกแยกระหว่างคนผิวขาวกับผิวดำในสังคมอเมริกัน หากยังกลายเป็นคำแห่งความหวังอันยิ่งใหญ่ที่ได้รับการกล่าวขานมากสุด (Buzzword) ใน ค.ศ.2008 จากการจัดอันดับของนิตยสาร TIME ฉบับวันที่ 22 ธันวาคม 2008
เ ปรียบกับประเทศไทย ถ้อยคำ 1 ใน 3 ถ้ามีการจัดอันดับเช่นเดียวกัน นอกเหนือ ‘การเมืองใหม่’ แล้ว คงเป็น ‘ความสมานฉันท์’ ที่แพร่กระจายไปยังทุกอณูสังคมนับแต่แวดวงวิชาการยันศิลปะบันเทิงกีฬา ด้วยความแตกแยกครานี้ร้าวลึกยิ่งยวดจนดึงทุกภาคส่วนสังคมตั้งแต่ระดับเล็กสุ ดหากสำคัญสูงสุดอย่างครอบครัวเข้าร่วมวงไพบูลย์ด้วย
ความอยู่รอดของประเทศไทยจึงไม่ได้ขึ้นกับรัฐบาล ‘โอบามาร์ค’ เพียงลำพัง หากแต่ปวงชนชาวไทยต่างหากสำคัญกว่าเพราะต้องเรียนรู้ทักษะความเป็นสัตว์ประเ สริฐที่ฝึกได้ของตนเข้าร่วมคลี่คลายวิกฤตบ้านเมืองนับแต่เรื่องเศรษฐกิจถดถอ ยถึงสภาพแวดล้อมเสื่อมโทรม
เมื่อศักยภาพของมนุษย์ฝึกได้จนเป็นพุทธะ ถ้าปราศจากการฝึกแล้วหาประเสริฐไม่ เพราะการฝึกฝนพัฒนาตนนี้จะได้องค์ธรรมสำคัญคือ ‘ปัญญา’ ทำให้รู้ คิด-พูด-ทำได้ผลทำให้ปฏิบัติต่อสิ่งทั้งหลายได้ถูกต้อง แก้ปัญหาและทำการทั้งหลายได้สำเร็จ ดังที่ท่าน ป.อ.ปยุตฺโตอรรถาธิบายธรรมไว้ ฉะนั้นวิกฤตสังคมไทยที่เกิดจากมุมมองและจุดยืน (Stand point) ทางการเมืองที่ต่างกันทั้งในคู่ความขัดแย้งและกลุ่มอ้างความเป็นกลางย่อมคลี ่คลายได้ด้วยวิธีถูกต้อง ด้วยอุดมการณ์ทางการเมืองลื่นไหลได้กว่าอัตลักษณ์สีผิวที่เป็นปัญหาหยั่งราก ในสังคมอเมริกันมากนัก
แน่นอนละว่า ความสมานฉันท์อันเกิดจากการแก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยปัญญาย่อมรวมใจได้มากกว่าการ รวมคนตามหลักนิติรัฐด้วยซ้ำ กระนั้นก็ต้องขับเคลื่อนกงล้อธรรมตั้งแต่ขั้นตอนการเข้าถึงกระบวนการยุติธรร ม (Access to Justice) เพื่อเป็นหลักประกันแห่งสิทธิ การได้รับการพิจารณาพิพากษาคดีโดยเปิดเผย เที่ยงธรรม ถึงการได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญาจากรัฐตามจำเป็นและเห มาะสม
ทว่าว่าก็ว่าเถอะ ถ้อยคำ ‘สมานฉันท์’ ในสังคมไทยปัจจุบันนอกจากเป็น Buzzword แล้ว ยังมีด้านตรงข้ามอันซ้ำซากสุดแสนเบื่อหน่าย กลายเป็นความคิดหรือคำพูดที่ใช้บ่อยมากจนดูเป็นสิ่งธรรมดา (Clich?) หาได้มีแก่นสารัตถะอันใดในยามขัดแย้งไม่ แค่ทำให้ผู้พูดหรือประพันธ์ดูโก้หรูแต่คนฟังคนดูเบื่อ ยิ่งเรียกร้องสมานฉันท์เชิงทอนคุณค่ากระบวนการยุติธรรมยิ่งเหลวใหลไร้สาระ
ด ้วยถึงที่สุดแล้วระบอบประชาธิปไตยจะ ‘อารยะ’ ได้ก็ต่อเมื่อความสมานฉันท์ถ้อยถักกับเสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพอย่างแนบแน่นบนฐานรากความยุติธรรมที่ไม่เลือกปฏิบัติ.-
คอลัมน์เวทีนโยบายสาธารณะ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) www.thainhf.org
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000000265
ขอบคุณคับ
ตอบลบ