...+

วันเสาร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2552

แพทย์พบของเล่นปนตะกั่วเพียบ ทั้งศูนย์เด็ก กทม.-หน้า ร.ร.ชี้ทำเด็กโง่‏-ไอคิวต่ำ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์     .

      ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์ ตรวจของเล่นเด็กในศูนย์กทม.-ร้านขายของเล่นหน้า ร.ร.ชี้ ปนเปื้อนสารตะกั่วเพียบ ส่งผลเด็กโง่-ไอคิวต่ำ แนะพ่อ-แม่เลือกของเล่นสังเกตมีตรา มอก.หนุนมี “ห้องสมุดของเล่น” เสริมพัฒนาการเด็กทั่วถึง เลือกของเล่นพื้นบ้าน ย้ำต้องเลือกของเล่นให้ ปลอดภัย เหมาะสมกับพัฒนาการ พร้อมกระตุ้นรณรงค์ปี 52 ปีแห่งของเล่นปลอดภัย ขณะที่สระว่ายน้ำ อาคาร สนามเด็กเล่น ยังอันตราย วอน ผู้ว่าฯ กทม.คนใหม่ แก้ไขปัญหาให้ความสำคัญกับเด็ก
      
      
       วันที่ 6 ม.ค.2552  แพทยสภาร่วมกับราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย แถลงข่าวเรื่อง “อันตรายจากของเล่นเด็กและอุบัติเหตุใน กทม.” และ  "กรุงเทพฯ เมืองอันตรายสำหรับเด็ก” โดยนพ.อดิศักดิ์ ผลิตผลการพิมพ์ ผู้แทนราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และหัวหน้าศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า ในปี 2551 ราชวิทยาลัยฯ ได้ร่วมกับภาคีดำเนินการเก็บตัวอย่างของเล่นจากศูนย์พัฒนาเด็กสังกัดกรุงเทพ มหานคร จำนวน 23 ศูนย์ เพื่อตรวจหาสารตะกั่ว พบว่า ของเล่นจาก 4 ศูนย์ หรือคิดเป็นร้อยละ 17 มีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐานกำหนดที่ 600 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม นอกจากนี้ได้เก็บตัวอย่างของเล่นที่วางขายหน้าโรงเรียนในกรุงเทพมหานคร 26 แห่ง พบว่า ของเล่นจากหน้าโรงเรียน 4 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 15 มีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐานกำหนด
      
       นพ.อดิศักดิ์ กล่าวอีกว่า ช่วงปลายปี 2551 ราชวิทยาลัยฯได้ทำการสำรวจ โดยซื้อของเล่นที่ราคาไม่สูง ซึ่งครอบครัวสามารถซื้อหาให้เด็กได้ง่าย ทั้งจากห้างสรรพสินค้าและตลาดทั่วไปใน จ.กรุงเทพฯ พิจิตร บุรีรัมย์ สระแก้ว และชลบุรี จำนวน 126 ชิ้น ส่งตรวจคุณสมบัติทางกายภาพจำนวน 50 ชิ้น พบว่า ไม่เป็นไปตามาตรฐานกำหนดจำนวน 9 ชิ้น หรือร้อยละ 18 โดยมีเสียงดังเกิน 75-85 เดซิเบล เป็นอันตรายต่อเซลล์ประสาทการได้ยิน 4 ชิ้น เส้นสายยาวเกินกว่า 30 เซนติเมตร มีความเสี่ยงต่อการพันรัดคอเด็ก 3 ชิ้น มีช่องรูระหว่าง 5-12 มิลลิเมตร เสี่ยงต่อนิ้วเด็กติดค้างในช่องรู 2 ชิ้น และมีขอบแหลมคม 1 ชิ้น รวมถึง ส่งตรวจคุณสมบัติทางเคมีโดยตรวจหาสารตะกั่วจำนวน 80 ชิ้น พบว่า มีสารตะกั่วสูงกว่าค่ามาตรฐานกำหนด 6 ชิ้น หรือร้อยละ 7.5
      
       “ของเล่นที่มีสารตะกั่วเกินกว่ามาตรฐานกำหนดจะเป็นอันตรายอย่างยิ่งส ำหรับเด็ก เพราะเด็กส่วนใหญ่ชอบเอาของเล่นเข้าปาก ทำให้สารตะกั่วเข้าไปสะสมอยู่ในกระดูก และจะติดอยู่กับตัวเด็กไปจนโตแล้วจะละลายเข้าเนื้อเยื่อ ทำให้มีผลต่อเซลล์สมอง หากได้รับซ้ำๆ จะทำให้พัฒนาการล่าช้าและระดับไอคิวต่ำ ดังนั้นในการเลือกซื้อของเล่นให้กับเด็ก โดยเฉพาะเพื่อเป็นของขวัญวันเด็กแห่งชาติ พ่อแม่ควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้รับตรามาตรฐานอุตสาหกรรมหรือ มอก.ที่แม้จะไม่ปลอดภัย 100% แต่ก็พอที่จะบรรเทาอันตรายได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้กำลังดำเนินการตรวจสอบเครื่องมือศิลปะในศูนย์เด็กเล็กทั้งดินน้ำมั น สีแท่ง สีเทียน สีทาบ้านว่ามีการปนเปื้อนของสารที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อเด็กหรือไม่ คาดว่าอีก 3 เดือนจึงจะรู้ผล” นพ.อดิศักดิ์ กล่าว
      
       นพ.อดิศักดิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับการเลือกตั้งผู้ว่าฯ กทม.ซึ่งเด็กอาจไม่มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง แต่ก็ควรได้รับการดูแลคุ้มครอง ซึ่งผู้ว่าฯ กทม.ถือเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่คุ้มครองเด็กโดยตำแหน่งอยู่แล้วตาม พ.ร.บ.คุ้มครองเด็ก จึงควรให้ความสำคัญกับเด็ก โดยเฉพาะในเรื่องของอุบัติเหตุและความรุนแรงที่เป็นสาเหตุสำคัญในการเสียชีว ิตของเด็กในกทม. โดยในแต่ละเด็กอายุระหว่าง 1-14 ปี เสียชีวิตจากอุบัติเหตุและการบาดเจ็บจำนวน 184 ราย คิดเป็นร้อยละ 41 ของการตายทั้งหมด โดยจมน้ำเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง จราจรเป็นสาเหตุการตายอันดับที่สอง
      
       “พบว่า เด็กไปโรงเรียน หรือศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้วยมอเตอร์ไซค์กว่าร้อยละ 18 แต่ส่วนใหญ่เด็กร้อยละ 80 ไม่ใส่หมวกนิรภัยทั้งๆ ที่มีกฎหมายควบคุม ขณะที่สนามเด็กเล่น ทั่ว กทม.ยังคงไม่ปลอดภัย ของเล่นไม่ยึดติดฐานราก ทำให้เครื่องเล่นล้มทับเด็ก หรือเด็กตกกระแทกพื้นเลือดออกในสมอง แขน ขาหัก หรือแม้แต่แต่อาคารที่พัก แฟลต อพาร์ตเมนต์ หลายแห่งในกทม.มีโครงสร้างกายภาพที่ไม่ปลอดภัย เช่น ช่องห่างราวระเบียงกว้าง ทำให้เด็กพลัดตกจากที่สูงได้ หรือไม่มีระบบป้องกันไฟไหม้ รวมทั้งทางเดินเลียบคลอง ไม่มีรั้วกั้นก็เป็นสาเหตุให้เด็กจมน้ำตาย แม้ว่าในสมัย นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน เป็นผู้ว่าฯ กทม.มีนโยบาย ว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำได้ แต่ทางโรงเรียนก็ไม่เอาจริงเอาจัง ทำให้เด็กเสี่ยงอันตรายจากการจมน้ำอยู่” นพ.อดิศักดิ์ กล่าว
      
       ด้านรศ.พญ.นิตยา คชภักดี ผู้แทนราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในปี 2552 ราชวิทยาลัยฯและสมาคมกุมารแพทย์ฯจะดำเนินการรณรงค์ให้เป็นปีแห่งของเล่นปลอด ภัย โดยขอความร่วมมือกุมารแพทย์ทั่วประเทศช่วยกันเฝ้าระวังของเล่นอันตราย หากมีเด็กบาดเจ็บจากของเล่นให้เก็บตัวอย่างส่งตรวจโดยผ่านราชวิทยาลัยฯ อย่างไรก็ตาม อยากย้ำว่า ของเล่นยังเป็นสิ่งสำคัญของเด็ก เหมือนเป็นอาหารสมองและจิตใจ จะช่วยส่งเสริมให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้งด้านร่างกาย จิตใจและสังคม แต่ต้องเลือกชนิดที่มีความปลอดภัยและเหมาะกับพัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย
      
       “เนื่องจากของเล่นที่ดีมีคุณภาพ อาจมีราคาแพง ถ้าไม่มีของเล่นให้เด็กก็ไม่ได้ ห้องสมุดของเล่น จึงเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดช่องว่างการพัฒนาเด็กจากการเล่น เพราะมีของเล่นหลากหลาย สามารถเล่นเวียนกันได้หมด ไม่ว่าจะเป็นเด็กหญิงหรือเด็กชาย หากเป็นของเล่นมีสร้างสรรค์ สามารถกระตุ้นพัฒนาการของเด็กก็สามารถเล่นร่วมกัน โดยเวียนกันเล่นได้ นอกจากนี้ การละเล่น หรือของเล่นเด็กที่ทำขึ้นเอง ก็สามารถเล่นได้อย่างสร้างสรรค์ และมีราคาไม่แพง อีกทั้งยังสามารถเล่นด้วยกันได้ทั้งครอบครัวอีกด้วย” รศ.พญ.นิตยา กล่าว
      
       ร ศ.พญ.นิตยา กล่าวอีกว่า ขอแนะนำเคล็ดลับให้พ่อแม่ที่จะซื้อของขวัญในวันเด็ก โดยพ่อแม่จำเป็นต้องเป็นผู้เลือกของเล่นด้วยตัวเอง ไม่ควรพาลูกไปเลือกของเล่นด้วย เพราะเด็กอาจจะถูกสีสันของของเล่นหลอกล่อ จนพ่อแม่ไม่สามารถเลือกของเล่นที่มีประโยชน์และปลอดภัยให้กับลูกได้ และจะได้ไม่เกิดปัญหาขัดแย้งกับลูกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น