...+

วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2552

รัฐบาลสามบวกหนึ่ง : นกต่างสีเข้าฝูง

โดย สามารถ มังสัง    
“นกสีเดียวกันเข้าฝูงกันได้” นี่คือสุภาษิตหรือคำคมตามนัยแห่งคตินิยมของชาวตะวันตก ที่มีความหมายในเชิงอุปมาอุปไมยเปรียบเทียบพฤติกรรมในการคบหาสมาคมของคนกับพ ฤติกรรมรวมกันเป็นฝูงของนก โดยอาศัยความเหมือนกันในการเข้าหากัน
      
        โดยนัยแห่งสุภาษิตดังกล่าวข้างต้น บ่งบอกให้ทราบถึงความต่างอันเป็นอุปสรรคหรือเป็นเงื่อนไขปฏิเสธในการเข้ากลุ ่มเดียวกัน ในทำนองว่า นกต่างสีเข้าฝูงกันไม่ได้ เช่นเดียวกับคนที่มีพฤติกรรมต่างกันคบหาสมาคมกันไม่ได้ หรือได้ก็ยากที่จะอยู่ได้ยืดยาว และเป็นไปด้วยความสงบสุข
      
        อีกนัยหนึ่ง ถ้ามองให้ลึกลงไปถึงเนื้อหาสาระของสุภาษิตนี้แล้วจะเห็นได้ว่า ความเหมือนและความต่างที่หมายถึง มิได้หมายถึงความเหมือนของรูปลักษณ์ภายนอกคือผิวกายของคนในทำนองที่มองเห็นส ีขนของนก แท้จริงแล้วน่าจะหมายถึงความเหมือนและความต่างแห่งภาวะจิตใจภายใน อันเป็นต้นตอหรือแหล่งกำเนิดพฤติกรรมที่แสดงออกมาทางกายและวาจาเป็นสำคัญ
      
        ถ้าเป็นเช่นนี้ เนื้อหาของสุภาษิตนี้ก็สอดคล้องกับคำสอนของพุทธศาสนาในมงคลสูตร ข้อที่ว่าไม่คบคนพาล แต่ให้คบบัณฑิต โดยเน้นให้เห็นความเหมือนและความต่างระหว่างพฤติกรรมของคนพาลกับบัณฑิต
      
        อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าผู้คนในสังคมไทยจะรู้และมีความเข้าใจหลักคำสอนของพุทธศาสนา และเนื้อหาแห่งสุภาษิตฝรั่งบทที่นำมากล่าวเกริ่นไว้เบื้องต้น แต่มีคนไทยอยู่ไม่น้อยที่ยังไม่รู้ หรือรู้แต่ยังไม่เข้าใจ ถึงแม้จะรู้และเข้าใจ แต่ก็ยังไม่เคยเห็นภัยอันเกิดจากการคบหาสมาคมกับผู้ที่มีพฤติกรรมต่างกันว่า จะทำให้เกิดความทุกข์ ความเดือดร้อนอย่างไร และมากน้อยแค่ไหน
      
        ในจำนวนคนที่ว่าน้อยที่ในขณะนี้มีอยู่ส่วนหนึ่งที่อยู่ในข่ายจะได้รับความทุ กข์ ความเดือดร้อนจากการเข้ารวมกลุ่มกับผู้ที่มีพฤติกรรมแตกต่างจากตนเอง คนจำนวนที่ว่านี้ก็คือนักการเมือง พรรคประชาธิปัตย์ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตั้งรัฐบาลผสมที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ด้วยเหตุผลในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
      
       1. ก่อนจะมีการจัดตั้งรัฐบาลร่วมกัน พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน และทั้งพรรคเพื่อแผ่นดินไทย พรรคชาติไทยพัฒนา หรือพรรคชาติไทยเดิม กับกลุ่มเพื่อนเนวินจากพรรคเพื่อไทย หรือพรรคพลังประชาชนเดิมเป็นรัฐบาล
      
        ตลอดเวลาที่ผ่านมา ในฐานะพรรคฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ได้ทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาล และจากการทำหน้าที่เช่นนี้ได้มีการนำข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่ส่อเค้าว่าจะ มีการทุจริต เช่น โครงการซื้อรถเมล์ 4,000 คันของกระทรวงคมนาคม และโครงการจัดซื้อหลายโครงการในการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น ทำให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นมาอย่างต่อเนื่อง
      
        ดังนั้น เมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกัน และปรากฏว่าโครงการที่เคยเป็นเหตุและความขัดแย้งที่ว่านี้ได้อยู่ในความรับผ ิดชอบของกลุ่มเพื่อนเนวิน จึงยากที่จะทำงานร่วมกันได้อย่างราบรื่น เพราะเชื่อได้ค่อนข้างร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าทางกลุ่มเพื่อนเนวินซึ่งเป็นรัฐมนต รีว่าการกระทรวงคมนาคมจะต้องผลักดันโครงการที่ค้างอยู่ต่อไป และเมื่อเป็นเช่นนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ที่เคยคัดค้านท้วงติงเกี่ยวกับเรื่อ งนี้จะทำอย่างไรให้โครงการที่ว่านี้ได้รับการแก้ไข และทบทวนให้เป็นไปในทิศทางที่พรรคประชาธิปัตย์เห็นว่าถูกต้อง และควรจะเป็นเพื่อประโยชน์ของประเทศ
      
        อีกประการหนึ่ง ถ้าดูจากพฤติกรรมที่แสดงออกมาหลังจากมีการจัดตั้งรัฐบาล และมีการแบ่งงานแล้ว เห็นได้ชัดเจนว่าทางพรรคประชาธิปัตย์ควบคุมพรรคร่วมรัฐบาลให้ทำงานร่วมกันใน ทิศทางที่ผู้นำรัฐบาลประกาศไว้ 9 ข้อได้ยาก จะเห็นได้จากการแต่งตั้งคนภายนอกเข้ามาช่วยทำงาน โดยเฉพาะการแต่งตั้ง ดร.ศรีสุข จันทรางศุ เข้ามาทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการฟื้นฟูและพัฒนาเครือข่ายการขนส่งทางอากาศ เพียงเรื่องเดียวก็พอจะมองเห็นเค้าลางแห่งความขัดแย้งในการแก้ไขปัญหาความไม ่โปร่งใสในโครงการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิได้แล้ว ว่ายากที่จะดำเนินการใดๆ ให้ลุล่วงไปได้อย่างรวดเร็ว และราบรื่นตามครรลองแห่งกฎหมาย ในลักษณะว่าผิดคือผิด ถูกคือถูก ไม่มีการล้มคดีหรือซื้อเวลาเพื่อให้หมดอายุความดังที่เกิดขึ้นในคดีจัดซื้อเ ครื่องตรวจสอบวัตถุระเบิดซีทีเอ็กซ์ 9000 ที่เกิดขึ้นและเป็นมานานจนคนไทยเกือบจะลืมไปแล้วว่าเคยมีคดีสอบสวนเรื่องนี้ และนี่คือประเด็นหนึ่งที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งระหว่างพรรคประชาธิปัตย์กับ กลุ่มเพื่อนเนวิน
      
       2. ก่อนที่จะมีการจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกัน ส.ส.ทั้งจาก 2 พรรค และ 1 กลุ่มต่างก็มีแนวโน้มสนับสนุนให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อช่วยให้คนของรัฐบ าลเก่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งอดีตนายกฯ ทักษิณพ้นผิด และในขณะนั้นพรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้านได้แสดงท่าทีคัดค้านการแก้กฎหมายใ นทำนองนี้อย่างชัดเจน
      
        ด้วยเหตุนี้ เมื่อมาร่วมเป็นรัฐบาลด้วยกันแล้ว ถ้าทางฝ่ายค้านซึ่งเป็นรัฐบาลเก่าที่เคยคิดแก้กฎหมายได้แสดงเจตนาจะแก้ไขกฎห มายอีกครั้ง และทาง ส.ส.ของ 2 พรรคกับอีกหนึ่งกลุ่มทั้งหมดหรือบางส่วนได้มีแนวคิดแบบเดียวกันกับกลุ่ม ส.ส.ที่จะแก้ไขกฎหมายที่ว่านี้ ทางพรรคประชาธิปัตย์จะทำอย่างไร ถ้าคัดค้านก็จะเสียแนวร่วม ถ้าเห็นด้วยก็จะเป็นปัญหากับการเมืองภาคประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้ม าตลอด นี่คือข้อขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นกับรัฐบาลผสมเป็นประเด็นที่ 2
      
       3. ในการร่วมรัฐบาลครั้งนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์มีเสียงไม่พอ แต่ที่จัดตั้งได้ก็ด้วยอาศัยเสียงจากการแยกตัวออกมาจากพรรคเพื่อไทย หรือพรรคพลังประชาชนเดิม คือกลุ่มเพื่อนเนวิน และเชื่อได้แน่นอนว่ากลุ่มนี้มีอำนาจต่อรองสูงที่พรรคประชาธิปัตย์เองก็ต้อง เกรงใจ และยอมจำนนต่อภาวะจำเป็นทางการเมืองที่จะต้องพึ่งพาเสียงจากกลุ่มนี้ และกลุ่มเพื่อนเนวินเองก็คงจะรู้ดี จะเห็นได้จากการออกมาประกาศเดินหน้าโครงการต่างๆ ที่ใครต่อใครมองแล้วว่าไม่น่าจะโปร่งใส และพรรคประชาธิปัตย์เองก็คงไม่สะดวกใจที่จะยอมรับใครให้ผ่านไปโดยง่าย จึงเป็นการยากอย่างยิ่งที่จะอยู่ร่วมกันโดยไม่ขัดแย้ง
      
        แต่ที่สำคัญที่สุด รัฐบาลผสมในลักษณะที่ใครก็รู้ว่าอยู่ไม่นาน ดังนั้นการทำโครงการเพื่อหาทุนเลือกตั้งจึงเป็นภารกิจเร่งด่วนของนักการเมือ ง โดยเฉพาะนักการเมืองที่ใช้ทุนเงินในการเลือกตั้งมากกว่าทุนทางสังคม
      
        ด ้วยเหตุปัจจัยทั้งหลายที่ว่ามานี้ ผู้เขียนเชื่อว่ารัฐบาลผสมต่างพฤติกรรมเหมือนนกต่างสีเข้าฝูงคงอยู่ต่อไปได้ ยาก เพียงแต่ว่าจะจบลงเมื่อใด และอย่างไรนั้นคงจะคาดเดาได้ยาก แต่ถ้าจะให้คาดเดาก็คงไม่เกินปี และจบลงด้วยการยุบสภาฯ หรือหากเกิดความขัดแย้งมาก และการที่ยุบสภาฯ ก็แก้ปัญหาการเมืองในอนาคตไม่ได้ การเมืองใหม่จำเป็นต้องเกิด รัฐบาลชุดนี้อาจจบลงด้วยการถูกโค่นล้มก็เกิดขึ้นได้

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9520000003305

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น