...+

วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2552

ผู้สื่อข่าวภาคสนาม โวย “นักเล่าข่าว” ทำนาบนหลังคน

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    

       
ฟีดแบกหลังทัศนะ “มาร์ค” ระบุ “นักเล่าข่าว” ชี้นำ วงการไซเบอร์เริ่มโวยบ้าง หลังกลุ่มนักข่าวภาคสนาม วิจารณ์ผ่านบล็อก ชี้ ทำนาบนหลังคน เสียดายบุคลากร เครื่องมือนับพันล้าน กลับใช้ไม่คุ้มค่า เหน็บมัวแต่นั่งรอข่าวหนังสือพิมพ์ ทั้งยังตีหน้าเล่าข่าวเหมือนลงพื้นที่ด้วยตัวเอง ด้าน ส.ว.แนะแผนบันได 4 ขั้น ปฏิรูปสื่ออย่างเต็มรูปแบบ ทั้งกรมประชาสัมพันธ์-อสมท
      
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลัง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แสดงความเห็นเกี่ยวกับรายการคุยข่าว หรือเล่าข่าวทางสถานีโทรทัศน์ ว่า เป็นรายการที่อันตราย เนื่องจากมีการชี้นำผู้ชม และองค์กรวิชาชีพควรหารือกันในเรื่องนี้ ซึ่งปรากฏว่า ภายหลังทัศนะดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีได้รับการตอบรับจากคนในแวดวงอินเทอร์เน ็ตที่แสดงความเห็นในเรื่องนี้ โดยเฉพาะในบล็อกโอเคเนชั่น http://oknation.net/blog/index.php ที่ได้นำบทความเรื่อง นักเล่าข่าวกับการ “ทำนาบนหลังคน” ที่เขียนโดยผู้สื่อข่าวรัฐสภากลุ่มหนึ่งจากหลายสำนักพิมพ์ ในบล็อกชื่อ “สนามข่าวสภา” http://www.oknation.net/blog/news-war มาเผยแพร่เป็นเรื่องแนะนำ โดยบทความดังกล่าววิพากษ์วิจารณ์รายการประเภทเล่าข่าว ว่า การที่รายการเล่าข่าว (บางช่อง) พึ่งพาข่าวของหนังสือพิมพ์เป็นวัตถุดิบส่วนใหญ่ในรายการ นับว่า น่าเสียดายอย่างยิ่งที่มีโอกาสในการที่จะได้เสพข่าวที่มีคุณภาพ ครบทุกมิติ เพราะสถานีโทรทัศน์แต่ละแห่ง มีเครื่องไม้เครื่องมือที่ทันสมัยมีมูลค่าหลายสิบล้าน ทั้งยังมีบุคลากรที่มีฝีมืออยู่จำนวนมาก ขณะที่เจ้าของสถานีถือหุ้นร่ำรวยอันดับต้นๆ ของประเทศ ถ้าใช้ทรัพยากรเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์จริงๆชาวบ้านจะได้ประโยชน์มาก แต่นักเล่าข่าวเหล่านั้น กลับมานั่งรอข่าวหนังสือพิมพ์ที่มีการลงทุนน้อยกว่าทีวีหลายเท่านัก จากนั้นก็มาเล่าเรื่องเป็นฉากๆ ราวกับว่า ได้ไปทำข่าวและเขียนขึ้นมาเองกับมือ แต่สุดท้ายก็ไม่ได้อ้างอิงว่า ตัวอักษรที่ร้อยเรียงให้ตนเองหากินอยู่นั้น อยู่ในหนังสือพิมพ์อะไร เป็นข่าวจากสำนักข่าวไหน หลายครั้งหลายหนยังทำตนเยี่ยงศาสดาแห่งข่าวสาร สั่งสอนนักข่าวที่เขียนข่าว ว่า ทำไมไม่ทำอย่างนั้นอย่างนี้ ทำไมไม่ถามแบบนั้นแบบนี้
      
       บทความดังกล่าวยังระบุในตอนท้ายว่า ข้อเขียนนี้มิได้มุ่งหมายให้นักเล่าข่าวเลิกเอาหนังสือพิมพ์มาอ่าน หรือต้องให้เครดิตหนังสือพิมพ์ที่หยิบขึ้นมาอ่าน เพื่อเป็นการโปรโมตหนังสือพิมพ์ช่วยกระตุ้นยอดขายแต่ประการใด แต่ที่เรียกร้อง คือ การเคารพในหน้าที่ บทบาทของคนที่อยู่ในแวดวงเดียวกัน ไม่ว่านักเล่าข่าวในจอโทรทัศน์ หรือนักข่าวภาคสนามล้วนแต่มีศักดิ์ศรี ไม่ใช่ว่าแต่งตัวดี เสนอหน้าอยู่ในจอทีวีมีคนรู้จักมาก แล้วจะใช้กระดาษหนังสือพิมพ์รองเดินเพื่อปูทางไปสู่ความสำเร็จอยู่ร่ำไป ไม่อยากให้สังคมข่าวมีชนชั้น วรรณะ มีเทพ มีทาส หรือมีคนทำนาบนหลังคนอีกต่อไปเท่านั้นเอง
      
       ด้าน นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการสิทธิมนุษยชน สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครองผู้บริโภค วุฒิสภา ให้ความเห็นในเรื่องนี้โดยกล่าวว่า การปฏิรูปสื่อ คือสิ่งที่ประชาชนรอคอยและฝากความหวังไว้กับรัฐบาลชุดนี้มากที่สุด เพราะที่ผ่านมาทำได้กว่าครึ่งทางแล้ว โดยตนมีข้อเสนอดังนี้ 1.ให้มีการออกกฎหมายองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และประกอบกิจการวิทยุโทรทัศน์ เพื่อให้มีการสรรหากรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เพื่อทำให้การปฏิรูปสื่อเกิดขึ้นจริง ทั้งนี้การสรรหาต้องโปร่งใส ได้ผู้ที่เป็นกลางและสามารถตรวจสอบได้ เพราะเป็นองค์กรที่มีผลประโยชน์มหาศาล โดยรัฐบาลต้องรีบทำกฎหมายฉบับนี้ภายใน 3-4 เดือน และตั้งคณะทำงานขึ้นมาโดยมาจากตัวแทนองค์กรวิชาชีพด้านสื่อมวลชนและนักวิชาก าร
      
       2.ควรยุบกรมประชาสัมพันธ์ และตั้งสำนักแถลงข่าวรัฐบาลที่เข้มแข็งขึ้นมาแทน เพราะหากเป็นข่าวที่ดีย่อมเป็นที่สนใจของสื่อมวลชนอยู่แล้ว เพื่อไม่ให้รัฐบาลมีคลื่นความถี่และสื่ออยู่ในมือ นอกจากนี้ ต้องมีการผ่าตัดช่อง 11 ให้เป็นองค์กรมหาชน โดยควรออกเป็นมติ ครม.เพื่อให้เกิดขึ้นโดยเร็วที่สุด แต่อาจจะมีจุดอ่อนเพราะรัฐบาลชุดต่อมาจะสามารถแก้ได้ง่าย ดังนั้นการอุดช่องว่างปัญหาดังกล่าวอาจให้มีคณะกรรมการที่น่าเชื่อถือและมีค ุณวุฒิเข้ามาดูแล โดยมาจากสายนักวิชาการ และองค์กรวิชาชีพ ลักษณะเช่นเดียวกับสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อเป็นหลักประกันไม่ให้รัฐบาลชุดใหม่เข้ามาแทรกแซง โดยการเปลี่ยนผ่านอาจจะแบ่งเป็นช่วงๆ ช่วงแรกให้มีการแก้ปัญหาหลักการของช่อง 11 จากนั้นให้มีการออกพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งองค์กรมหาชนอย่างน้อยให้ระบุอายุไว้ 1 ปี จากนั้นให้ออกกฎหมายยุบกรมประชาสัมพันธ์ซึ่งเป็นกระบอกเสียงรัฐบาลในที่สุด
      
       ทั้งนี้ 3.ปรับปรุง อสมท ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) คงไม่เพียงพอ เพราะไม่ใช่การแก้ปัญหาอย่างแท้จริง โดยต้องมีการพิจารณาว่าจะเอาคลื่นความถี่มาเป็นของรัฐหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นสถานีโทรทัศน์ช่อง 3 และคลื่นวิทยุอีก 70 สถานี ซึ่งตรงนี้อาจจะมีปัญหาตามมา เพราะรัฐบาลต้องซื้อหุ้นคืน อาจจะทำให้มีการประท้วงจากสหภาพแรงงานได้ อีกทั้งรัฐบาลต้องคิดเรื่องการเป็นผู้ลงทุนเสียงข้างน้อยให้เหลือรัฐ 30% เอกชน 70% เพื่อเปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาบริหารและตรวจสอบถ่วงดุลกันเอง น่าจะสามารถทำให้เกิดธรรมาภิบาลและแก้ปัญหาแดนสนธยาของ อสมท ได้ 4.ต้องมีการออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของคนในวิชาชีพสื่อมวลชน โดยให้คนในวิชาชีพเป็นคณะทำงานในการร่างกฎหมายฉบับนี้ โดยที่รัฐไม่ต้องเข้ามามีส่วนร่วมเพราะบ่อยครั้ง หากรัฐเข้ามาจะมีการเปลี่ยนแปลงเนื้อหากฎหมายจากคุ้มครองสื่อเป็นควบคุมสื่อ ได้
      
       “ทั้งนี้ 4 ข้อ รัฐบาลต้องกล้าลงมือทำ หากรัฐบาลตั้งใจจริง เชื่อว่า จะทำให้การปฏิรูปสื่อเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อสังคมในหลายด้าน โดยเฉพาะการแก้ปัญหาความแตกแยกแบ่งสีเหลือง-แดง ของสังคม เพราะหากสังคมได้รับข้อมูลข่าวสารที่เท่ากันก็จะทำให้ความสมานฉันท์เกิดขึ้น ได้” นายสมชาย กล่าว

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000004843

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น