โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
‘สุริยะใส’ หนุนรัฐบาลออกกฎหมายเก็บภาษีมรดก เชื่อจุดเริ่มต้นปฏิรูปที่ดิน เผยผลวิจัยคนไทยกว่าร้อยละ 90 ได้ครองที่ดินไม่ถึงไร่ ที่เหลืออยู่ในมือนายทุนมากกว่า 100 ไร่ ชี้ไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์ แต่หวังฮุบไว้เก็งกำไร
วันนี้ (24 ม.ค.) นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กล่าวถึงการออกกฎหมายจัดเก็บภาษีที่ดินและภาษีมรดกว่า ตนเห็นด้วยกับแนวคิดในการตรากฎหมายจัดเก็บภาษีที่ดินและภาษีมรดกในแบบอัตรกา รก้าวหน้า เพราะเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดการปฏิรูปที่ดินหรือการกระจายการถือครอง ที่ดินอย่างเป็นธรรม เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรส่วนใหญ่ของประเทศไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง แต่ที่ดินส่วนใหญ่ไปอยู่ในมือคนส่วนน้อย ทั้งนี้ข้อมูลจากการวิจัยพบว่าประชาชนโดยส่วนใหญ่ของประเทศคือ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ มีที่ดินถือครองไม่ถึง 1 ไร่ ในขณะที่ประชาชนกลุ่มเล็ก ที่เหลือ 10 เปอร์เซ็นต์มีที่ดินถือครองคนละ มากกว่า 100 ไร่ ซึ่งชี้ให้เห็นถึง ความเหลื่อมล้ำของคนในสังคม
“ที่สำคัญ 70 เปอร์เซ็นต์ ของที่ดินที่มีการถือครองในประเทศไทยถูกปล่อยทิ้งไว้ให้รกร้างว่างเปล่า ไม่ได้ใช้ประโยชน์ หรือใช้ประโยชน์ไม่เต็มที่ หรือใช้ประโยชน์ไม่ถึง 50% ประเมินความสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจ 127,000 ล้านบาทต่อปี และยังพบว่ามีคนจำนวนหนึ่งในสังคมไทยถือครองที่ดินไว้จำนวนมาก โดยไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์อะไร แต่เก็บไว้เพื่อเก็งกำไร เป็นสินค้าเพื่อขายต่อ”นายสุริยะใส ระบุ
ทั้งนี้ นายสุริยะใส กล่าวอีกว่า หากรัฐบาลผลักดันนโยบายนี้สำเร็จ จะทำให้นโยบายการแจก สปก.4-01 ให้กับเกษตรกรนำไปสู่การแก้ปัญหาความยากจนเรื้อรังได้ โดยในระยะยาวจะหวังผลได้มากกว่านโยบายประชานิยมแบบที่เป็นอยู่ เพราะหากแจก ส.ป.ก.4-01 อย่างเดียวโดยไม่มีมาตรการอื่นควบคู่สุดท้ายแล้วที่ดิน สปก.จะหลุดไปอยู่ในมือนายทุนได้ในที่สุด
นอกจากนี้ นายสุริยะใส เห็นว่านโยบายนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ควรผลักดันอย่างจริงจั ง แม้จะมีแรงต้านจากนายทุนบ้าง แต่ไม่น่าจะส่งผลต่อเสถียรภาพของรัฐบาล เพราะประชาชนส่วนใหญ่จะสนับสนุนรัฐบาล และนโยบายนี้ยังจะช่วยลดช่องว่างทางเศรษฐกิจ เกื้อหนุนการกระจายรายได้ ซึ่งเป็นฐานของสังคมสมานฉันท์ในระยะยาว
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000008489
พวกสะสมที่ดินไว้เยอะๆแต่ไม่ทำประโยชน์
ควรเก็บภาษีมรดกหนักๆเพราะที่ดินเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ
แต่มรดกอื่น ไม่ควรเก็บเพราะมีการเก็บภาษีเงินได้แล้ว
ถ้าเก็บทุกอย่าง คนจะทำงานน้อยลง ใช้จ่ายมากขึ้น
รายได้และผลผลิตประชาชาติรวมจะน้อยลง
มรดกที่จะเก็บไว้ให้ลูกหลานเป็นแรงจูงใจในการทำงานอย่างหนึ่ง
ศ.บ.
เรื่องการถือครองที่ดินทำกินนี่ บ้านเมืองเราควรถึงจุดที่ต้องมาปรับเข้าสู่ความจำเป็นและให้สอดคล้องกับฐานะ ทางเศรษฐกิจของคนในชาติบ้าง คนร่ำรวยเศรษฐีที่ดินก็ควรลดราวาศอกลงไปบ้าง เอาแต่พอเหมาะเถิด บ้านเมืองไทยเรา จะได้อยู่กันได้อย่างสงบสุข พวกคนรวยจะมีที่ดินไว้ให้ลูกหลาน ก็ให้ถือครองได้แต่พอควร มีขีดจำกัดจำนวนถือครอง ทำเป็นขั้นตอน ถ้าคนรวยยังห็นแก่ได้เล่นกันเป็นพันเป็นหมื่นไร่อยู่ไม่กี่ตระกูล จนพวกคนจนอยู่ไม่ได้ บ้านเมืองคงลุกเป็นไฟเหมือนกัน ขอให้นักการเมืองได้ไตร่ตรองดู จะบ้ารวย สะสมกันไปถึงไหน?
คนไทยแท้
ผู้เก็งกำไรก็จะรวมภาษีมรดก เข้าไปในราคาที่ดิน เช่น ราคาที่ดินที่เก็งกำไร = ราคาที่ดินที่ซื้อมา + ภาษีเงินได้เดิมและค่าโอนที่ดินที่จะต้องเสีย + ค่านายหน้าที่จะต้องเสีย + กำไรขายที่อยากได้ + ภาษีมรดกที่จะต้องเสียหากผู้ขายตายก่อนที่จะขายได้
ร าคาที่ดินก็เพิ่มขึ้น ดังนั้นการมีภาษีมรดกไม่ได้แก้การเก็งกำไรสักนิดเดียว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ รัฐบาลได้เงินเพิ่มจากประชาชนไปละเลงเล่น
เนื่องจากคนส่วนมากไม่สามา รถทราบได้ว่าจะตายเมื่อไหร่ ภาษีมรดกจะเกิดขึ้นกับทายาท อย่างไม่คาดคิดมาก่อน บางทีอาจจะไม่มีเงินมาจ่ายเสียด้วยซ้ำ คงจะต้องรีบขายตอนได้รับมรดกมาและไม่ได้ราคาดี ดังนั้นจึงไม่แปลกใจว่าทำไมนักพัฒนาที่ดินบางคนถึงสนับสนุนร่างภาษีนี้ เพราะต้นทุนของเขาจะลด ในตลาดของคนธรรมดาที่ไม่ได้เก็งกำไร
เพื่อน
เห็นด้วยครับ การเก็บภาษีมรดกทำให้คนรวยเปลี่ยนความคิดจากการกอบโกยหาเงินไว้ให้ลูกหลาน มาให้วิชาความรู้แทน อีกอย่างทำให้ประเทศรวยขึ้น ประชาชนประกอบอาชีพอะไรก็สามารถมีรายได้เลี้ยงตัวเองให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีไ ด้ กว่าเข้าสู่ความเป็นรัฐสวัสดิการเต็มตัว ภาษีอีกอย่างที่ต้องไปพร้อมกันคือภาษีที่ดินว่างเปล่า อันนี้ต้องเก็บเป็นเทศมีที่ดินที่ไม่ใช่ประโชยน์มากจริง ส่วนนี้ตกไปอยู่กับนายทุน ไม่ก่อให้เกิดผลผลิตเพราะเอาไว้เก็งกำไรทำให้ประเทศเสียโอกาส หากรัฐเก็บภาษีส่วนนี้ได้ จะทำให้ราคาที่ดินถูกลงคนที่ต้องการใช้ที่ดินสามารถซื้อมาลงทุนปลูกสร้างได้ ลดการบุกรุกป่าได้อีกด้วย
คนเมืองพล
เห็นด้วยอย่างยิ่งกับเรื่องนี้ถ้าทำดีๆจะทำให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีเข้ารัฐไ ด้เพิ่มขึ้นอีกเยอะ และนำภาษีส่วนนีไปพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ โดยเฉพาะการสร้างคุณภาพชีวิตของประชาชนเช่นด้านการศึกษาพื้นฐานฟรี สาธารณะสุขที่ได้มาตรฐานเดียวกันและถูกหรือไม่ก็ฟรี และอื่นๆอีกมากมาย คนที่รวยก็แค่กระในเรื่องอาจจะได้กำไรน้อยลง แต่จะเป็นไรไปหละคุณก็ยอมเสียสละกำไรเพื่อชาติหน่อยแล้วกัน เพราะ ยิ่งรวยก็ยิ่งผลาญทรัพยกรธรรมชาติมากขึ้น โลกปัจจุบันนี้คนรวยต้องมีจิตสำนึกสาธารณะให้มากกว่านี้ เพราะโลกเราทรัพยากรมันมีจำกัดและนับวันน้อยลงทุกวัน เราควรจะหันกลับไปใช้ชีวิตที่พอเพียงก็น่าจะดี ในที่นี่ไม่ได้หมายความว่าให้อดอยากนะ หมายถึงพอเพียงในสิ่งที่เราพอหาได้โดยไม่เบียดเบียนคนอื่น ถ้าจะยกตัวอย่างประเทศฝรั่งเศส ที่ประสบผลสำเร็จในการจัดเก็บภาษีที่ดินและมรดกที่นี่ภาษีมรดกและภาษีบ้านที ่ดินแพงมาก คนถ้าไม่รวยจริงๆก็จะไม่ซื้อบ้านและที่ดินเกินที่สองหลังเพราะแบกรับภาระภาษ ีไม่ไหว และรายได้จากเงินเดือนจะหักภาษีรวมประกันสังคมขั้นต่ำก็ 22 % แต่รัฐก็นำเงินส่วนนี้มาลงทุนในด้านการศึกษา และคุณภาพชีวิตของคนในชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
คนไทยในปารีส
ผมเสนอว่าควรเก็บภาษีที่ดินให้มากไว้แหละดี แต่ต้องมีรายละเอียดให้ชัดเจนด้วยว่าที่ดินประเภทไหนบ้าง อยากให้เน้นที่ที่ดินว่างเปล่าที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ของเอกชนเป็นหลัก ส่วนที่ดินของเกษตรกรณ์หากมีการทำกินจริงควรเก็บให้น้อยที่สุด เพราะเขาต้องใช้ทำกิน ภาษีที่ดินที่อยู่อาศัยหากเป็นบ้านเดี่ยวกำหนดไปเลยไม่เกิน 2 ไร่ต่อครอบครัว ส่วนเกินเก็บภาษีก้าวหน้า ถ้ารัฐมุ่งเก็บภาษีที่ดินให้เป็นธรรมแบบนี้ประชาชนสนับสนุนแน่นอน ส่วนภาษีมรดกต้องมีรายละเอียดให้มากกว่านี้ว่าเหตุผลในการจัดเก็บคืออะไร และควรเสียภาษีอัตราอย่างไร เพราะเงินมรดกเป็นเงินที่ครอบครัวสร้างไว้สำหรับลูกหลาน รัฐจะเก็บภาษีก็ต้องแจงเหตุผลให้ชัดเจน
คนแก่
ทำได้ แต่กลัวจะมาบังคับใช้กะตาสีตาสา แล้วก็คนทำมาหากินอย่างเราอ่ะดิ แต่คนรวยๆ มีที่เยอะๆเค้าก็มีเส้นสาย รอดไปได้อยู่แล้วใครจะตรวจสอบ แต่เราที่ตั้งหน้าตั้งตาเก็บเงิน มีก็ซื้อที่ไว้ให้ลูกหลาน เห็นๆว่ายังไงก็ต้องโดนเก็บภาษีเต็มๆ ไม่รู้ออกกฎหมายมาแล้วจะทำให้เราทุกข์ไปอีกหรือเปล่า แต่คนรวยๆจะรู้วิธีเลี่ยงภาษีแล้วยังเอาผิดไม่ได้อีกด้วย
ก็ดูๆหน่อยแล้วกัน
ที่พูดมาเป้นสิ่งที่ดีครับ แต่ว่าคงต้องดูรายละเอียดว่า
ท ี่ดินที่เป้นของนายทุน นี้หมายถึง ใครสามารถถูกเรียกว่า นายทุน ที่ดินส่วนไหนยังไง หรืออะไรก็ตามเพราะว่า บางที่ข้าราชการจนๆ หรือ พนักงานเอกชน ไม่ได้ร่ำรวยมาก เขาก็พยายามซื้อที่ดินเก็บเล็กผสมน้อย ใครขายเขาก็ซื้อเอาไว้หวังว่า เป็น บำนาญในชีวิต อยากเก็บให้ลูกให้หลาน ซื้อด้วยเงินสุจริต หาเงินมาทั้งชีวิต ถ้ามาเจอกฏหมายภาษีนี้ มันจะอะไรยังไง นายทุนก็คือนายทุน ส่วนคนที่พยายามที่จะทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้น มันก็อีกส่วนนึง หรือว่าจะต้องขายและถ้าขายใครจะซื้ออะไรยังไง เพราะที่เขาพยายามเก็บที่ดินไว้ บางคน ไม่ได้เพื่อเกร็งแต่เพราะ เพื่อ บั่นปลายในชีวิต เขาถึงจะมีโอกาสได้ใช้ประโยชน์จากที่ดินที่เขาพยายามซื้อมาไว้ทั้งชีวิต รายละเอียดคงต้องดู คงต้องติดตามครับ
เป็นกฏหมายที่ดี อาจแก้ปัญหาได้ แต่ต้องดูรายละเอียดว่าเป็นยังไง
ต้องติดตามครับ
‘โอบามาร์ค’ เดินหน้าจัดเก็บภาษีที่ดิน-มรดก โยน ‘ขุนคลัง’ ศึกษา
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 24 มกราคม 2552 12:14 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
“อภิสิทธิ์” ยันเดินหน้า “ภาษีที่ดิน-มรดก” โยน “กรณ์” ศึกษารายละเอียด ย้ำยิ่งนายทุน-นักการเมืองถือครองที่ดินมากยิ่งต้องเดินหน้า มั่นใจกฎหมาบผ่านฉลุย เพราะไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง แต่เพื่อส่วนร่วม พร้อมคุยลูกพรรคเข้าใจ หลังหวั่นกระทบฐานเสียง ยันออกเป็นกฏหมายทุกคนต้องยอมรับ
วันนี้ (24 ม.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงการออกกฎหมายจัดเก็บภาษีที่ดินและภาษีมรดกว่า ทั้ง 2 เรื่องนี้เป็นเรื่องที่รัฐบาลจะเดินหน้า เพราะเป็นส่วนหนึ่งของการปฎิรูประบบภาษี แต่ยังมีรายละเอียดที่ต้องพิจารณาให้รอบคอบ ซึ่งนายกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลังกำลังศึกษารายละเอียดอยู่ ในส่วนภาษีที่ดินอาจจะไม่ซับซ้อน เพราะมีแนวคิดเดิมอยู่แล้วเพียงแค่มาดูว่าจะทำอย่างไรให้เกิดความเป็นธรรมมา กขึ้น โดยหลักการใหญ่คือจะเป็นการทำให้ภาษีโรงเรือนกับภาษีบำรุงท้องที่มารวมกันแบ บมีเหตุมีผลมากขึ้นเป็นรายได้เป็นกอบเป็นกำมากขึ้นสำหรับท้องถิ่น และต้องยกเว้นให้คนที่ความจำเป็นเรื่องที่อยู่อาศัย ขณะที่คนที่มีที่ดินว่างเปล่าจำนวนมากแต่ไม่ใช้ประโยชน์ก็ต้องจัดเก็บภาษีใน อัตราก้าวหน้า
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า ส่วนภาษีมรดกนั้นมีรายละเอียดว่าจะเก็บอย่างไร และมีข้อยกเว้นอย่างไร เพราะภาษีมรดกแม้ในต่างประเทศเองก็มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกันตลอดเวลา ทั้งนี้ ยืนยันว่าจะเดินหน้านโยบายปฎิรูปภาษีต่อไป แต่ไม่ใช่เรื่องที่จะดำเนินการได้ในระยะเวลาสั้นๆ หลายๆ เรื่องที่หยิบยกขึ้นมาจะมีการดำเนินการ อย่างการปฎิรูปที่ดินก็เป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ แต่ไม่ใช่เรื่องที่เร่งรัดได้ในช่วงนี้เพราะมีรายละเอียดที่ต้องให้รอบคอบ
ผู้สื่อข่าวถามว่า กฎหมายนี้จะถูกขัดขวางจากคนรวยที่ถือทรัพย์สินและที่ดินจำนวนมากหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มันมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างที่เราต้องทำหลายเรื่อง แต่เราต้องอธิบายและคิดว่าคนที่ได้รับผลกระทบก็จะเข้าใจว่าทำไมเราต้องทำอย่ างนี้ อย่างกรณีภาษีที่ดินนั้นมันเริ่มต้นจากที่ว่ามีการกระจายที่ดินไปอย่างไม่เท ่าเทียมกัน ถ้าเขาได้มาด้วยน้ำพักน้ำแรง ก็เข้าใจแต่ถ้าเป็นทรัพย์สินที่สะสมเอาไว้แล้วทิ้งไว้เฉยๆขณะที่คนจำนวนมากม ีคนต้องการ เช่นคนมีที่ดินมากมายมหาศาลทิ้งไว้รกร้างว่างเปล่าขณะเดียวกันเราต้องมาแก้ป ัญหาที่ดินให้กับคนจน ก็คงไม่เป็นธรรมกับสังคม ตนเชื่อจะทำความเข้าใจได้
เมื่อถามว่า เป็นที่รู้กันว่าผู้ที่ถือที่ดินจำนวนมากในสังคมไทยคือกลุ่มนักการเมืองและน ายทุนที่สนับสนุนพรรคการเมือง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ยิ่งแสดงให้เห็นว่าการที่รัฐบาลเดินหน้าเรื่องนี้ไม่ใช่เพื่อประโยชน์ของตัว เองแต่เป็นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม เมื่อถามต่อว่า ล่าสุดคนที่ไม่เห็นด้วยคือนายพิเชษฐ พันวิชาติกุล ส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ อดีต รมช.คลัง กล่าวว่า นายพิเชษฐเคยทำการศึกษาพบว่าภาษีที่ดินไม่มีปัญหา แต่ภาษีมรดกยังมีจุดท้วงติงอยู่ ซึ่งตนก็เห็นด้วยเพราะยังมีข้อโต้แย้งในการยกร่างอีกหลายเรื่อง เราต้องเอาข้อมูลข้อเท็จจริงไปให้สมาชิกพรรคได้ดูเพื่อทุกคนจะได้สบายใจ โดยอาจจะไปคุยกันในพรรค และในที่สุดเมื่อออกมาเป็นกฎหมายทุกคนก็ต้องยอมรับไม่ว่าจะอยู่พรรคใด
ผู้สื่อข่าวถามว่า การออกกฎหมายนี้จะกระทบกับคนชั้นกลางและคนชั้นสูงซึ่งเป็นฐานเสียงของพรรคหร ือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องดูให้ครบทุกด้าน รัฐบาลนี้กำลังขยายในเรื่องการสร้างสวัสดิการให้ดีขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องมีฐานภาษีที่กว้างกว่ารายได้มากขึ้น ที้งนี้ มั่นใจว่าจะทำสำเร็จเพราะไม่ได้ทำเพื่อตัวเองเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม
ส่วนกรณีองค์ประชุมล่มจะมีผลต่อการหน้าในส่วน พ.ร.บ.ผู้สูงอายุนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า พ.ร.บ.นี้เดินต่อไปได้ เพราะสามารถดำเนินการโดยระเบียบได้ แต่ถ้าแก้กฎหมายจะเป็นการปรับโครงสร้างอีกครั้ง ในวันอาทิตย์ที่ 25 ม.ค.นี้ตนจะพบกับผู้นำในพรรครัฐบาลคาดว่าจะย้ำเรื่องความเข้มแข็งในการผลักด ัน ทั้งนี้ นโยบายที่เป็นสิ่งที่ดีก็ต้องพยายามทำ ส่วนจะทำได้หรือไม่ทุกคนก็ต้องรับผิดชอบทางการเมืองกันไป
เมื่อถามว่า ความรับผิดชอบที่ว่าคือลักษณะใด นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ขึ้นอยู่กับว่าผลักดันไม่ได้ด้วยเหตุผลอะไร เช่นถ้ากฎหมายสำคัญไม่ผ่านรัฐสภาก็ต้องรับผดชอบทางาการเมืองอยู่แล้ว ซึ่งมีหลายวิธีตามรัฐธรรมนูญ
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9520000008462
ขอบคุณค่ะสำหรับข้อมูล
ตอบลบ