...+

วันพุธที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เปิดใจ “ครู พธม.เชียงราย” “ผ้าง พลชัย” กลางดงเสื้อแดง

       เ ชียงราย – เปิดใจ “ผ้าง พลชัย” อดีตครูวัย 63 ปี เลือดปักษ์ใต้ ที่ปักหลักสอนหนังสือในถิ่นเหนือสุดแห่งสยาม ดินแดนเมืองพ่อขุนฯ มานานกว่า 30 ปี ที่หลังเกษียณอายุราชการแล้วก็หันเหมาเป็นดีเจคลื่นวิทยุชุมชน ที่ผลักดันก่อตั้งขึ้นด้วยใจที่รักอิสระในการแสดงความคิดความเห็น ก่อนที่จะปักหลักถ่ายทอดสัญญาณ ASTV เผยแพร่การชุมนุมของ พธม.อย่างต่อเนื่อง ให้คนเชียงรายได้รับรู้ ท่ามกลางแรงกดดันจาก “ระบอบแม้ว” ทุกทิศทางมาจนถึงทุกวันนี้
      
       “เชียงราย” ได้ชื่อว่าเป็นอีกจังหวัดหนึ่งที่ “ระบอบทักษิณ” แผ่อิทธิพลคลุมพื้นที่เหนียวแน่นมากที่สุด โดยจะสังเกตได้จากการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา นักการเมืองในระบอบทักษิณไม่ว่าจะเป็นจากพรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน ต่างได้รับเลือกตั้งแบบยกจังหวัดทั้ง 8 คนโดยตลอด รวมถึงการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่น และการโยกย้ายข้าราชการ โดยเฉพาะฝ่ายปกครอง ตำรวจ ที่เก้าอี้สำคัญๆ ล้วนแต่มีคนในเครือข่าย “ระบอบแม้ว” ครอบครองอยู่ ผ่านการจัดการจาก “ยงยุทธ ติยะไพรัช” หรือยุทธ ตู้เย็น มือทำงานของ “ทักษิณ” ที่ยังคงจงรักภักดีจนถึงทุกวันนี้ ทำให้ทั่วทั้งพื้นที่ ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ “ระบอบทักษิณ” ใครที่มีความเห็นแตกต่างทางการเมืองจึงถือว่าเป็นศัตรู และถูกข่มขู่คุกคามไปต่างๆ นานา ทั้งจากเจ้าหน้าที่รัฐและสมุนนักการเมือง ดังนั้นจึงมีคนน้อยรายนักที่จะอาจหาญออกมาแสดงจุดยืนในระบอบประชาธิปไตยว่า มีความเห็นที่แตกต่างออกไปจากคนในระบอบทักษิณ
      
       อย่างไรก็ตาม เ ชียงรายที่ถือว่าเป็นพื้นที่ “สีแดง” เต็มพื้นที่ ยังคงมีเครือข่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) เกิดขึ้นและดำรงอยู่อย่างหาญกล้ากลางถิ่นสีแดง หนึ่งในนั้นคือ “ผ้าง พลชัย” อดีตข้าราชการครูวัย 63 ปี ที่ “รัก” ที่จะเรียกตัวเอง c]tถูกเรียกว่า “ครูผ้าง” ซึ่งปักหลักตั้งวิทยุชุมชนทางคลื่นเอฟเอ็ม 107.75 เมกะเฮิรตซ์ เลขที่ 108 หมู่ 2 ต.ห้วยไคร้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพื่อถ่ายทอดเสียงการชุมนุมของ พธม.และสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวีอย่างต่อเนื่อง นับเป็นการท้าทายต่อระบอบทักษิณในพื้นที่อย่างยิ่ง
       

      
       ทำให้ตั้งแต่ปี 2548 เป็นต้นมา วิทยุชุมชนแห่งนี้ได้รับแรงกดดันสารพัด ทั้งจังหวัดสั่งปิด ข่มขู่ ยกพวกไปประท้วงทำลายข้าวของ ขว้างระเบิดขวด ฯลฯ แต่ “ครูผ้าง” ก็ยังยืนหยัดทำหน้าที่อยู่ได้จนถึงปัจจุบัน
      
       “ สาเหตุที่ผมทำอย่างนี้เพราะผมต้องการรักษาสิทธิขั้นพื้นฐานของชีวิตเอาไว้ นั่นคือการมีสิทธิที่จะได้คิด ได้ยิน ได้ฟัง ได้เห็น ได้แสดงความคิดเห็น ได้อย่างอิสระโดยไม่ผิดหลักกฎหมาย ซึ่งผมก็เป็นของผมอย่างนี้มาตลอดตั้งแต่ยังเป็นครูสอนหนังสืออยู่แล้ว ไม่ใช่พึ่งมาเป็นหลังตั้งวิทยุชุมชนแล้ว แต่เป็นวิญญานอิสระในการแสดงความคิดความเห็น ถ้าคนเราไม่สามารถมีอิสระในชีวิตตรงนี้ได้ไม่ต้องเป็นคนดีกว่า” เสียงตอบอันหนักแน่นตอกย้ำเข็มมุ่งทางความคิดของ “อดีตครู” ผู้นี้ได้เป็นอย่างดี

ผ้าง พลชัย อดีตข้าราชการครู ที่หันมาเอาดีด้วยการเป็นดีเจวิทยุชุมชน
       “ครูผ้าง” โดยพื้นเพเดิมเป็นชาวนครศรีธรรมราช ในปี 2507 จบการศึกษาในระดับประกาศนียบัตรชั้นต้น (ปกส.ต้น) จากโรงเรียนฝึกหัดครู จ.นครศรีธรรมราช (ในปี 2537 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ บริหารการศึกษา) หลังจากจบการศึกษาในระดับ ปกส.ต้น ด้วยวัยเพียง 18 ปี ก็ได้นั่งรถไฟสายใต้เข้ากรุงเทพฯ ต่อไปยัง จ.ลำปาง และต่อรถยนต์อีก 1 วันเต็มเพื่อเข้ารับบรรจุเป็นข้าราชการครูครั้งแรกที่โรงเรียนบ้านป่าแดง ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย จ.เชียงราย และปักหลักใช้ชีวิตในเมืองเหนือเรื่อยมา
      
       ตลอดเวลาหลายสิบปีของ “ครูผ้าง” บนผืนแผ่นดินภาคเหนือ ได้ทำให้หนุ่มใต้คนนี้กลายเป็นคนเหนือเต็มตัว โดยเป็นอาจารย์อยู่หลายโรงเรียนจนกระทั่งเกษียณอายุราชการในตำแหน่งผู้อำนวย การโรงเรียนบ้านห้วยไคร้ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2548
      
       ตลอดชีวิตการเป็นครูมีจุดเด่น คือ ความตรงไปตรงมา ไม่เหมือนใคร จึงทำให้ได้รับเลือกให้เป็นทั้งตัวแทนครูในเชียงราย ในคณะกรรมการการประถมศึกษา จ.เชียงราย (กปจ.) อย่างต่อเนื่อง ,เป็นกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงราย ที่มาจากคนที่มีอาชีพครูเป็นคนแรกโดยตัดระบบ “เอาใจนาย” ทำให้คนที่มีอาชีพครูได้เป็นกรรมการสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงรายได้ทั้งระบบ รวมทั้งได้รับเลือกให้เป็นประธานสหกรณ์ออมทรัพย์ครูเชียงรายเป็นคนแรกด้วย ฯลฯ
      
       ณ โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ อาจารย์ผ้างจะมีความผูกพันมากกว่าแห่งอื่นๆ เพราะเป็นทั้งอาจารย์สอน ครูใหญ่และผู้อำนวยการรวมกันนานถึง 32 ปี โดยตลอดระยะเวลาดังกล่าวเป็นที่รู้กันดีในวงการครูว่า “ครูผ้าง” เป็นผู้ที่ให้ความสนใจในความเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ไม่ได้ฝักใฝ่การเมือง เพียงต้องการรักษาสิทธิในการรับฟัง รับชม และรู้เท่าทันการเมือง
      
       ดังนั้นในช่วงที่ว ิทยุชุมชนผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดทั่วประเทศ “ครูผ้าง” ก็ได้ร่วมกับโรงเรียนจัดตั้งวิทยุชุมชนโรงเรียนบ้านห้วยไคร้ทางคลื่นเอฟเอ็ม 105 เมกะเฮิรตซ์ เป็นครั้งแรกเมื่อ 10 ธันวาคม 2547 โดยยึดเอาวันรัฐธรรมนูญเป็นวันก่อตั้งสถานี
      
       เนื้อหานอกจากจะเป็นการเผยแพร่ความรู้ด้านการศึกษาแล้ว ในยามว่างระหว่างเวลา 09.00-12.00 น. ครูผ้าง ยังนำเอาหนังสือพิมพ์แต่ละฉบับไปอ่านและวิเคราะห์ เพื่อให้ความรู้กับผู้รับฟังเป็นประจำแต่ด้วยการวิเคราะห์อย่างตรงไปตรงมาจึ งไปขัดใจนักการเมืองในพื้นที่ จึงถูกจังหวัดโดยคำสั่งผู้ว่าราชการ จ.เชียงราย สั่งปิดในปี 2548 ทั้งๆ ที่มีเนื้อหาไม่ได้ต่างจากรายการวิเคราะห์ข่าวอื่นๆ

แม้ว่าจะอยู่ในพื้นที่แวดล้อมด้วยกลุ่มเสื้อแดง แต่ผ้าง พลชัย ไม่เคยหวั่น
       ในช่วงนั้นชีวิตของ “ครูผ้าง” ก็เกิดการเปลี่ยนไปด้วย เพราะถูกจับตาจากฝ่ายการเมืองด้วยความระแวงว่าจะลงสมัครเป็นนักการเมืองในพื ้นที่เพื่อแข่งขันในตำแหน่ง โดยบางหน่วยงาน เช่น สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย (สวท.) ซึ่งเคยเชิญเขาไปร่วมรายการเป็นบางครั้งก็งดการติดต่อ บุคคลที่เคยติดต่อสมาคมก็เริ่มหดหายไปเหลือเพียงเพื่อนแท้ เป็นต้น
      
       แต่ด้วยความที่เป็นนักสู้โดยสายเลือดจึงควักกระเป๋าตัวเอง จัดตั้งวิทยุชุมชนคลื่นใหม่คือ เอฟเอ็ม 107.75 เมกะเฮิรตซ์ เป็นวิทยุชุมชนห้วยไคร้ โดยใช้บ้านของตัวเองเป็นสถานีเพื่อสานต่ออุดมการณ์ในปีเดียวกันจนสำเร็จ
      
       กระทั่งในเ ดือนกันยายน 2548 ครูผ้าง มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์และเกษียณอายุราชการ จึงทำให้มีเวลาในการบริหารจัดการวิทยุชุมชนห้วยไคร้ตามอุดมการณ์ในการรักษาส ิทธิในการคิด รับฟัง การเห็นและแสดงความคิดเห็นอย่างเป็นอิสระต่อไปผ่านทางวิทยุชุมชนดังกล่าว
       

       อย่างไรก็ตาม มิวาย ถูกนักการเมืองและคนของนักการเมืองในพื้นที่ข่มขู่ในรูปแบบต่างๆ อยู่เป็นประจำ เพราะมีการนำข่าวสารมาวิพากษ์วิจารณ์ผ่านรายการอย่างตรงไปตรงมา
      
       นอกจากการข่มขู่และไม่พอใจจากฝ่ายการเมือง ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ดูถูกไปต่างๆ นานา ทำให้ครูผ้าง ตัดสินใจลงสมัครเป็นสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ในปี 2549 ก่อนคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) จะปฏิวัติยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยไม่ได้มีการเตรียมตัวมาก่อนแต่ก็ได้คะแนนเสียงที่ไม่ได้จัดตั้งมากถึง 8,000 คะแนน ชนิดเหนือความคาดหมายและใช้เป็นข้ออ้างของ “ครูผ้าง”ได้เป็นอย่างดีว่าการต่อสู้ทางการเมืองที่ผ่านมา ก็เพราะมีคนสนับสนุนเกือบหมื่นคนดังกล่าวโดยที่ตัวเขาเองไม่ได้มีผลประโยชน์ ทางการเมืองใดๆ
      
       ก ระทั่งปี 2549 หลังการปฏิวัติยึดอำนาจ สังคมไทยเริ่มมีความแตกแยกอย่างชัดเจน ครูผ้าง บอกว่า ช่วงนั้นเขามองว่า มีการใช้สื่อโฆษณาชวนเชื่อ ปลุกปั่นชาวบ้าน และข่าวสารจากสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี มีความเป็นจริง ตรงไปตรงมา ตรงตามอุดมการณ์ของตัวเอง จึงลงทุนซื้อจานดาวเทียมเข้าเชื่อมต่อสัญญาณและถ่ายทอดสัญญาณสดจากสถานีโทรท ัศน์ผ่านดาวเทียมเอเอสทีวี ตั้งแต่เวลา 05.00-13.00 และ 16.00-01.00 เป็นประจำทุกวัน โดยช่วงที่ไม่ได้ถ่ายทอดสดก็จะเปิดเพลงร่วมสมัยตามวัย หรือไม่ก็เปิดให้ผู้ที่สนใจเกี่ยวกับการบ้านการเมืองโทรศัพท์เข้าไปแสดงความ คิดเห็น โดยมีตัวเขาจัดรายการด้วยตัวเอง
      
       รายการดังกล่าวยังคงเส้นคงวา แม้จะต้องถูกข่มขู่คุกคามและทำร้ายมาจนถึงทุกวันนี้ก็ตาม
      
       ครูผ้าง กล่าวว่า ผมยังคงยืนยันจะเปิดวิทยุชุมชนห้วยไคร้ในลักษณะนี้ต่อไป เพราะเห็นว่าเอเอสทีวี ดีที่สุดในบรรดาสถานีต่างๆ เพราะวิทยุของเราเน้นเรื่องข่าวเป็นหลัก สิ่งสำคัญผมยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยในเรื่องของการมีสิทธิเสรีภาพในการคิด การฟัง การเห็นและการแสดงความคิดเห็น ไม่ใช่ว่าเราแสดงความเห็นอะไรไม่ได้เลย หรือคนที่เห็นต่างกลายเป็นศัตรูกับระบอบทักษิณไปหมด
      
       “ผมยืนยันว่าไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้นผมจะสู้ต่อไป เพราะมันเป็นจิตวิญญาณของผมที่รักอิสระในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง หากว่าคนเราไม่มีอิสระตรงจุดนี้ก็ไม่ควรจะเป็นคนอีกต่อไป”
      
       ถ ามว่า ความหวังของ “ครูผ้าง” คืออะไร เขายืนยันว่า ไม่ได้อยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ และทำให้นักการเมืองในระบอบทักษิณหมดสิ้นอำนาจไป แต่ต้องการให้เกิด “การเมืองใหม่” มี “คนรุ่นใหม่มาสานต่ออุดมการณ์” ด้วยหวังว่าการเมืองใหม่จะเกิดขึ้นนั่นคือการที่ประชาชนมีความรู้เท่าทันนัก การเมืองและมีอิสรเสรีในการแสดงความคิดความเห็น จนทำให้การเมืองมีความโปร่งใส การบริหารประเทศก็จะรุดหน้า เพราะหากการเมืองไม่โปร่งใส การบริหารประเทศก็จะล้มเหลว และประเทศไทยก็จะอยู่ในวงจรความขัดแย้งเช่นนี้ตลอดไป
       

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น