พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)
เป็นธรรมดาว่า กายกับใจนั้น เป็นสิ่งที่อาศัยกันและกัน พอกายเจ็บป่วยไม่สบาย คนทั่วไปก็มักจะพาลจิตใจไม่สบาย เศร้าหมองกระวนกระวาย กระสับกระส่ายไปด้วย และในทำนองเดียวกัน เมื่อจิตใจไม่สบายก็พลอยให้กายไม่สบายไปด้วย เริ่มต้นตั้งแต่รับประทานอาหารไม่ได้ ร่างกายเศร้าหมอง ผิวพรรณซูบซีด เป็นสิ่งที่เนื่องอาศัยกัน
ในทางตรงกันข้าม คือในทางที่ดี ถ้าจิตใจดี สบาย บางทีก้กลับมาช่วยกาย เช่น ในยามเจ็บป่วยถ้าจิตใจสบาย เช่น มีกำลัง หรือจิตใจผ่องใสเบิกบาน โรคที่เป็นมาก ก็กลายเป็นน้อย หรือที่จะหายยากก็หายง่ายขึ้น ยิ่งถ้าหากว่ากำลังใจที่ดีนั้นมีมากถถึงระดับหนึ่ง ก็ไม่เพียงแต่ทำให้โรคบรรเทาเท่านั้น แต่อาจจะช่วยรักษาโรคไปด้วยเลย ทั้งนี้ก็อยู่ที่ว่า จะช่วยทำใจของเราหรือรักษาใจของเราได้ มากแค่ไหน
หลักโพชฌงค์เป็นหลักปฏิบัติทั่วไป ไม่เฉพาะสำหรับผู้ป่วยเท่านั้น โพชฌงค์มี ๗ ประการ เริ่มด้วย
องค์ที่ ๑ คือ สติ
องค์ที่ ๒ คือ ธัมมวิจยะ
องค์ที่ ๓ คือ วิริยะ
องค์ที่ ๔ คือ ปีติ
องค์ที่ ๕ คือ ปัสสัทธิ
องค์ที่ ๖ คือ สมาธิ
องค์ที่ ๗ คือ อุเบกขา
ธรรมทั้ง ๗ อย่างนี้ ไม่ต้องเอาครบทั้งหมดหรอก แม่เพียงอย่างเดียวถ้ามีสักข้อก็ช่วยให้จิตใจสบายแล้ว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น