คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ออกแถลงการณ์ สรุปชัดเหตุการณ์ 7 ตุลาเลือด เจ้าหน้าที่รัฐ ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย หรือจิตใจ ทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตราย สาหัส ฆ่า และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 295,297,288, 289 , 83
เมื่อวานนี้ (19 ธ.ค.) คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้ออกแถลงการณ์ สรุปเรื่อง ความรุนแรง สูญเสียจากกรณีการสลายการชุมนุม เมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2551 โดยระบุว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจใช้กำลังและอาวุธ แก๊สน้ำตาเข้าสลายฝูงชนที่ชุมนุมอยู่ที่บริเวณถนนราชวิถี และถนนอู่ทองใน รอบๆรัฐสภา ตั้งแต่ช่วงเช้าวันที่ 7 ต.ค. เวลาประมาณ 6 นาฬิกาเศษ รวมทั้งการสลายฝูงชนบริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า และบริเวณถนน ศรีอยุธยา ด้านกองบัญชาการตำรวจนครบาล ในช่วงบ่ายและเย็นตามลำดับ จนเป็นเหตุให้มีประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับบาดเจ็บ บาดเจ็บสาหัส นอกจากนั้นยังมีประชาชนที่เข้าร่วมชุมนุมเสียชีวิตด้วย
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ได้พิจารณาตรวจสอบจากเอกสาร และคำชี้แจงของผู้ที่เกี่ยวข้องในเรื่องดังกล่าว โดยอาศัยหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 ตลอดจนพ.ร.บ. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง รวมทั้งประมวลหลักการประพฤติปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และหลักการพื้นฐานในการใช้กำลังและอาวุธโดยเจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมายแห ่งสหประชาชาติ
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติได้กำหนดประเด็นการตรวจสอบดังนี้
ประเด็นที่ 1 การบาดเจ็บและเสียชีวิตของประชาชนและเจ้าหน้าที่ตำรวจ เป็นผลโดยตรงมาจากการใช้ระเบิดแก๊สน้ำตา เข้าสลายการชุมนุมหรือไม่
เห็นว่า ประชาชนที่ได้รับบาดเจ็บและบาดเจ็บสาหัสส่วนใหญ่ให้ถ้อยคำยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจบางคนได้ใช้อาวุธระดมยิงระเบิดแก๊สน้ำตา และขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชนโดยตรง โดยมีหลักฐานปรากฏตามวัตถุพยานที่เป็นทั้งภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหวจำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงการใช้อาวุธปืนยิงระเบิดแก๊สน้ำต าในระยะใกล้ โดยยิงในแนวราบที่มีเป้าหมายคือ ประชาชนที่มาร่วมชุมนุม หรือแม้การยิงในวิถีโค้งจากพื้นสู่อากาศ และตกลงสู่พื้นดิน แต่ก็ยังเป็นการยิงในระยะใกล้ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธปืน และวัตถุระเบิดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยืนยันว่า การเสียชีวิตและบาดเจ็บดังกล่าวเกิดจากการถูกยิง หรือถูกขว้างด้วยระเบิดแก๊สน้ำตาที่ผลิตจากประเทศจีน ซึ่งมีจุดระเบิดจุดชนวนถ่วงเวลา และช่วยขยายการระเบิด ระเบิดแบบนี้จะมีอันตรายต่อชีวิต ดังนั้น ปฏิบัติการสลายการชุมนุมของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จึงเป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บสาหัส และเสียชีวิตดังกล่าว
ประเด็นที่ 2 การใช้กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และอาวุธแก๊สน้ำตาเข้าสลายฝูงชนในวันที่ 7 ต.ค. 51 นั้น เป็นการกระทำที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือไม่
เห็นว่า การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาที่ส่วนให ญ่ผลิตจากประเทศจีน ซึ่งเป็นอาวุธร้ายแรงระดมยิงและขว้างใส่เป้าหมายประชาชน อีกทั้งเป็นการยิงและขว้างในระยะใกล้ รวมทั้งการลอบยิงระเบิดแก๊สน้ำตาออกมาจากภายในรัฐสภา และกองบัญชาการตำรวจนครบาลนั้น เหล่านี้ เป็นการกระทำอันไม่เป็นไปตามหลักการสากลในการสลายการชุมนุม และการใช้แก๊สน้ำตา และทั้งเป็นการปฏิบัติการเกินความจำเป็น เข้าข่ายเป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน และต่อกฎหมาย
ประเด็นที่ 3 การกระทำเกินความจำเป็นของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตา เข้าสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 51 เข้าข่ายเป็นความผิดตามกฎหมายใดหรือไม่
เห็นว่า การระดมยิงระเบิดแก๊สน้ำตาเป็นจำนวนมากของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ด้วยการเล็งปืนเข้าสู่เป้าหมายคือ ประชาชนโดยตรง หรือเป็นการขว้างระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าใส่ประชาชนโดยตรง รวมทั้งการลอบยิงออกมาจากกองบัญชาการตำรวจนครบาล ย่อมประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลคือ อาจทำให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บสาหัส และอาจถึงแก่ชีวิตได้
ทั้งนี้โดยมีวัตถุพยานที่เป็นภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหวจำนวนมาก ซึ่งบรรดาสื่อมวลชนและประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์ได้บันทึกภาพการสลายการชุมน ุมไว้เป็นหลักฐาน นับเป็นการกระทำที่เกินกว่าความจำเป็น และเป็นการปฏิบัติการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ทั้งหมดนี้จึงอาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิด ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ได้รับอันตรายสาหัสฆ่า และพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 , 295 , 297, 288, 289 , 83
ประเด็นสุดท้าย บุคคลใดจะต้องรับผิดชอบต่อการสลายการชุมนุม จนเป็นเหตุให้ประชาชนได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต เมื่อวันที่ 7 ต.ค.51 บ้างหรือไม่ เพียงใด
เห็นว่า 1. นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้สั่งการให้มีการสลายการชุมนุมและ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้รับมอบให้รับผิดชอบในการสลายการชุมนุมและสั่งการให้มีการสลายการชุมนุ ม รวมทั้งรัฐมนตรีที่ร่วมอยู่ด้วยในการประชุมคณะรัฐมนตรี แต่มิได้คัดค้านการใช้กำลังและระเบิดแก๊สน้ำตาเข้าสลายการชุมนุม ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นในการสลายชุมนุม ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน และละเมิดต่อกฎหมาย เข้าข่ายเป็นความผิดฐานเป็นผู้ใช้ให้บุคคลอื่นกระทำความผิด ฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย หรือจิตใจ เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157,295, 297, 288,289, 84
2. เจ้าหน้าที่ตำรวจในฐานะผู้ปฏิบัติการ และผู้ควบคุมกำลังหน่วยที่มีระเบิดแก๊สน้ำตา ได้แก่หน่วยกองบังคับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน และกองบังคับการปราบปราม
เจ้าหน้าที่ตำรวจที่เกี่ยวข้องเหล่านี้ ต้องรับผิดชอบในการละเมิดสิทธิมนุษยชนดังกล่าว รวมทั้งการละเมิดต่อกฎหมายที่อาจเข้าข่ายเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบ ัติและ/หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ห นึ่งผู้ใด ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กายหรือจิตใจ ทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัส ฆ่าและพยายามฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 295,297,288, 289 , 83
ความรุนแรงที่เกิดขึ้นในระบอบประชาธิปไตยครั้งนี้ พึงต้องถือเป็นบทเรียนสำคัญที่จะนำไปสู่การสร้างบรรทัดฐาน และกลไกการบริหารจัดการ สลายการชุมนุมประท้วงให้มีประสิทธิภาพ ทั้งในภาครัฐ ในฐานะที่เป็นผู้คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน และภาคพลเมืองในฐานะที่เป็นผู้ใช้สิทธิชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับสถาบันตำรวจ ซึ่งจะต้องมีบทบาทสำคัญในยามที่บ้านเมืองกำลังตกอยู่ในห้วงวิกฤตของการขัดแย ้งแตกแยกอย่างกว้างขวาง และรุนแรงภายในสังคมเช่นทุกวันนี้ ดังนั้น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ จึงมีข้อเสนอแนะและเรียกร้องต่อรัฐบาล เจ้าหน้าที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาในลักษณะเดียวกันขึ้นอีก
ทั้งนี้ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเห็นว่าเพื่อประโยชน์แก่การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน กรณีเรื่องนี้ควรได้รับการพิจารณาแก้ไข และดำเนินการตามกฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมโดยส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต แห่งชาติ ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินคดีต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทา งการเมืองตามมาตรา 25 แห่งพ.ร.บ.คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ.2542
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000149455
MOST WANTED KILLERS OF THAILAND
นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ Jail for life
พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ Jail for life
พล ต.อ.โกวิท วัฒนะ 25 Yrs
เสธ แดง Jail for life
1. พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ 25 Yrs
2.พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัตร 25 Yrs
3.พล.ต.อ.วิโรจน์ พหลเวชช์ 25 Yrs
4.พล.ต.อ.จงรักษ์ จุฑานนท์ 25 Yrs
5.พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว 25 Yrs
6.พล.ต.ต.วิบูลย์ บางท่าไม้ 25 Yrs
7.พล.ต.ต.ลิขิต กลิ่นอวล 25 Yrs
8. พล.ต.ต.เอกรัตน์ มีปรีชา 25 Yrs
9.พล.ต.ต.จักรทิพย์ ชัยจินดา 25 Yrs
10.พล.ต.ต.ศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล 25 Yrs
11.พ.ต.อ.ลือชัย สุดยอด 25 Yrs
12.พล.ต.ต.อำนวย นิ่มมะโน 25 Yrs
13. ผู้ควบคุมระเบิดแก๊สน้ำตา (บก.ตปพ.) พ.ต.ท.มนตรี ศรีทอง 25 Yrs
พ.ต.ท.วิวัฒน์ บุญชัยศรี 25 Yrs
พ.ต.อ.สมชาย ภัทรอินโต, 25 Yrs
พ.ต.ท.ชัยพร บุญชม, 25 Yrs
พ.ต.ท.สมชาย สวนฐิตะปัญญา 25 Yrs
พ.ต.ต.เอกชัย ยืนยาว 25 Yrs
14. (บช.ตชด.) พ.ต.ท.ฉัตรมงคล พ้นภัย, 25 Yrs
ร.ต.อ.เกษม เวียงนาค ,25 Yrs
พ.ต.อ.ณัฐ สิงห์อุดม ,25 Yrs
พ.ต.ท.เชน ทรงเดช ,25 Yrs
ร.ต.อ.พิษณุวัชร์ ใจการภ. 25 Yrs
พ.ต.อ.ศิรเมศร พันธมณี 25 Yrs
พ.ต.ต.ชินโชติ โชติศิริ 25 Yrs
15.(บก.ป.) พ.ต.ท.สุริยา อยู่แพทย์ 25 Yrs
Law of Justice
ชอบตั้งข้อหา ยัดข้อหาหนักๆ ให้ประชาชนดีนัก
เจอหนักๆมั้งอย่ามาโอดครวญนะ พวกสีกากีชั่วๆ
จับเองตั้งข้อหาเอง พวกคุณใหญ่มาจากไหนครับ
ทำไมไม่ปรับปรุงระบบ ยุติธรรมครับ ที่ประเทศไม่สงบ
3จังหวัด ลุกเป็นไฟ เพราะหน่วยงานไหนครับ
ตำรวยใช่ไหมครับ เมื่อพวกมันก่อปัญหามากกว่าทำประโยชน์ แล้วมีไว้ทำไมครับ ตำรวยอะ
เอาแบบ นายอำเภอ และตำรวจท้องถิ่นดีว่ามะ
แล้วลดอำนาจมันลงเยอะๆ ให้อำนาจมากก็ชั่ว มาก
ต้องมีหน่วยงานร้องเรียน เอาผิดพวกนี้ได้ง่ายๆ
และให้มีโทษหนักๆ เพราะมันเป็นอาชีพเพื่อชาติและ
ป วงชน ต้องมีความรับผิดชอบเสียสละและโทษหากทำผิดเยอะกว่าคนอื่น แต่เพิ่มเงินเดือนให้เหมาะสมกับความเสียสละ หากหน้วยงานดีประชาชนก็ยอมเสียภาษีให้
ฝากอีกอย่างให้ประชาชนมีสิทธิจ่ายงดจ่าย หรือเลือกไม่เลือกจ่ายภาษีให้หน่วยงานใด จะได้รู้ว่าหน่วยงานไหน ประชาชนเกลียดที่สุด
ความดีที่หายไปจากแผ่นดิน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น