โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 ธันวาคม 2551 23:53 น.
คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน แถลงจี้ “มาร์ค” แก้ปัญหาเร่งด่วน ขจัดความยากจนกระจายรายได้ที่เป็นธรรม คลี่คลายการละเมิดสิทธิมนุษยชน เข้าเป็นภาคีศาลอาญาระหว่างประเทศ ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พร้อมลดความขัดแย้งทางการเมือง เอาผิดผู้ก่อความรุนแรง ลงโทษ จนท.ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ แก้ไข รธน.ส่วนที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่แก้ไขเพื่อประโยชน์คนบางกลุ่ม
วันที่ 21 ธันวาคม 2551 คณะกรรมการรณรงค์เพื่อสิทธิมนุษยชน (ครส.) ได้ออกแถลงการณ์ข้อเสนอปัญหาเร่งด่วนต่อรัฐบาลใหม่ ภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ดังนี้
ด้านปัญหาเศรษฐกิจ สังคมและความยากจน
1.รัฐบาลจะต้องเร่งแก้ปัญหาความยากจนโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมที่ช่องว่างคนรวยและคนจน คนในชนบทและคนในเมือง สูงติดอันดับโลก โดยใช้นโยบายส่งเสริมเศรษฐกิจชนบท การกระจายรายได้ที่เป็นธรรม ปฏิรูประบบภาษี โดยให้มีการเก็บภาษีทรัพย์สิน-ภาษีมรดกอัตราก้าวหน้า เพื่อสร้างสังคม-ประชาธิปไตย (Social-Democracy) และสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง
2.รัฐบาลต้องมีนโยบายรัฐสวัสดิการ ผลักดันให้เกิดการประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีประสิทธิภาพ ไม่เลือกปฏิบัติ การประกันการว่างงานและสนับสนุนการศึกษาเป็นบริการสาธารณะที่รัฐจัดหาให้ โดยเน้นการกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเป็นธรรม สนับสนุนการพัฒนาการศึกษาภาคพลเมือง (Civic Education)
3.รัฐบาลต้องมีนโยบายปฏิรูปที่ดิน จำกัดการถือครองที่ดิน และกระจายสู่เกษตรกรที่ไร้ปัจจัยในการผลิต รวมถึงส่งเสริมระบบสหกรณ์โรงสีที่ประชาชนร่วมเป็นเจ้าของ เพื่อป้องกันการค้ากำไรของพ่อค้าคนกลางแบบเก่าดังที่ผ่านมา
4.รัฐบาลจะต้องรับรองสิทธิมนุษยชนของแรงงานข้ามชาติและครอบครัว ให้สอดคล้องกับหลักสากลและปฏิญญาอาเซียนว่าด้วยสิทธิแรงงานข้ามชาติ ขจัดอุปสรรคในการที่แรงงานข้ามชาติจะเข้าถึงสิทธิต่างๆ และการปฏิบัติหน้าที่ การเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย เช่น การเสียภาษี การเข้าถึงกองทุนเงินทดแทนและกองทุนประกันสังคม เป็นต้น
5.รัฐบาลต้องปฏิรูปกระทรวงแรงงาน เพื่อทำให้กระทรวงแรงงานให้เป็นกระทรวงเพื่อผู้ใช้แรงงานอย่างแท้จริง เพราะรัฐบาลมีกระทรวงที่ดูแลผลประโยชน์ให้ฝ่ายกลุ่มทุนมากมายหลายกระทรวงและ ทำหน้าที่ให้กับฝ่ายทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ เป็นต้น แต่คนงานซึ่งมีมากถึง 36.5 ล้านคน กลับไม่มีกระทรวงที่ดูแลประโยชน์ให้พวกเขาอย่างจริงจัง ดังนั้น รัฐบาลจะต้องปฏิรูปกระทรวงแรงงานเพื่อสนับสนุนสิทธิของแรงงาน ส่งเสริมสิทธิในการรวมตัวและการเจรจาต่อรองของผู้ใช้แรงงานอย่างจริงจัง เพราะในสังคม-ประชาธิปไตย คนงานถือเป็นหุ้นส่วนกับผู้ประกอบการที่เรียกว่า Social Partnership หากแรงงานไม่สามารถรวมตัวกันได้คนงานก็จะมีสภาพเหมือนทาสในเรือนเบี้ยที่ถูก กำหนดโดยนายทาสเท่านั้น ซึ่งทำให้ผู้ใช้แรงงานถูกเอารัดเอาเปรียบท่ามกลางวิกฤติเศรษฐกิจในปัจจุบัน
ด้านปัญหาสิทธิมนุษยชนและกระบวนการยุติธรรม
1. รัฐบาลจะต้องคลี่คลายปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน และความไม่เป็นธรรมที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาซึ่งถูกเลือกปฏิบัติจากผู้มีอ ำนาจ เพื่อให้มีการดำเนินคดีตามกระบวนการยุติธรรมโดยยึดหลักนิติธรรม ไม่ว่าจะเป็นกรณีการฆ่าตัดตอนในสงครามปราบปรามยาเสพติด นโยบายอำนาจนิยมและการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยยึดหลักสิทธิมนุษยชนและความสมานฉันท์ รวมถึงการเร่งคลี่คลายคดีนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน (Human Rights Defenders) ที่ไม่มีความคืบหน้าใดๆ ในรัฐบาลที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นกรณีการอุ้มหายทนายสมชาย นีละไพจิตร การลอบสังหารนายเจริญ วัดอักษร พระสุพจน์ สุวโจ และความรุนแรงในพื้นที่เสี่ยงจากความขัดแย้งในสงครามการแย่งชิงทรัพยากรระหว ่างกลุ่มทุนผู้อิทธิพลกับชุมชน โดยรัฐบาลจะต้องมีนโยบายในการปกป้องคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในพื ้นที่เสี่ยงภัยอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงการจัดทำ บัญชีขาว (White List) เพื่อให้ความช่วยเหลือและปกป้องนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนที่ตกอยู่ในภาวะเ สี่ยงภัย เพื่อให้ไม่ซ้ำรอยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ในอดีตซึ่งมีการคุกคาม ข่มขู่และลอบสังหารอย่างแพร่หลาย
2.รัฐบาลจะต้องปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ เพื่อลดการละเมิดสิทธิมนุษยชนในกระบวนการยุติธรรม โดยเฉพาะการซ้อม-ทรมาน การฆ่านอกระบบกฎหมาย และการอุ้มหาย เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมสามารถมีบทบาทในการปกป้องและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ได้อย่างแท้จริง โดยเฉพาะต้องทบทวนการให้อำนาจสอบสวน-สืบสวนแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจโดยไม่มีการค านอำนาจอย่างเหมาะสม ซึ่งจำเป็นต้องมีการปฏิรูปตำรวจอย่างเร่งด่วน รวมถึงกฎหมายที่ล้าหลังและขัดหลักสิทธิมนุษยชนสากล
3.รัฐบาลจะต้องให้สัตยาบันเข้าเป็นภาคีอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ส ำคัญ โดยเฉพาะ ธรรมนูญศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ที่รัฐบาลของอดีตนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย ได้ไปลงนามไว้แล้ว และอนุสัญญาว่าด้วยการคุ้มครองบุคคลทุกคนจากการถูกบังคับให้บุคคลสูญหาย และดำเนินการแก้ไขกฎหมายให้สอดรับกับอนุสัญญาต่างๆ เพื่อสร้างบรรทัดฐานด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยให้ทัดเทียมสากล รวมถึงในด้านสิทธิแรงงาน รัฐบาลต้องให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาขององค์กรแรงงานระหว่างประเทศ ฉบับที่ 87 และ 98 โดยเร่งด่วน
.รัฐบาลจะต้องยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และแก้ไขกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน เช่น พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ปรับปรุง พ.ร.บ.กฎอัยการศึก และถอนร่างกฎหมายที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง เช่น ร่างกฎหมายเกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะ และร่างพระราชบัญญัติแก้ไข พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ด้านปัญหาประชาธิปไตย การปฏิรูปการเมืองและรัฐธรรมนูญ
1. รัฐบาลจะต้องคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในช่วงที่ผ่านมา โดยยึดหลักนิติธรรมและความสมานฉันท์อย่างเคร่งครัด จะต้องมีการดำเนินการสอบสวนลงโทษผู้กระทำผิดที่ก่อความรุนแรงอย่างไม่เลือกป ฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็นความรุนแรงที่มาจากเจ้าหน้าที่รัฐหรือบุคคลกลุ่มใดก็ตาม เพื่อสร้างหลักประกันให้สังคมต่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของพลเมืองในอนาคต โดยเฉพาะเหตุการณ์ความรุนแรงทีเกี่ยวข้องกับการชุมนุมมวลชนที่ผ่านมา ทั้งจะต้องลงโทษเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เลือกปฏิบัติ และยอมตนเป็นเครื่องมือทางการเมืองของนักการเมืองและผู้มีอิทธิพล ทั้งทางวินัยและอาญา
2.รัฐบาลจะต้องรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนตามหลักกติกาสากลว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองที่ประเทศไทยเป็นภาคีอยู่อย่างเคร่งครัดในห ้วงแห่งความขัดแย้งที่ยังไม่คลี่คลาย โดยการสนับสนุนสิทธิมนุษยชนของทุกฝ่ายภายใต้กติการะหว่างประเทศ ในการบริหารราชการแผ่นดิน การดำเนินนโยบายของรัฐบาล และการปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐส่วนต่างๆ จะต้องไม่เลือกปฏิบัติและรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน
3.รัฐบาลจะต้องผลักดันการปฏิรูปการเมืองและสังคมใหม่โดยให้ประชาชนมี ส่วนร่วม ในรูปของสภาปฏิรูปการเมืองหรือคณะกรรมาธิการปฏิรูปการเมือง เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปรัฐธรรมนูญในส่วนที่ไม่เป็นประชาธิปไตยในอนาคต จากการมีส่วนร่วมของสังคม โดยไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญเพื่อประโยชน์แก่กลุ่มผลประโยชน์กลุ่มใดกลุ่ม หนึ่งเป็นการเฉพาะ อันจะเป็นการลดความขัดแย้งลงในระยะยาว
http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000149938
ผมว่านายก อภิสิทธิ์ โชคดีมาก การที่มีประชาชนออกมาเรียกร้องเรื่องราวต่างๆนั้น เป็นเครื่องแสดงว่าประชาชนมองเห็นแล้วว่า นายกอภิสิทธิ์ เป็นนายกที่ดีหวังพึ่งพาได้ จึงออกมาเรียกร้องสิ่งต่างๆขึ้น หากประชาชนเห็นว่า นายก เป็นคนไม่ดีและเป็นเผด็จการ ก็ขี้คร้านจะออกมาเรียกร้องเพราะไม่เกิดประโยชน์อันใด
ผ มว่านายก อภิสิทธิ์ โชคดีที่ประชาชนมีความรู้สึกที่ดีต่อท่าน ยิ่งเรียกร้องมากเท่าไหร่ยิ่งเป็นเรื่องที่ดีสำหรับนายก เพื่อจะได้รับรู้ว่ามีปัญหาอะไรบ้างที่ประชาชนกำลังรู้สึกอยู่ จะได้เร่งรัดแก้ไขปัญหานั้นๆได้เร็วขึ้น
การเป็นนายกที่ดี ย่อมต้องทำงานหนัก ยิ่งในภาวะแบบนี้จะหนักกว่าปกติด้วย ไม่จำเป็นต้องไปสงสารเห็นใจ แต่ควรให้กำลังใจ ใครที่มาเป็นนายก ต้องเสียสละตนเองทำงานเพื่อประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ ปากท้องและความสุขของประชาชนคือความสุขของนายก นี่คือหน้าที่ของนายก ผู้ปกครองประเทศ ที่ต้องทำให้สมกับเกียรติที่ประชาชนมอบให้
ดำ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น