...+

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

รัฐบาลในระบอบทักษิณคือ ตัวปัญหา มิใช่ทางออก (บทความที่นักธุรกิจควรอ่าน)

โดย รศ.ดร.ชวินทร์ ลีนะบรรจง,รศ.ดร.สุวินัย ภรณวลัย 20 พฤศจิกายน 2551 16:19 น.
       1. ดูเหมือนว่าฝันร้ายแห่ง The Great Depression จะกลับมาเยือนชาวโลกอีกครั้งหนึ่งหลังจากหลีกหายไปนานเกือบ 80 ปีเต็ม
      
       หากมองในแง่มุมหนึ่งการล่มสลายของเศรษฐกิจฟองสบู่อเมริกาที่เป็นศูนย์รวมประสาทของระบบทุนนิยมโลก แทบไม่ต่างไปจากการชำระชดใช้ หลังจากการเกิดวิกฤตการเงินที่ปะทุขึ้นมาอย่างรุนแรงในสหรัฐอเมริกาเมื่อช่ว งเดือน ก.ค. 51 ที่ผ่านมา และกำลังลุกลามไปสู่ประเทศอุตสาหกรรมชั้นนำ ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่ม EU หรือประเทศพัฒนาแล้วในภูมิภาคเอเชียอย่าง ญี่ปุ่น สิ่งหนึ่งที่พอจะคาดคะเนได้ว่าจะเกิดขึ้นในไม่ช้าก็คือเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวอย่างชัดเจน
      
       กองทุนการเงินระหว่างประเทศได้ปรับการคาดการณ์ในการขยายตัวของเศรษฐก ิจโลกที่ได้ทำไว้เมื่อ 6 เดือนที่ผ่านมาว่าในปี 2552 การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจะลดลงอยู่ในระดับร้อยละ 3 จากที่เคยประมาณการไว้ที่ร้อยละ 3.8 เมื่อ 6 เดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งอยู่ในอัตราที่ใกล้เคียงกับภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่โลกเคยประสบมาเมื่อ ค.ศ. 1982 ที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวประมาณร้อยละ 3 ในขณะที่เศรษฐกิจของประเทศที่พัฒนาแล้วที่สำคัญจะมีอัตราการขยายตัวลดลงอย่า งรุนแรงด้วยกันแทบทั้งสิ้นไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกาจากร้อยละ 0.6 เป็นร้อยละ 0.1 ประเทศในกลุ่ม EU จากร้อยละ 1.2 เป็นร้อยละ 0.2 หรือ ญี่ปุ่นจากร้อยละ 1.5 เป็นร้อยละ 0.5 ตามลำดับ
      
       สาเหตุของการหดตัวใ นเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นในครั้งนี้อาจกล่าวได้ว่าเป็นผลโดยตรงมาจากวิกฤตการ เงินของสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อเร็วๆ นี้นี่เอง กล่าวคือเมื่อสถาบันการเงินประสบปัญหาจากการปล่อยกู้และผู้ที่กู้ยืมไปไม่ชำ ระเงินต้นและ/หรือดอกเบี้ยหรือที่รู้จักโดยทั่วไปว่าเป็นปัญหาหนี้เสียส ถาบันการเงินดังกล่าวจำเป็นที่จะต้องประเมินมูลค่าของการปล่อยกู้นั้นใหม่ซึ ่งโดยส่วนใหญ่จะมีมูลค่าลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับมูลหนี้เริ่มแรก ส่วนต่างหรือการขาดทุนที่เกิดขึ้นก็จำเป็นที่จะต้องชดเชยไม่ว่าจะโดยกำไรสะส ม และ/หรือจากทุนที่มีอยู่ และหากยังไม่พอเพียงแต่ยังมีทรัพย์สินอื่นๆ เหลืออยู่ก็สามารถที่จะนำเอามาขายเพื่อนำเอาเงินที่ขายได้มาชดเชยเพื่อรองรั บส่วนต่างที่เกิดขึ้นมา หากทำทั้งหมดตามที่ได้กล่าวมาแล้วสถาบันการเงินนั้นยังมีหนี้สินมากกว่าทรัพ ย์สิน เพราะนั่นก็คือการล้มละลายนั่นเอง
      
       วิกฤตการเงินในสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งเกิดขึ้นมาเมื่อเร็วๆ นี้นั้นมีผลทำให้สถาบันการเงินต้องหาเงินมาชดเชยส่วนต่างหรือผลการขาดทุนจาก การลงทุนประมาณ 1.45 ล้านล้านดอลลาห์สหรัฐ จากการประเมินของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เมื่อ ต.ค.51 ที่ผ่านมา โดยสถาบันการเงินที่เป็นธนาคารเป็นผู้รับภาระการขาดทุนดังกล่าวมากกว่าครึ่ง ส่วนอีกครึ่งหนึ่งก็กระจายตัวไปที่สถาบันการเงินที่มิใช่ธนาคาร เช่น บริษัทประกัน และกองทุนประเภทต่างๆ เป็นต้นผ ลเป็นที่ทราบก็คือสถาบันการเงินชั้นนำของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และแม้กระทั่งในญี่ปุ่นต่างก็ประสบปัญหาเช่นเดียวกันทั้งหมด หากไม่ประกาศล้มละลายก็จำเป็นที่จะต้องขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาลของแต่ละ ประเทศ
      
       สิ่งสำคัญที่ติดตามมาก็คือ การขายทรัพย์สินที่สถาบันการเงินยังพอมีอยู่เพื่อหลีกเลี่ยงการล้มละลาย ทำให้ราคาหลักทรัพย์ เช่น หุ้น ในตลาดหุ้นทั่วโลกลดต่ำลงอย่างรุนแรง เพราะต่างก็จำเป็นต้องขายโดยไม่มีทางเลือก ส่วนในสถาบันการเงินพวกที่ไม่มีทรัพย์สินเพียงพอกับการขาดทุนก็จำเป็นต้องขอ รับความช่วยเหลือจากธนาคารกลางเพื่อมิให้ผู้ฝากเงินต้องสูญเสียเงินฝากไปด้ว ย ซึ่งจะเป็นภาระกับผู้เสียภาษีต่อไปในอนาคต
      
       ค วามมั่งคั่งที่สูญเสียไปจากราคาทรัพย์สินที่มีมูลค่าลดลงทำให้ประชาชนทั่วไป มีความรู้สึกจนลงแม้ว่าจะไม่มีความเกี่ยวข้องกับการขาดทุนของสถาบันการเงินโ ดยตรงเช่น เป็นผู้ถือหุ้น และผลกระทบอีกประการหนึ่งก็คือสถาบันการเงินที่ยังหลงเหลืออยู่ก็จะมีความเข้มงวดในการปล่อยกู้มากขึ้น
      
       ทั้งความมั่งคั่งที่ลดลงและมาตรฐานการปล่อยกู้ที่เข้มงวดมากขึ้นจึงเป็นช่องทางที่ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมชะลอตัวลง เพราะการบริโภคจับจ่ายใช้สอยจะขึ้นอยู่กับความมั่งคั่งของคนมากกว่ารายได้ที่ได้รับไ ม่เชื่อลองเปรียบเทียบระหว่างลูกเศรษฐีกับลูกคนธรรมดาที่ทำงานพร้อมกันในตำแ หน่งเดียวกัน แต่จะมีการใช้จ่ายการบริโภคที่ต่างกันแม้ว่าจะได้เงินเดือนอัตราเดียวกันก็ต าม ในทำนองเดียวกันมาตรฐานที่เข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยกู้ของสถาบันการเง ินจะทำให้ธุรกิจมีความเข้มงวดในเงื่อนไขการค้าขาย จากที่เคยให้เครดิตก็จะกลายมาเป็นการค้าด้วยเงินสดเพื่อลดความเสี่ยง หรือที่จะเพิ่มการลงทุนก็กลายมาเป็นลดการลงทุนเพราะไม่แน่ใจว่าจะได้รับสินเ ชื่อจากสถาบันการเงินหรือไม่
      
       2. ประเทศไทยแม้ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงมากนักจากวิกฤตการเงินของสหรัฐอเมร ิกาในครั้งนี้ แต่ก็จะได้รับผลกระทบทางอ้อมผ่านมาทางสินค้าที่สามารถส่งออกได้น้อยลงเพราะค ู่ค้าจนลง ในขณะเดียวกันที่การบริโภคภายในประเทศก็ลดลงเพราะความมั่งคั่งจากทรัพย์สินท ี่ตนเองถือครองอยู่มีมูลค่าลดลง การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยจึงลดลงตามไปด้วยอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก
      
       วิกฤตเศรษฐกิจในครั้งนี้จึงถือได้ว่ารุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่งหลัง The Great Depression ที่เกิดขึ้นใน ค.ศ. 1930เ พราะมีขนาดความสูญเสียคิดเป็นตัวเงินมากกว่ากรณีของประเทศไทยเมื่อ ค.ศ.1997 ถึงกว่า 3 เท่าจากการประเมินโดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่ผู้เขียนคิดว่ายังต่ำเกิ นไป และมากกว่าวิกฤตการเงินที่เกิดกับญี่ปุ่นระหว่าง ค.ศ.1990-99 ถึงกว่า 2 เท่า การรับมือกับปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นของประเทศไทยจึงมีทั้งด้าน ที่ได้เปรียบที่เราไม่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงมากนัก แต่ก็เสียเปรียบเป็นอย่างมากเพราะเรามีรัฐบาลที่เป็นตัวปัญหาแทนที่จะเป็นผู ้เข้ามาแก้ไขปัญหากล่าวคือนอกเหนือจากความสามารถที่จำเป็นต้องมีอยู่แล้ ว วิสัยทัศน์และความจริงใจในการแก้ไขปัญหาก็เป็นสิ่งสำคัญมากอย่างยิ่งในการรั บมือปัญหาจากวิกฤตเศรษฐกิจที่จะมาถึง
      
       หลังจาก The Great Depressionในทศวรรษ1930ได้ติดตามมาด้วยสงครามโลกครั้งที่สองและความย่อยยับใ นเศรษฐกิจของประเทศในทวีปยุโรป รวมถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทยใน พ.ศ. 2475ป ระธานาธิบดี แฟรงค์กลิน ดี รูสเวลท์ ที่ดำรงตำแหน่งระหว่าง ค.ศ.1933 – 1945 ได้แสดงวิสัยทัศน์พร้อมด้วยคำมั่นที่จะนำพาไม่เพียงแต่ประเทศอเมริกาแต่จักน ำพาโลกออกจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำและสงครามโลกครั้งที่สองแม้ว่าในวันแรกที ่สาบานตนเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 4 มีนาคม ค.ศ. 1933 ธนาคารใน 32 มลรัฐจะต้องปิดตัวลงเพราะไม่มีเงินให้ผู้ฝากเงินถอน หรือการที่ต้องตัดสินใจและชักชวนพันธมิตรที่ร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่สองว่ าจะต้องเอาชนะนาซีเยอรมนีเสียก่อนจึงจะหันมาจัดการกับญี่ปุ่นทั้งๆ ที่สหรัฐอเมริกาเป็นฝ่ายถูกญี่ปุ่นลอบโจมตีก่อนที่อ่าวเพิร์ลแต่ด้วยวิสั ยทัศน์และความจริงใจในการแก้ไขปัญหาของส่วนรวมที่อยู่เหนือการหาเสียงทางการ เมือง ทำให้สหรัฐอเมริการอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจและสงครามโลกในครั้งนั้นไปได้
      
       เช่นเดียวกับในยุคของประธานาธิบดี โดแนลด์ เรแกนที่เป็นเพียงแค่ดาราหนังเกรดบี แต่เป็นประธานาธิบดีเกรดเอ ที่สามารถนำสหรัฐอเมริการอดพ้นจากเงื้อมมือของการบุกจากทุนญี่ปุ่นยุคใหม่ห ลังสงครามโลกครั้งที่สองที่รุกเข้ามาจนสหรัฐอเมริกาเกือบที่จะพ่ายแพ้ในช่วง ทศวรรษ1980 และสร้างเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาขึ้นมาใหม่ที่มีขนาดของรัฐบาลที่เล็กลงจากการล ดภาษี ลดการแทรกแซงและเพิ่มเสรีภาพในทางเศรษฐกิจมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและเป็นรูป ธรรม
      
       ในปัจจุบันบารัค โอบามาว่าที่ ประธานาธิบดีคนใหม่ที่จะเข้ารับตำแหน่งในเดือนมกราคมปีหน้าที่มาด้วยการนำเส นอวิสัยทัศน์กับประชาชนของเขาว่า “การเปลี่ยนแปลง : เราต้องการมัน” ทำให้ประชาชนในสหรัฐอเมริกาไม่ว่าจะเป็น คนดำ คนขาว คนเม็กซิกัน คนจีน คนนับถือศาสนาคาทอลิก หรือแม้แต่คนที่ไม่เคยคิดจะไปเข้าคูหาเลือกตั้ง ตื่นตัวกับการเมืองใหม่และต่างมาเป็นผู้สนับสนุนโดยไม่สนใจว่าผู้ที่เขาเลือ กจะผิวสีอะไร แต่เชื่อมั่นว่าด้วยบารัค โอบามา เขาจะนำการเปลี่ยนแปลงมาให้และเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องการ และยินดีสนับสนุนทั้งเงินจำนวนเล็กน้อยจากคนหมู่มาก และด้วยคะแนนเสียงอย่างไม่เคยมีมาก่อนจนกลายเป็นประธานาธิบดีที่มาพร้อมกับการเมืองใหม่ ซึ่งช่างประจวบเหมาะ กับปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดจากสาเหตุแบบเก่าๆ เสียนี่กะไร!
      
       3. ประเทศไทยเมื่อการเลือกตั้ง พ.ศ. 2544 ก็เคยมีนายกรัฐมนตรีชื่อทักษิณ ชินวัตร ที่มาพร้อมกับคำมั่นที่สวยหรูว่า “คิดใหม่ ทำใหม่” ถึงแม้จะไม่ชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแต่ทักษิณ ชินวัตร ก็เคยมีผู้สนับสนุนจำนวนมากจนกระทั่งตาชั่งยุติธรรมยังเอนเอียงอย่างเห็นได้ ชัด แต่แล้ว ทักษิณ ชินวัตร กลับทรยศกับความคาดหวังของคนทั้งประเทศโดยไม่รักษาคำมั่นที่ให้ไว้กับประชาช นครั้งแล้วครั้งเล่า “คิดใหม่ ทำใหม่” จึงกลายเป็น “คิดเก่า ทำซ้ำ” ในสิ่งที่นักการเมืองเลวๆ คนอื่นๆ ทำกันไม่เห็นมีความแตกต่างกันในความดีเหมือนที่เขาโฆษณาชวนเชื่อแต่อย่างไร ในทางตรงกันข้ามกลับมีความแตกต่างในความเลวอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับนักการเมืองที่เลวด้วยกัน คือเลวและเนรคุณอย่างแทบจะหาใครเปรียบเทียบไม่ได้อีกแล้วในแผ่นดินนี้
      
       รัฐบาลในระบอบทักษิณไ ม่ว่าจะเป็นชุดของสมัคร สุนทรเวช ที่ต้องพ้นตำแหน่งไปอย่างน่าละอายด้วยเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อน หรือรัฐบาลของสมชาย วงศ์สวัสดิ์ที่แม้จะยังไม่พ้นออกจากตำแหน่งไปแต่ก็เป็นที่คาดการณ์ได้ว่าในไ ม่ช้าก็จะต้องออกจากตำแหน่งไปในไม่ช้าด้วยความบอบช้ำและน่าละอายมากกว่าสมัค ร สุนทรเวช เสียอีกจะสามารถเข้ามาแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่รู้กันอยู่แล้วและกำลังคืบ คลานใกล้เข้ามาได้อย่างไรหากไม่มีซึ่งวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นที่จะทำอะไร เพื่อบ้านเมืองที่เป็นเรื่องส่วนรวม เพราะที่รัฐบาลสมชายกระทำอยู่ทุกวันนี้ก็มุ่งที่จะแก้ไขปัญหาของ ทักษิณ ชินวัตรเพียงคนเดียวเท่านั้น
      
       ผู้เขียนจะไม่ขอกล่าวถึงเรื่องความสามารถของรัฐมนตรีผู้ร่วมรัฐบาลว่ ามีมากน้อยเพียงใดเพราะจะเป็นการปรามาสกันมากเกินไป แต่ที่สำคัญเหนือสิ่งอื่นใดก็คือวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นที่จะทำอะไรเพื่อ บ้านเมืองที่เป็นเรื่องส่วนรวม เพราะการกระทำที่ผ่านมาล้วนแต่บ่งชี้ว่ารัฐบาลสมชายมิได้ปฏิบัติหน้าที่ตามท ี่ตนมีอยู่อย่างเห็นได้ชัด และยิ่งไปกว่านั้นก็คือมีการกระทำที่ส่อไปในทางที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับบุค คลเพียงคนเดียวก็คือ ทักษิณ ชินวัตร มิใช่เพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย
      
       ค วามพยายามที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ที่มีมาโดยตลอดตั้งแต่รัฐบาลสมัคร สุนทรเวชจนถึงรัฐบาลของสมชาย วงศ์สวัสดิ์เป็นตัวอย่างที่ดีที่ชี้ให้เห็นถึงวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นที่ จะทำอะไรเพื่อบ้านเมืองที่เป็นเรื่องส่วนรวมมีมากน้อยเพียงใด
      
       ถามตรงๆ ก็ได้ว่าหากสามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 ได้ บ้านเมืองจะดีขึ้นมากน้อยเพียงใด?
      
       การแก้ไขรัฐธรรมนูญอาจได้ทักษิณ ชินวัตร กลับคืนมาพร้อมกับพวก 111 คนที่ถูกตัดสิทธิทางการเมือง แต่จากผลงานที่ผ่านมากว่า 6 ปีเป็นที่ประจักษ์ชัดว่าประเทศไทยมิได้มีสภาพที่ดีขึ้นมากกว่าก่อนที่ทักษิณ ชินวัตรจะเข้ามาปกครองประเทศแต่อย่างใด และท ี่สำคัญที่สุดก็คือนับตั้งแต่ 19 ก.ย. 49 เป็นต้นมา ทักษิณ ชินวัตรไม่เคยหยุดเล่นการเมืองและการบ่อนทำลายประเทศนี้มาโดยตลอดในทุกวิถีท าง ซึ่งเป็นการเมืองเพื่อประโยชน์ของตนเองเท่านั้น เพราะแม้กระทั่งยอมหย่ากับภรรยาที่อยู่กินกันมากว่า 30 ปีก็สามารถทำได้เพื่อสนองกิเลสตัณหาของตนเท่านั้น
      
       เหตุผลหรือ? ก็เพราะทักษิณ ชินวัตรและระบอบของเขามิได้มีวิสัยทัศน์และความมุ่งมั่นที่จะทำอะไรเพื่อบ้า นเมืองที่เป็นเรื่องส่วนรวมแต่ประการใด ส่วนรวมแทบจะไม่ได้อะไรเลยหากทักษิณ ชินวัตรและพรรคพวกไม่ได้ประโยชน์ด้วยและได้ในสัดส่วนที่มากกว่า หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งให้ชัดเจนก็คือ ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องจะต้องมาก่อนประโยชน์ส่วนรวม นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นและที่จะเป็นหากระบอบทักษิณไม่ถูกขจัดออกไป
      
       วิกฤตเศรษฐกิจที่รออยู่ข้างหน้าจึงไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้ เพราะรัฐบาลในระบอบทักษิณ คือตัวปัญหา มิใช่ทางออก
      
       ในสถานการณ์เช่นนี้ ประชาชนไทยทุกคนจะท้อแท้หรือหมดกำลังใจไม่ได้ แต่จะต้องยืนหยัดคัดค้านการคืนชีพของระบอบทักษิณและการกลับมาทำ “สงครามครั้งสุดท้าย” ของทักษิณ ชินวัตรอย่างถึงที่สุดถึงจะมีความเป็นไปได้ที่จะแก้ไขปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจที่ จะมาถึงนี้อย่างจริงจังและอย่างมีวิสัยทัศน์ได้
      
       หมายเหตุ : เป็นความเห็นของผู้เขียน ไม่ผูกพันกับหน่วยงานที่สังกัด

from http://www2.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9510000137654 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น