...+

วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความคิดของนักวิชาการภายใต้การมองเพียงมิติเดียว


 ผู้เขียน: Peter  
เ มื่อฟังแนวความคิดของนักการเมือง ที่ดูจะไม่เข้าใจต่อปฏิบัติการของ พธม นั้น จะมองเห็นได้ในประเด็นหนึ่งว่า นักวิชาการเหล่านี้ ยึดติดอยู่แต่เพียงเนื้อหาในตำรา ว่า แนวทางของประชาธิปไตยเป็นเรื่องของการต่อสู้กันทางกรอบความคิด และเป็นการมองอยู่ในเพียงมิติเดียว  แต่หาได้มองไปถึงความเป็นจริงว่า หลักของประชาธิปไตยตามตำรานั้นใช้ได้กับเฉพาะกลุ่มบุคคลที่มีจิตวิญญานของนั กประชาธิปไตยเฉกเช่นกัน  แต่ไม่มองถึงพฤติกรรมที่แท้จริงของนักการเมืองในปัจจุบันที่สร้างปัญหาให้กั บแผ่นดิน  เพราะนักการเมืองเหล่านี้หาได้มีจิตวิญญานของนักประชาธิปไตยไม่  แต่เป็นบุคคลที่มองว่าการเลือกตั้งเป็นเพียงวิถีทางของได้มาซึ่งอำนาจ และอาศัยอำนาจนั้นเป็นหนทางของการได้มาซึ่งผลประโยชน์ที่จะกอบโกยจากเงินภาษ ีของประชาชน ไม่ว่าจะจากเงินภาษีที่มีอยู่ ณ ปัจจุบัน ( เงินงบประมาณ ) หรือเงินภาษีที่จะต้องมีในอนาคต ( เงินกู้ภาครัฐ )  จนคนกลุ่มนี้กระทำทุกอย่างเพื่อรักษาอำนาจของพวกตนไว้ โดยไม่คำนึงถึงว่าพฤติกรรมเช่นนั้นถูกต้องตามครรลองของประชาธิผปไตยหรือไม่ ( คือ ขาดไร้ซึ่งจริยธรรม คุณธรรม )  หรือแม้กระทั่งเรื่องเหล่านั้นเป็นเรื่องที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่  ด้วยเหตุนี้วิภีทางในการต่อสู้จึงหาใช่วิธีการที่จะต่อสู้กันด้วยตรรกะทางปร ะชาธิปไตยได้ไม่  แต่ต้องต่อสู้เพื่อให้คนพวกนี้หลุดพ้นจากอำนาจรัฐก่อน เพื่อให้คนใหม่เข้ามาแก้ไข  และสิ่งนี้คือที่มาของการที่ต้องพัฒนารัฐธรรมนูญกันมาโดยตลอดเพื่อต้องต่อสู ้กับคนพวกนี้ และเพื่อสร้างความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องของประชาธิปไตยให้ประชาชนได้ทราบ  โดยทฤษฎีนั้น หากทุกคนที่เข้ามาในแวดวงการเมืองล้วนมีจิตสำนึกของประชาธิปไตยที่แท้จริง และมีจิตอันเป็นสาธารณะเห็นแก่ประโยชน์ของแผ่นดินและส่วนรวมเป็นหลักใหญ่  รัฐธรรมนูญก็เป็นเรื่องรอง หรือไม่ต้องมีเลยก็ได้  แต่ด้วยเหตุที่คนที่เข้ามาในระบบการเมืองหาได้มีจิตสำนึกเช่นนั้นไม่ จึงต้องมีการสร้างรัฐธรรมนูญที่สมบูรณ์แบบ เพื่อป้องกันคนพวกนี้ไม่ให้มาฉกฉวยประโยชน์ และต้องมาต่อสู้กันเช่นนี้ ประเทศไทยจะมีประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบได้ต้องกำจัดคนที่มีความคิดเห็นไม่ถู กต้องออกไป และอย่าให้คนเหล่านี้มามอมเมาความคิดของประชาชนในเรื่องของประชาธิปไตยในทาง ที่ผิดๆ อีกต่อไป
วันที่ :  24 พฤศจิกายน 51 21:42

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น