...+

วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ร่วมฝันกับการเมืองใหม่ ในความหมาย ‘ประชาภิวัฒน์’

ร่วมฝันกับการเมืองใหม่
ผมขอเสนอการเมืองใหม่ในความหมาย ‘ประชาภิวัฒน์’ ให้กับทุกท่านได้ร่วมกันคิดต่อและนำส่วนที่ดีไปใช้ดังนี้ครับ

1.ด้านโครงสร้างทางการเมือง ควรแบ่งอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยออกเป็น 5 ฝ่าย คือ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจทหารและอำนาจตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยให้อำนาจทั้งห้าอำนาจนี้ถ่วงดุลซึ่งกันและกัน และเป็นอิสระทางการปกครองต่อกันอย่างแท้จริง การงบประมาณให้แบ่งสรรโดยกฎหมายเป็นร้อยละอย่างเหมาะสม หากมีกรณีฉุกเฉินเกี่ยวกับความอยู่รอดของชาติโดยรวม เช่น เกิดภาวะสงครามให้ประมุขของทั้งห้าฝ่ายประชุมปรึกษาหารืออนุมัติเพิ่มงบประม าณให้ตามที่จำเป็น กรณีการประกาศสงครามให้เป็นไปโดยมติของเสียงส่วนใหญ่ของที่ประชุมของประมุขท ั้งห้าฝ่าย ทั้งห้าอำนาจถือเป็นที่พึ่งและใช้อำนาจอธิปไตยเพื่อปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง ดังนี้
1.1 รัฐบาลเป็นสถาบันทางการเมืองที่แสดงถึงอำนาจฝ่ายบริหารประกอบด้วยนายกรัฐมนต รีและคณะรัฐมนตรี ใช้อำนาจฝ่ายบริหารผ่านกลไกราชการฝ่ายพลเรือนและตำรวจ-อัยการบางส่วน มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร นายกรัฐมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยเสียงส่วนใหญ่เกินกึ่งหนึ่งของสภาบริหาร สมาชิกสภาบริหารจำนวน 100 คน มาจากการเลือกตั้งของประชาชนแบบบัญชีรายชื่อจากพรรคการเมืองต่างๆ (แบบเดียวกันกับระบบปาร์ตี้ลิสต์ของรัฐธรรมนูญปี 40) โดยให้ถือประเทศเป็นเขตการเลือกตั้ง พรรคการเมืองต่างๆเสนอรายชื่อผู้สมัครสมาชิกสภาบริหารจำนวน 100 คน สภาบริหารเป็นสภาที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี ทำหน้าที่ร่างกฎหมาย กำหนดนโยบายพัฒนาประเทศเสนอต่อคณะรัฐมนตรี ช่วยควบคุมดูแลกำกับหน่วยงานราชการต่างๆที่อยู่ภายใต้ฝ่ายบริหารให้ทำงานตาม นโยบายของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยทำงานในรูปของคณะกรรมการที่เป็นสมาชิกสภาบริหารจากพรรคการเมืองต่างๆผสมก ัน ทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบการบริหารงานของรัฐบาล โดยให้มีผู้นำฝ่ายค้านในสภาบริหารด้วย รัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของนายกรัฐมนตรีร้อยละ 50 และโดยการเสนอชื่อของสภาบริหารอีกร้อยละ 50 อายุของสภาบริหารมีอายุสมัยละ 4 ปี ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นได้ไม่เกิน 2 สมัยติดต่อกัน การจัดสรรงบประมาณจากภาษีอากรของประชาชนในการพัฒนาประเทศรัฐบาลต้องจัดสรรให ้ทั่วกันโดยพิจารณาจำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่ประกอบด้วย เมื่อมีการกล่าวหาและซักฟอกรัฐบาลหรืออภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสภาบริหารห รือสภานิติบัญญัติแห่งชาติในข้อหาการทุจริต คอรับชั่น ร่ำรวยผิดปรกติหรือละเมิดกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ให้ผู้ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป .ป.ช.)เข้าร่วมฟังการอภิปรายด้วยและให้ผู้นำฝ่ายค้านหรือผู้อภิปรายมอบเอกสา รหลักฐานให้กับ ป.ป.ช. เพื่อสืบสวน สอบสวนตามกระบวนการต่อไป หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชี้มูลความผิดต่อผู้ใดให้ผู้นั้นหยุดปฏิบัติหน้าที่โดยทันที และให้ ปปช.ส่งเรื่องให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติและสภาประชาชน ดำเนินการถอดถอนออกจากตำแหน่งต่อไป พร้อมทั้งส่งเรื่องให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองดำเนิ นคดีด้วย ผู้ที่ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่งหรือถูกตัดสินให้จำคุกเนื่องจากข้อหาทุจริต คอรับชั่น ร่ำรวยผิดปรกติ ละเมิดกฎหมาย ประพฤติมิชอบ ให้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองตลอดชีวิต คณะรัฐมนตรีต้องแถลงนโยบายต่อสภาบริหารและสภานิติบัญญัติแห่งชาติก่อนเข้าทำ งาน และต้องแถลงผลงานให้ที่ประชุมของสภาทั้งสองทราบปีละหนึ่งครั้ง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาบริหาร ผู้ใดถูกกล่าวหาว่าขาดจริยธรรมขั้นร้ายแรงและคณะกรรมการกำกับจริยธรรมของผู้ ดำรงตำแหน่งระดับสูงและท้องถิ่นชี้มูลความผิดแล้ว ให้ผู้ถูกกล่าวหาหยุดปฏิบัติหน้าที่ และให้ส่งเรื่องเข้ากระบวนการถอดถอน ผู้ที่ถูกถอดถอนเนื่องจากขาดจริยธรรมให้ถูกตัดสิทธิทางการเมืองมีกำหนดเวลา 10 ปี
1.2 สภานิติบัญญัติแห่งชาติ มีประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้นำฝ่ายนิติบัญญัติ ประกอบด้วยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจำนวน 400 คน มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนจำนวน 200 คน จากเขตเลือกตั้งเขตละ 1 คน ตามจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งไม่จำเป็นต้องอยู่ในจังหวัดเดียวกันแต่ต้องมีพื้นที่ติดต่อกันแ ละต้องคำนึงถึงการคมนาคมด้วย หน่วยเล็กที่สุดคืออำเภอ จะแบ่งแยกอำเภอออกเป็นสองเขตเลือกตั้งไม่ได้ ผู้ได้รับการเลือกตั้งต้องได้รับคะแนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิเล ือกตั้ง หากได้รับคะแนนเสียงไม่ถึงกึ่งหนึ่งให้เลือกใหม่ระหว่างผู้ได้รับการเลือกตั ้งครั้งแรกลำดับที่ 1 และ 2 การดำเนินการเลือกตั้งครั้งที่สองนี้หากผู้ได้รับการเลือกตั้งลำดับที่ 1 ยังได้คะแนนเสียงไม่เกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนั้น ให้ประกาศรับสมัครรับเลือกตั้งใหม่และดำเนินการเลือกตั้งตามประกาศครั้งที่ห นึ่ง เมื่อดำเนินการเลือกตั้งครั้งที่สองตามประกาศใหม่นี้แล้วยังไม่มีผู้ใดได้คะ แนนเสียงเกินกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งครั้งนั้น ให้ประกาศผู้ได้รับเลือกตั้งลำดับที่ 1 ของการประกาศเลือกตั้งทั้งสองครั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่ดำรง ตำแหน่งคนละ 2 ปี สำหรับใครจะเป็นในสองปีแรกหรือสองปีหลังให้ตกลงกันหรือใช้วิธีจับสลาก สำหรับผู้ได้รับเลือกตั้งลำดับที่ 1 ของการประกาศเลือกตั้งทั้งสองครั้งเป็นบุคคลเดียวกันแต่ได้คะแนนเสียงไม่เกิ นกึ่งหนึ่งของผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้งแต่ละครั้ง ให้ผู้นั้นได้รับเลือกเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติแต่มีวาระการดำรงตำแ หน่งแค่สองปีแรกเท่านั้นเมื่อหมดวาระให้เลือกตั้งแทนโดยให้มีวาระเพียง 2 ปีที่เหลือเท่านั้น สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ อีก 200 คน มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกสภาองค์กรวิชาชีพต่างๆ ซึ่งจดทะเบียนกับคณะกรรมการการเลือกตั้งและมีได้ไม่เกินหนึ่งร้อยองค์กร องค์กรวิชาชีพใดมีสมาชิกน้อยให้รวมกับองค์กรวิชาชีพอื่นที่มีลักษณะใกล้เคีย งกัน ให้มีสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจากสภาวิชาชีพที่จดทะเบียนนี้แห่งละ 2 คน เป็นชายหนึ่งคนหญิงหนึ่งคน ให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งลงทะเบียนอาชีพกับสภาวิชาชีพคนละ 1 สภาวิชาชีพ สมาชิกนิติบัญญัติแห่งชาติทั้งสองประเภทมีศักดิ์และสิทธิเท่าเทียมกัน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติต้องไม่สังกัดพรรคการเมืองและห้ามเกี่ยวข้องหร ือเกี่ยวพันกับพรรคการเมือง เมื่อมีหลักฐานหรือพฤติกรรมที่เกี่ยวพันกันโดยศาลเลือกตั้งได้ตัดสินแล้วว่า กระทำผิดจริง ให้ถอดถอนสมาชิกสภานิติบัญญัติผู้นั้นและหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นรวมทั้งตัดสิทธิทางการเมืองอีก 10 ปี สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีหน้าที่พิจารณาออกกฎหมายที่เสนอโดยรัฐบาล พิจารณาออกกฎหมายที่ไม่เกี่ยวกับการเงินแต่เสนอโดยสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่ง ชาติจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของสมาชิกเท่าที่มีอยู่หรือเสนอโดยประชาชนผู ้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน หรือเสนอโดยฝ่ายตุลาการ ฝ่ายทหาร หรือฝ่ายตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ พิจารณาแก้ไขหรือยกเลิกกฎหมายเดิมให้เข้ากับยุคสมัยและเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ ดำเนินการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงฝ่ายต่างๆหรือสมาชิกสภานิติบัญญัติแห ่งชาติด้วยกันตามกระบวนการถอดถอน พ.ร.บ.งบประมาณของฝ่ายต่างๆให้เสนอแยกตามฝ่ายต่างๆห้าฝ่ายในกรอบร้อยละที่กำ หนดในกฎหมายหรือตามมติของที่ประชุมผู้นำห้าฝ่ายในกรณีฉุกเฉิน คณะกรรมาธิการคณะต่างๆของสภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอำนาจศึกษาข้อเท็จจริง ตรวจสอบ สืบสวน สอบสวน ฟ้องร้อง หรือยื่นเรื่องให้องค์กรอิสระต่างๆดำเนินการตามกฎหมายต่อไปได้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติมีอายุสมัยละ 4 ปี สมาชิกสภาฯเป็นได้ไม่เกิน 2 สมัยติดกัน
1.3 ฝ่ายตุลาการ มีประธานศาลใดศาลหนึ่งที่ได้รับเลือกจากประธานศาลต่างๆให้เป็นผู้นำฝ่ายตุลา การ ประกอบด้วยศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลแรงงาน ศาลเลือกตั้ง และศาลอื่นที่มีความจำเป็นในอนาคต มีหน้าที่ตัดสินอรรถคดีต่างๆที่อยู่ในอำนาจในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
1.4 ฝ่ายทหาร มีประธานสภากลาโหมเป็นผู้นำฝ่ายทหาร ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ มีหน้าที่ปกป้องราชบัลลังก์ สถาบันชาติจากศัตรูภายนอก รัฐธรรมนูญ ระบอบการปกครองประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนหมู่มากเมื่อเผชิญกับภัยอันตรายกับกอง กำลังติดอาวุธ ช่วยเหลือการระงับเหตุรุนแรงกับตำรวจท้องถิ่น ความมั่นคงภายในประเทศ การป้องกันชายแดน การป้องกันและปราบปรามการกระทำผิดกฎหมายบริเวณชายแดน การข่าวกรองและการตอบโต้ทางการข่าวกรอง
1.5 ฝ่ายตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ มีประธานคณะกรรมการองค์กรอิสระองค์กรหนึ่งที่ได้รับเลือกจากที่ประชุมของประ ธานคณะกรรมการองค์กรอิสระต่างๆเป็นตัวแทนฝ่ายตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ประกอบด้วยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบแห่งชาติ 1,2,3 (แยกเป็นคณะกรรมการ ป.ป.ช. 1 แผนกการกระทำผิดของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง , คณะกรรมการ ป.ป.ช. 2 แผนกการกระทำผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ.การเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ และคณะกรรมการ ป.ป.ช. 3 แผนกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น) คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(ตรวจสอบการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดินของทุกหน่ว ยงานทุกฝ่ายอำนาจอธิปไตยนอกจากงบลับทางความมั่นคงของฝ่ายทหารและตำรวจแห่งชา ติ และมีอำนาจฟ้องร้องหรือส่งเรื่องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการได้) คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คณะกรรมการกำกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงและท้องถิ่น สภาประชาชนเพื่อการแต่งตั้ง-ถอดถอน-ตรวจสอบอำนาจรัฐและการมีส่วนร่วมโดยภาคป ระชาชน สำนักงานอัยการแห่งชาติ(แยกเป็นสามแผนกคือ แผนก 1-รัฐเป็นผู้เสียหายประชาชนหรือเอกชนเป็นจำเลย แผนก 2-ประชาชนหรือรัฐเป็นผู้เสียหายแต่รัฐหรือผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงเป็นจำเลย แผนก 3-คดีพิเศษต่างๆเช่นคดีเลือกตั้ง เป็นต้น) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (เฉพาะสำนักตำรวจกองปราบปราม สำนักตำรวจสืบสวน-สอบสวนกลาง สำนักตำรวจสันติบาล สำนักตำรวจอารักขาบุคคลสำคัญ สำนักตำรวจปราบจราจล สำนักตำรวจป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายภายในประเทศ สำนักตำรวจสืบสวนคดีพิเศษ สำนักตำรวจภูธรจังหวัด) ส่วนงานบริการอื่นๆของตำรวจให้โอนเข้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและท้องถิ่น คณะกรรมการวัฒนธรรมและกำหนดค่านิยมของสังคมแห่งชาติ คณะกรรมการตรวจสอบการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลและการดำเนินการตามแนวนโยบ ายพื้นฐานแห่งรัฐตามรํฐธรรมนูญ และอื่นๆเมื่อมีความจำเป็น



2. วาระแห่งชาติ ในช่วงเริ่มต้นภายในระยะเวลา 3 ปี ต้องดำเนินการปฏิรูป จริยธรรม กระบวนการคัดสรรบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งระดับสูง กระบวนการยุติธรรมขั้นต้น สื่อสารมวลชน การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การมีส่วนร่วมของประชาชนทุกระดับ การให้ความรู้และปลูกฝังประชาธิปไตยให้กับประชาชน ดังนี้
2.1 ก่อตั้งคณะกรรมการกำกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงและท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์กรอิสระในการกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูง และมาตรฐานจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพร้อมบทลงโท ษ เร่งรัดตรวจสอบกำกับดูแลการบังคับใช้มาตรฐานจริยธรรมหรือจรรยาบรรณของสภาวิช าชีพต่างๆ ทำการสืบสวน สอบสวนชี้มูลความผิดทางจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงและท้องถิ่นเมื่อม ีผู้ร้องเรียนและดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลให้ตัดสินคดี ผู้ที่ถูกคณะกรรมการฯชี้มูลความผิดให้หยุดการปฏิบัติหน้าที่ตั้งแต่วันที่ถู กชี้มูล เมื่อศาลตัดสินให้มีความผิดตามคำร้องให้ตัดสิทธิของบุคคลนั้นไม่ให้กลับเข้า มาดำรงตำแหน่งระดับสูงใดๆอีกเป็นเวลา 10 ปี
2.2 ก่อตั้งสภาวิชาชีพจำนวน 100 องค์กร ให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกอาชีพของตนเองที่ประกอบการอยู่คนละหนึ่ง อาชีพ ให้แต่ละสภาวิชาชีพออกระเบียบข้อบังคับพร้อมบทลงโทษเกี่ยวกับจรรยาบรรณหรือจ ริยธรรมวิชาชีพเฉพาะของตนเพื่อใช้บังคับสมาชิก ทั้งนี้อย่างน้อยต้องเป็นไปตามกรอบของมาตรฐานจริยธรรมที่ออกโดยคณะกรรมการกำ กับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงและท้องถิ่น สภาวิชาชีพต่างๆเหล่านี้จะต้องจัดให้มีการเผยแพร่ข่าวสารอย่างรอบด้านให้กับ สมาชิกของตนได้รับทราบตลอดทั้งปี และเปิดโอกาสให้สมาชิกได้เสนอความคิดเห็นของตนเองอย่างอิสระด้วย จัดให้มีการลงคะแนนเสียงเลือกสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติจำนวน 2 คน(หญิงหนึ่งคนชายหนึ่งคน) รับรองผลการเลือกตั้งแล้วส่งรายชื่อให้คณะกรรมการการเลือกตั้งรับรองต่อไป ในคราวเดียวกันนี้จัดให้มีการลงคะแนนเลือกสมาชิกสภาประชาชนจากสมาชิกที่สมัค ร และผ่านการตรวจคุณสมบัติที่กำหนดเบื้องต้น จำนวนไม่น้อยกว่า 20 คนและไม่เกิน 100 คน ขึ้นทะเบียนไว้ แจ้งผลให้ผู้ได้รับเลือกเป็นการเฉพาะและส่งรายชื่อให้สภาประชาชนทราบและเก็บ เป็นความลับ สภาประชาชนทำบัตรประจำตัวพร้อมรหัสลับสำหรับลงคะแนนที่บันทึกไว้ในบัตรส่งให ้ผู้ได้รับเลือกเป็นการเฉพาะตัวและเป็นความลับ ก่อนที่จะมีการแต่งตั้งหรือถอดถอนบุคคลสำคัญที่ดำรงตำแหน่งระดับสูงหรือการอ ื่นใดที่ให้สมาชิกสภาประชาชนไปลงคะแนนหนึ่งวัน ให้สภาวิชาชีพสุ่มเลือกสมาชิกสภาประชาชนในสังกัดสภาวิชาชีพของตนจำนวน 4 คน ส่งรายชื่อให้สภาประชาชนรับทราบและแจ้งให้เจ้าตัวที่ได้รับเลือกรับทราบเพื่ อทำหน้าที่ในวันถัดไป การสุ่มเลือกดังกล่าวให้กระทำโดยระบบคอมพิวเตอร์ต่อหน้าตัวแทนของสภาประชาชน และสักขีพยาน
2.3 สภาประชาชน ประกอบด้วยสมาชิก 3 ประเภท คือ สมาชิกพิเศษ มาจากการสุ่มเลือกของสภาวิชาชีพต่างๆ 100 สภาวิชาชีพ มีจำนวน 2000 – 10000 คน สมัยละ 4 ปี เป็นได้ไม่เกิน 2 สมัยติดกัน ไม่มีเงินเดือน ผู้ที่ได้รับเลือกมาทำหน้าที่แต่งตั้งหรือถอดถอน หรืออื่นๆ ได้รับค่าตอบแทนสำหรับเป็นค่าเดินทางที่พักตามอัตราที่กำหนด ได้รับการเชิดชูเกียรติ สมาชิกสามัญ เป็นสมาชิกสมทบมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี ได้รับการอบรมหรือผ่านเกณฑ์คุณสมบัติอื่นตามที่กำหนด สมาชิกสมทบ เป็นสมาชิกที่สมัครใหม่ มีสิทธิได้เข้ารับการอบรมต่างๆ มีสิทธิเข้าร่วมเสนอแนะ คัดค้าน หรือ ตรวจสอบการทำงานของราชการและองค์กรทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญต่างๆ ตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สมาชิกทั้งสามประเภทไม่ได้รับเงินเดือนแต่ได้รับการเชิดชูเกียรติ และมีสิทธิได้รับเงินสินบนนำสืบ นำจับ แจ้งเบาะแส จากการตรวจสอบของตน เมื่อพบการทุจริตหรือการกระทำผิดกฎหมาย ตามที่กฎหมายกำหนด
2.4 ก่อนจะมีการคัดสรรบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งระดับสูงคณะต่างๆ (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการต่างๆตามองค์กรอิสระฝ่ายตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) ให้มีคณะกรรมการตรวจสอบประวัติและจริยธรรมชุดหนึ่งประกอบด้วยตัวแทนองคมนตรี คนหนึ่งเป็นประธานโดยตำแหน่ง ตัวแทนจากสภาบริหารฝ่ายรัฐบาลหนี่งคน ตัวแทนจากสภาบริหารฝ่ายค้านหนึ่งคน ตัวแทนจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติประเภทละหนึ่งคน ตัวแทนฝ่ายทหารจำนวนสองคน(ประกอบด้วยตัวแทนจากสำนักงานข่าวกรองแห่งชาติหนึ่ งคน) ตัวแทนจากสำนักตำรวจสันติบาลหนึ่งคน ตัวแทนจากคณะกรรมการกำกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงและท้องถิ่นหนี่ งคน ตัวแทนจากสื่อมวลชนสองคน ตัวแทนจากนักวิชาการสองคน ตัวแทนสภาประชาชนสองคน รวม 15 คน
รับฟังข้อมูลจากประชาชน ตรวจสอบประวัติ คุณสมบัติ และจริยธรรม คัดกรองให้เหลือจำนวนเท่าที่มีอยู่แต่ต้องไม่น้อยกว่าจำนวนที่ต้องการและไม่ มากกว่าสองเท่าของจำนวนที่ต้องการ แล้วเปิดเผยให้ประชาชนทราบ
2.5 กระบวนการแต่งตั้ง ถอดถอนบุคคลดำรงตำแหน่งระดับสูง ให้ดำเนินการดังนี้
2.5.1 การแต่งตั้ง ให้มีคณะกรรมการรับสมัคร คัดกรอง ตรวจสอบคุณสมบัติ ประวัติ และจริยธรรมของผู้สมัคร รับฟังข้อมูลจากประชาชน แล้วคัดกรองให้เหลือบุคคลตามคุณสมบัติที่กำหนดตามกฎหมายจำนวนเท่าที่มีอยู่ แต่ไม่น้อยกว่าหรือไม่เกินสองเท่าของจำนวนที่ต้องการในกฎหมาย ประกาศให้สาธารณะชนรับทราบทั่วกัน ส่งรายชื่อที่ผ่านการตรวจคุณสมบัติและคัดกรองแล้วให้ประธานสภานิติบัญญัติแห ่งชาติและสภาประชาชนทราบ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกาศวันลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง ซึ่งมีกำหนดไม่น้อยกว่า 7 วัน หลังจากได้รับรายชื่อจากประธานคณะกรรมการตรวจสอบคุณสมบัติและสรรหาเบื้องต้น แล้ว ก่อนวันเลือกตั้งผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามประกาศของประธานสภานิติบัญญัติแห ่งชาติ 2 วัน ให้สมาชิกสภาประชาชนประเภทสมาชิกพิเศษแจ้งความพร้อมของตนในการมาทำหน้าที่เล ือกผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามวันเวลาดังกล่าวให้สภาประชาชนทราบ ก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันให้สภาประชาชนสุ่มรายชื่อสมาชิกสภาประชาชนที่แจ้งย ืนยันความพร้อมแล้ว โดยระบบคอมพิวเตอร์จำนวน 4 คนต่อสภาวิชาชีพ รวมจำนวน 400 คนและแจ้งให้ผู้ได้รับการสุ่มเลือกทราบทางอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์ ในวันเลือกตั้งให้ผู้สมัครและได้รับการสรรหาเบื้องต้นแล้วจากคณะกรรมการฯ แสดงวิสัยทัศน์ต่อหน้าที่ประชุมของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติและที่ประชุ มของสมาชิกสภาประชาชน ก่อนการลงคะแนน ให้สมาชิกทั้งสองสภาลงคะแนนโดยลับ ผู้ที่ได้คะแนนรวมกันของทั้งสองสภาสูงสุดเรียงลำดับลงมาจำนวนตามที่ต้องการเ ป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งเข้าเป็นผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงในองค์กรนั้นๆ ให้ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติเป็นผู้สนองรับพระบรมราชโองการแต่งตั้ง
2.5.2 การถอดถอน เมื่อได้มีการสืบสวน สอบสวนและยื่นถอดถอนบุคคลใดหรือคณะบุคคลใด โดยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบแห่งชาติ หรือ คณะกรรมการกำกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงและท้องถิ่น ตามแต่ละกรณีแล้ว ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติประกาศวันลงคะแนนเสียงถอดถอน ซึ่งมีกำหนดไม่น้อยกว่า 7 วัน หลังจากได้รับคำร้องให้ถอดถอนแล้ว ก่อนวันลงคะแนนถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามประกาศของประธานสภานิติบัญญั ติแห่งชาติ 2 วัน ให้สมาชิกสภาประชาชนประเภทสมาชิกพิเศษแจ้งความพร้อมของตนในการมาทำหน้าที่ถอ ดถอนผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามวันเวลาดังกล่าวให้สภาประชาชนทราบ ก่อนวันเลือกตั้งหนึ่งวันให้สภาประชาชนสุ่มรายชื่อสมาชิกสภาประชาชนที่แจ้งย ืนยันความพร้อมแล้ว โดยระบบคอมพิวเตอร์จำนวน 4 คนต่อสภาวิชาชีพ รวมจำนวน 400 คนและแจ้งให้ผู้ได้รับการสุ่มเลือกทราบทางอินเตอร์เน็ตและโทรศัพท์ ในวันลงคะแนนถอดถอนให้ผู้ร้องสรุปสำนวนข้อมูลหลักฐาน พยาน ข้อกฎหมาย พฤติการณ์แห่งการกระทำผิดให้ที่ประชุมร่วมแห่งสมาชิกของทั้งสองสภารับทราบ และเปิดโอกาสให้สมาชิกได้ซักถามและอภิปรายพอสมควร ให้ประธานที่ประชุมแจ้งให้สมาชิกทั้งสองสภาลงคะแนนถอดถอนโดยลับ
2.6 เพื่อไม่ให้เกิดความไม่เป็นธรรมกับประชาชน และไม่ให้นักการเมืองใช้อำนาจของผู้ถืออาวุธและกฎหมายทำร้ายประชาชน จึงควรแยกหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรมเบื้องต้นออกมาจากการครอบ งำของอำนาจรัฐดังนี้
2.6.1 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ให้แยกออกมาเป็นองค์กรอิสระฝ่ายตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดยให้คงไว้เพียง 8 หน่วยงาน คือ สำนักตำรวจกองปราบปราม สำนักตำรวจสืบสวน-สอบสวนกลาง สำนักตำรวจสันติบาล สำนักตำรวจอารักขาบุคคลสำคัญ สำนักตำรวจปราบจราจล สำนักตำรวจป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายภายในประเทศ สำนักตำรวจสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษ(ให้ยุบกรมสืบสวนสอบสวนคดีพิเศษมาไว้ในหน่วย นี้) สำนักตำรวจภูธรจังหวัด(โดยให้คงตำรวจหน่วยกลางไว้ในแต่ละจังหวัดไม่เกินจังห วัดละ 1 กองร้อย) งานบริการของตำรวจในพื้นที่ให้ไปสังกัดในองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นนั้นๆ รวมทั้งหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ตำรวจทางหลวงให้เข้าไปสังกัดกรมทางหลวง ตำรวจป่าไม้สังกัดกรมป่าไม้ ตำรวจตระเวนชายแดนสังกัดกองทัพบก เป็นต้น คณะกรรมการข้าราชการตำรวจให้ดำเนินการคัดสรรมาจากบุคคลต่างๆเหมือนกับองค์กร อิสระอื่นๆ
2.6.2 เพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชน บัญญัติกฎหมายให้มีนักสืบเอกชน ซึ่งมีอำนาจจับกุม สืบสวน สอบสวน ส่งฟ้อง ขอหมายจับในคดีต่างๆได้เหมือนตำรวจ แต่ไม่สังกัดราชการมีรายได้จากค่าจ้างตามกฎหมายกำหนด
2.6.3 ให้อัยการสูงสุดเป็นองค์กรอิสระ แยกงานของอัยการเป็นสามแผนกเพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพของการสั่งคดี คณะกรรมการอัยการมาจากกระบวนการแต่งตั้งตาม ข้อ 2.5
2.6.4 แยกคณะกรรมการ ป.ป.ช. เป็นสามแผนกเพื่อความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพในการตรวจสอบ
2.7 ปฏิรูปสื่อสารมวลชน และส่งเสริมการจัดตั้งสถานีวิทยุชุมชนของประชาชน จัดให้มีสถานที่กลางในชุมชนทุกหมู่บ้าน เพื่อให้เป็นที่ศึกษา ประชุมอบรม พบปะ เรียนรู้ และที่เลือกตั้งทางสื่ออิเล็คทรอนิคส์ในอนาคต โดยทำการติดตั้งคอมพิวเตอร์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม ทีวีผ่านดาวเทียม หนังสือพิมพ์
2.8 เร่งให้ความรู้ และข้อมูลประชาชน ให้มีความรักชาติ รักทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นและของชาติ ค่านิยมที่ถูกต้อง ออกกฎหมายให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ของตนเอง
2.9 ส่งเสริมการประกอบอาชีพบนพื้นฐาน และภูมิปัญญาของตนเอง ยกเลิกการผูกขาดการประกอบอาชีพบางอย่างของทุนใหญ่ โดยให้ทุนเล็กท้องถิ่นสามารถแข่งขันได้โดยการโอบอุ้มสนับสนุนของรัฐให้สามาร ถต่อสู้กับทุนใหญ่ได้
3. ปฏิรูปสวัสดิการพื้นฐานให้เกิดขึ้นได้จริง คือปฏิรูปการศึกษาให้เด็กไทยได้เรียนฟรีจนถึงปริญญาตรี การรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพและทั่วถึง ความเป็นอยู่ขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกกลุ่ม โอกาสและทางเลือกในการประกอบอาชีพที่เท่าเทียม
สิริปัญญา
ppk19

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น