...+

วันพฤหัสบดีที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ตำรวจที่ดีก็มีนะ แต่ขอโทษ...ไม่ใช่เมืองไทย

ทำไมคนเป็นตำรวจยุคนี้จึงถูกประณามหยามเหยียดอย่างไร้ศักดิ์ศรี
      
        ระบบตำรวจที่ดีจนได้รับยกย่องก็มีนะครับ แต่ต้องไปดูที่ประเทศสิงคโปร์ ถึงขนาดได้รางวัลองค์กรที่ดีเลิศระดับชาติด้วยมาตรฐานโลก
      
        เอาละตั้งหวังว่า วิกฤตความเลวร้ายที่ถูกสปอร์ตไลท์ส่องและถ่ายทอดข่าวให้รับรู้ไปทั่วโลกขณะน ี้ สักวันหนึ่งเราจะมีผู้พิทักษ์สันติราษฎร "ของจริงได้"
      
        แน่นอนครับขณะนี้ใครที่มีวิชาชีพตำรวจคงเผชิญภาวะกดดันมากเพราะวงการตำรวจถู กประณามว่า รับใช้นักการเมืองถึงขนาดปฏิบัติบ้าระห่ำจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บกว่า 400 คน
      
        เหตุการณ์สลายการชุมนุมของประชาชนที่ปราศจากอาวุธด้วยความโหดเหี้ยมทั้งเช้าตรู่และตอนเย็น วันนั้นจึงถูกเรียกว่า "7 ตุลาคมทมิฬ"
      
        ขณะที่ผู้สั่งการให้ใช้ความรุนแรงผิดวิสัยมนุษย์มีหลายคนที่เกี่ยวข้อง ตั่งแต่ตัวหัวหน้ารัฐบาล ประธานรัฐสภา รัฐมนตรีมหาดไทย ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ไม่มีใครแสดงความรับผิดชอบ หรือแม้แต่กล่าวคำขอโทษ
      
        รายการนี้จะแก้ตัวอย่างไรก็ฟังไม่ขึ้น แม้โดยหลักอ้างว่าแก๊สน้ำตาไม่สามารถทำให้เกิดความเสียหายขนาดที่รับรู้กันได้
      
        แต่ประจักษ์พยานทั้งจากภาพถ่ายทอดสดของ ASTV และการบันทึกภาพของสื่อมวลชน และความเป็นแน่นอนจริงที่ปรากฏก็คือ มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 2 ราย และผู้บาดเจ็บที่ศูนย์นเรนทรเปิดเผยว่ามีถึง 437 ราย
      
        การออกมาโยนความผิดให้พ้นพวกตัวของนายตำรวจบางคนจึงเป็นการประจานความเลวร้า ยของระบบตำรวจ และยิ่งสร้างความไม่พอใจของสังคมผู้รับรู้ข่าวสาร และรักความเป็นธรรมที่แผ่ขยายไปอย่างกว้างขวาง
      
        เหตุการณ์ครั้งนี้จึงเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของการปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชกา ลที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคม และจิตสำนึกการมี CSR จำเป็นต้องมีอยู่ในองค์กรภาครัฐ ซึ่งรวมทั้งตำรวจ
      
        โดยเฉพาะอย่างยิ่งคำว่า "ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์" ที่ประทับอยู่ที่ตราหมวกนับเป็นความหมายที่ดีสอดคล้องกับเนื้อหาในมาร์ชตำรว จ ซึ่งตอนนี้มีคนแปลงเนื้อหาเพื่อประชดศักดิ์ศรีของตำรวจกันแล้ว
      
        แม้ตำรวจที่ดีในวงการย่อมมีอยู่ แต่เพราะพฤติกรรมของตำรวจนอกรีตที่กระทำตัวตรงข้ามกับเนื้อหาเพลงมาร์ชตำรวจ เป็นที่รับรู้ จนกลายเป็นภาพลักษณ์ที่น่าชังของตำรวจไทยในสายตาของประชาชน
      
        เสียงเรียกร้องให้ปฏิรูประบบตำรวจเพื่อไม่ให้สังคมไทยกลายเป็นรัฐตำรวจที่ใช้อำนาจอธรรมต่อประชาชน จึงดังขึ้นทุกขณะ
      
        น่าแปลกไหมครับที่มีการเขียน "อุดมคติตำรวจ" ไว้ดูเป็นพ่อพระที่พึงปราถนาของสังคม
      
        1. เคารพเอื้อเฟื้อต่อหน้าที่
        2. กรุณาปราณีต่อประชาชน
        3. อดทนต่อความเจ็บใจ
        4. ไม่หวั่นไหวต่อความยากลำบาก
        5. ไม่มักมากในลาภผล
        6. บำเพ็ญตนเพื่อประโยชน์ต่อประชาชน
        7. ดำรงตนในความยุติธรรม
        8. กระทำด้วยปัญญา
        9. รักความไม่ประมาทเสมอชีวิต

      
        ถามว่าในความเป็นจริงมีครบถ้วนกันแค่ไหน และมีการปลูกฝังตั้งแต่เข้าเป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจ และมีการหล่อหลอมตอกย้ำกันจริงจังตลอดเวลาให้การปฏิบัติหน้าที่และวิถีชีวิต ตำรวจเป็นไปตามอุดมคติทั้ง 9 ประการ
      
        โดยเฉพาะระบบการคัดเลือกคนมาเป็นตำรวจก็ไม่มีการทดสอบทัศนคติต่อวิชาชีพว่า เหมาะสมที่จะเป็นคนทำหน้าที่ "ผู้พิทักษ์สันติราษฎร์" หรือไม่
      
        ไม่ใช่อย่างที่นักวิชาการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เคยไปทดสอบทัศนคติตำรวจภูธรภาคส่วนหนึ่งพบว่า ส่วนใหญ่ "บ้าอำนาจ" อย่างนี้ประชาชนจะปลอดภัยได้อย่างไร
      
        ตัวอย่างด้านการบริหารขององค์กรตำรวจสิงคโปร์ที่ได้ (Singapore Police Force) รับการตรวจประเมินตามมาตรฐานโลกที่พิจารณา 6 ด้าน คือ 1. ภาวะผู้นำ 2. การแปลงยุทธศาสตร์ 3. มุ่งเน้นลูกค้าหรือการบริการประชาชน 4. การวัดผล การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ 5. มุ่งพัฒนาบุคลากร 6. การจัดการกระบวนการ 7. เน้นผลลัพธ์ที่ได้
      
        ผลปรากฏว่าองค์กรตำรวจสิงคโปร์ ซึ่งเคยได้รับการตรวจประเมินระดับรางวัลคุณภาพแห่งชาติ (Singapore Quality Award) ดังกล่าวเมื่อปีล่าสุด 2550 หลังจากที่เคยได้รับรางวัลเมื่อ 5 ปีก่อนมาแล้ว
      
        การที่ปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจสิงคโปร์มีทั้งคุณภาพ ประสิทธิภาพ และคุณธรรม จนเป็นที่ยอมรับก็เพราะวิสัยทัศน์ และพันธะกิจที่เขากำหนดมิใช่แค่ "ภาษาดอกไม้"
      
        นโยบายของตำรวจสิงคโปร์นั้นมุ่งทำความรับผิดชอบต่อสังคมดังเช่น ประกาศชัดเจนบนเว็บไซต์ แสดงเจตนารอบด้านนี้ที่ใช้คำว่า Corporate social responsibility
      
        ตำรวจสิงคโปร์ประกาศตัวว่าจะทำงานด้านอำนาจหน้าที่และกำลังพล อย่างเต็มความสามารถในการริเริ่มสร้างสรรค์ โดยมุ่งให้เกิดประโยชน์สุขแก่สังคมและชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายแห่งชาติ
      
        ในการนี้ที่สิงคโปร์มีการผลักดันใน 4 แนวทางดังนี้
      
        *การพัฒนาองค์กรและการปฏิบัติหน้าที่ตำรวจ
        * งานชุมชนสัมพันธ์
        * การส่งเสริมกีฬาและสุขภาพชุมชน
        * พิทักษ์สิ่งแวดล้อม

      
        ตำรวจที่นั่นจึงเป็นที่ยอมรับและชื่นชมเพราะมุ่งทำเพื่อสังคม
      
        ผิดจากตำรวจไทยระดับบนหลายคนที่ไม่มุ่งรับใช้นักการเมืองเพื่อหวังตำแหน่งและผลประโยชน์จนลืมพันธกิจต่อสังคม
      
        มองกลับไปที่สิงคโปร์จะเห็นว่า การประกาศจุดยืนในการบริหารประเทศด้วยความ ซื่อสัตย์ จิตสำนึก บริการด้วยความเป็นเลิศ นั้นผู้นำของรัฐ เมื่อทำจริงก็สามารถกำกับและสนับสนุนให้ทุกองค์กรทำเช่นนั้นได้
      
        ด้วยเหตุนี้เองด้านความซื่อสัตย์โปร่งใสของสิงคโปร์ จึงมักถูกจัดอยู่ในอันดับนำของเอเชีย และระดับต้นของโลก
      
        เ ป้าหมายที่ดีเช่นนั้น หากมาประสานกับคุณค่าที่ดีมีคุณธรรมแบบไทย เราจะเป็นประเทศที่น่าอยู่มาก จึงต้องเริ่มต้นที่วัฒนธรรมและระบบการเมืองใหม่เพื่อการขับเคลื่อนไปสู่ความ ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น