เห็นพูดกันมากนะครับ สำหรับคำว่า "ประชาภิวัฒน์"
อยากรู้เหมือนกันว่าใครที่เสนอแนวทางแบบนี้ขึ้นมา เข้าใจหลักการที่แท้จริงของมันหรือยัง ผมแค่สงสัยดังนี้
1. "ประชาภิวัฒน์" เป็นหลักการของประชาธิปไตยไหมครับ
2. สัดส่วน สส.70% ที่เกิดจากการแต่งตั้ง กระบวนการสรรหาจะได้มาจากกลุ่มคนจำกัดเหมือนตอนเลือก สว. ชุดลากตั้ง คมช. ใช่ไหม ถ้าใช่แบบเดียวกัน ผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็มีสิทธิเลือกคนของตนเข้าสภาได้มากใช่ไหมครับ
3. มีประเทศไหนในโลกที่เป็นประชาธิปไตยใช้ระบบการเมืองดังกล่าวบ้างไหม เห็น มีแต่พวกรัฐบาลที่เป็นรัฐคอมมิวนิสต์เก่าๆ ใช้กันอยู่
4. หลัก "ประชาภิวัฒน์" ยอมรับเสียงส่วนใหญ่หรือเปล่าครับ หรือเอาพวกมากมาตะแบง ก็สามารถต่อรองการเมืองได้
อยากรู้มากๆ
1. ประชาชนทุกภาคส่วนสามารถคัดเลือกตัวแทนเข้าสภา
2. 70 /30 เป็นตุ๊กตาเพื่อให้มวลชนได้แสดงความคิดเห็นกันเท่านั้น
3. อาจจะเริ่มที่ไทยนี่แหละ และเป็นสิ่งที่ดี
4. เสียงส่วนใหญ่ ไม่ใช่ถูกเสมอไป ที่เห็นเสียงส่วนใหญ่จะถูกซื้อมา เพราะได้รับข้อมูลน้อย อยู่ห่างไกล
พอดีไปเจอในเวปหนึ่งเขียนถึง 70/30 ซึ่งน่าจะทำให้เข้าใจหลักการมากขึ้น 70/30 คืออะไร 70 / 30 นี่คือคำประกาศการเมืองที่จะเป็นการเมืองใหม่ อนาคตใหม่ที่จะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการมีส่วนร่วมของประชาชน ทั้งประเทศ ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข จะเป็นครั้งแรกที่ประชาชนสามารถจะมีตัวแทน ที่จะเป็นของปวงชนอย่างแท้จริง ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและ ในวุฒิสภา โอกาสครั้งแรกสามารถตรวจสอบกำกับดูแล และประชาชนมีส่วนร่วมทั้งทางตรง โดยผ่าน 1.ระบบตัวแทนในสภาสูงในระบบที่ได้รับการคัดสรร และแต่งตั้งจากตัวแทนองค์กรภาคประชาชน 70 ส่วน ....และ 2.ผ่านตัวแทนประชาชนในระบบการเลือกตั้งตามพื้นที่รายเขตรายจังหวัด แบบดั้งเดิมในปัจจุบันนี้ 30 ส่วน 70 ส่วน แม้จะมีสภาพที่มาจากการแต่งตั้งจากตัวแทนองค์กรของประชาชน แต่ก็จะไม่ได้มาจากการสรรหาหรือเลือกตั้งตามแบบเดิมๆ ที่ผ่านการลงรับสมัครให้ประชาชนทั้งประเทศลงคะแนนเลือกวุฒิสภา หรือ ผ่านการคัดเลือกจากตัวแทน เทคโนแครต ข้าราชการที่เกษียน หรือจากบรรดาพวกอำมาตยาธิปไตยที่อาสาสมัครเข้าคัดเลือกให้คณะกรรมการ หรือผู้สมัครคัดเลือกจากอาสาสมัครก็หาใช่ไม่ ระบบ 70-30 นี้ 70 ส่วน ในคำประกาศ ระบบการเมืองใหม่ คือ สภาของประชาชน ในระบบการเมืองใหม่ "ที่จะให้โอกาสทางตรงต่อตัวแทนองค์กรของประชาชน" "ได้มีส่วนร่วมมีปากเสียงทางตรงในรัฐสภา!" สภาประชาชน 70 ส่วน จะถูกออกแบบมาเพื่อให้ องค์กรของประชาชน เช่น NGO ทั้งหลาย องค์กรคุ้มครองผู้บริโภค องค์กรทางศาสนา ทุกศาสนาและความเชื่อ องค์กรทางจริยธรรม และจิตวิญญาน องค์กรทาง สิทธิมนุษยชน ผู้ทรงคุณวุฒิทางการทหาร ตำรวจ การปกครอง ทนายความ แพทย์ พยาบาล ตำรวจ สื่อมวลชน เกษตรกร ชาวสวน ชาวไร่ ชาวนา ตัวแทนสภาวิชาชีพของเอกชน เช่น สถาปนิก วิศวกร ผู้รับเหมา นักบิน แอร์โอสเตส ผู้ประกอบการขนส่งทางทะเล บกและน้ำ ช่างอุตสาหกรรม วิศวโยธา ผู้ประกอบกิจการท่องเที่ยว ผู้ค้าเพชร พลอย อัญมนี ผู้ประกอบกิจการด้านร้านอาหารและการบริการ อาชีพอิสระ ผู้ค้าขายรายย่อย ผู้ผลิต SME โรงงานอุตสาหกรรม ผู้ส่งออกและนำเข้า นักการธนาคาร ผู้ประกอบการประกันภัย ลูกจ้าง นายจ้าง รัฐวิสาหกิจ กระทั่งแม้ผุ้ประกอบอาชีพเช่น หมอนวด หาบเร่ แผงลอย คนขายลอตเตอรี่ ขายของเก่า และอื่นๆอีกมาก ฯลฯ สภา 70 ส่วนนี้ จะประกอบไปด้วย สมาชิกอันได้มาจากการคัดสรร ภายในองค์กรอันหลากหลาย และสมาคมอันหลากหลายนั้น และแต่ละสมาคมและองค์กรจะได้คัดสรร และเลือกส่งเป็นตัวแทนมาตาม สัดส่วน เพื่อให้ได้มีตัวแทนเป็นปากเป็นเสียง ทางตรง ขององค์กรประชาชน สมาคมของประชาชนเหล่านั้น ในฐานะ "วุฒิสภาของประชาชน" ในรัฐสภาอย่างแท้จริง ! เป็นครั้งแรก ที่ประชาชน จะได้ใช้อำนาจอย่างสมบูรณ์แบบ ทั้ง สองสภา ! "วุฒิสภาของประชาชน" ผ่านการแต่งตั้ง ด้วยประชาชน และ "สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร" ผ่านการเลือกตั้ง ด้วยประชาชน !! 70-30 จะเป็น รัฐสภาที่สมบูรณ์แบบ ทำงานและตรวจสอบได้ด้วย ประชาชนกันเอง ผ่านจากตัวแทนทั้งทางตรงที่เลือกจากระบบ การแข่งขันเลือกตั้ง และผ่านจากการคัดเลือกจากสมาคมองค์กร อันหลากหลายของประชาชนนั้น เพื่อทำหน้าที่ โดยตรงของประชาชนในสภา !! สุดท้ายนี้ ผมขอขอบคุณพันธมิตร ที่มีความจริงใจต่อประชาชน นี่คือครั้งแรกที่คำประกาศของ สนธิ ลิ้มทองกุล และพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้จุดประกายความหวังของประชาชน ที่จะมีสภาทั้งสองสภาประกอบไปด้วย ตัวแทนของปวงชนชาวไทยอย่างแท้จริง !! มิใช่มีแต่สมาชิกรัฐสภาที่ผ่านการเลือกตั้งหย่อนบัตรลงคะแนน แล้วก็จบกันไปก็หาไม่ หากแต่การเมืองใหม่ 70/30 นี้ จะจุดประกายให้องค์กรสมาคมของประชาชนทุกแห่ง ได้มีส่วนร่วมใน รัฐสภา อย่างแท้จริง!! สุดท้ายนี้ขอแสดงความผิดหวังไปยังคุณอภิสิทธิ เวชชาชีวะ ในฐานะคนรุ่นใหม่วัยเดียวกัน ผมค่อนข้างผิดหวังกับทัศนคติอันคับแคบและยึดติด กับการเมืองระบบเก่าที่เมินเสียงของประชาชน ประชาชนที่ได้พัฒนาและเติบโตตื่นตัวทางการเมือง ได้ก้าวไป ไกลเกินกว่าบรรดานักการเมืองในระบบเก่าจะเข้าใจแล้ว!
1. "ประชาภิวัฒน์" เป็นหลักการของประชาธิปไตยไหมครับ
ต อบ เป็นประชาธิปไตยและเคยเกิดขึ้นมาแล้วถึง3ครั้งในเมืองไทยคือ14ตุลา,6ตุลาและ พฤษภาทมิฬ คุณอาจจะงง ที่ประชาภิวัฒน์3ครั้งก่อนเกิดขึ้นกับเผด็จการทหาร แต่ครั้งนี้เกิดขึ้นกับเผด็จการรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้ง ขอให้สังเกตุการณ์ใช้อำนาจรัฐที่มิชอบของรัฐบาลเป็นหลัก เช่น การซื้อสิทธิ์ขายเสียงเพื่อเข้ามามีอำนาจของรัฐบาล การยกอธิปไตยบนเขาพระวิหารให้เขมร การพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับเพื่อไม่ให้มีการแปรญัตติ การจัดสรรค์งบประมาณในโครงการต่างๆที่ส่อไปในทางทุจริตคอรัปชั่น และที่ให้อภัยไม่ได้เลยคือรัฐบาลมีการปล่อยให้มีกระบวนการล้มล้างสถาบันกษัต ริย์ โดยโจมตีทั้งการปราศัย เว็บไซค์และสิ่งพิมพ์ที่บิดเบือนให้ร้ายสถาบันกษัตริย์ของไทยอย่างโจ่งแจ้ง ฯลฯ ความไม่ชอบธรรมทั้งหมดแสดงให้เห็นถึงระบบการเมืองไทยที่ล้มเหลวและตัวตนที่แ ท้จริงของเผด็จการรัฐสภา ซึ่งระยะเวลาที่ผ่านมาได้พิสูจชัดแล้ว ประชาชนจึงรวมตัวทำอาริยะขัดขืนและประชาภิวัฒน์เพื่อพัฒนาระบอบประชาธิปไตยต ามลำดับ
2. สัดส่วน สส.70% ที่เกิดจากการแต่งตั้ง กระบวนการสรรหาจะได้มาจากกลุ่มคนจำกัดเหมือนตอนเลือก สว. ชุดลากตั้ง คมช. ใช่ไหม ถ้าใช่แบบเดียวกัน ผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็มีสิทธิเลือกคนของตนเข้าสภาได้มากใช่ไหมครับ
ตอบ คำถามของคุณไม่ได้ตั้งอยู่บนหลักประชาธิปไตย แต่ถ้าจะปรับรูปแบบให้เป็นประชาธิปไตยแล้วก็พอทำได้ เช่น ระบบการเลือกตั้งส.ส.แบบเก่า มีการให้สิทธิ์ประชาชน2ส่วน คือ ส.ส.ในพื้นที่ กับ ส.ส.ปาร์ตี้ลิส หากปรับใช้กับระบบ70%ที่คุณเสนอ ก็จะได้ส.ส.ในพื้นที่ 30% ส่วน 70%ก็ให้เลือกตั้งจากตัวแทนกลุ่มอาชีพก็ได้ หรือปรับเป็นตัวแทนตามระดับกลุ่มรายได้ก็ได้(เช่น ตัวแทนกลุ่มรายได้ไม่เกิน1หมื่นบาทต่อเดือน ตัวแทนกลุ่มรายได้ตั้งแต่10000-100000บาทต่อเดือน ตัวแทนกลุ่มรายได้ตั้งแต่ 100000-1000000บาทต่อเดือน ตัวแทนกลุ่มรายได้ 1ล้านบาทขึ้นไป เป็นต้น)แต่ทั้งหมดต้องมาจากการเลือกตั้ง จึงจะถือเป็นประชาธิปไตย ซึ่งข้อดีคือ รัฐบาลจะมาจากส.ส.ทุกภาคส่วนในประเทศ ไม่กระจุกรวมตัวเป็นพรรคการเมืองภาคใดภาคหนึ่งในปัจจุบัน ส่งผลให้งบประมาณกระจายไปทุกภาคส่วนอย่างเป็นธรรม
3. มีประเทศไหนในโลกที่เป็นประชาธิปไตยใช้ระบบการเมืองดังกล่าวบ้างไหม เห็น มีแต่พวกรัฐบาลที่เป็นรัฐคอมมิวนิสต์เก่าๆ ใช้กันอยู่
ต อบ ถ้าคิดว่าสิ่งใหม่ไม่ใช้สิ่งดี วันนี้คงไม่มีเครื่องจักร รถยนต์ มอไซค์ ไฟฟ้า น้ำมัน ฯลฯ ผมคิดว่าความคิดคุณต่างหากที่เก่าซะเต็มประดา ไม่กล้าออกมาหาสิ่งใหม่ให้กับชีวิต
4. หลัก "ประชาภิวัฒน์" ยอมรับเสียงส่วนใหญ่หรือเปล่าครับ หรือเอาพวกมากมาตะแบง ก็สามารถต่อรองการเมืองได้
ต อบ ประชาภิวัฒน์ คือ เสียงส่วนใหญ่ครับ ส่วนที่กล่าวหาว่าเป็นการเอาพวกมากมาตะแบง เป็นความคิดของคนหลังเขามากมาย เพราะประชาธิปไตย ให้อำนาจแก่ประชาชนทุกคนเท่าเทียมกัน การที่ประชาชนออกมาเรียกร้องใช้สิทธิ์ด้วยตนเองถือเป็นประชาธิปไตยที่พัฒนาแ ล้วที่ประชาชนรับรู้ถึงสิทธิอันพึงมีในระบอบประชาธิปไตย
ประชาภิวัฒน์ คือ การอภิวัฒน์ต่างๆทำโดยประชาชนเองทั้งสิ้นโดยเสรี
เ ทียบกับคำที่ได้ยินกันมานานว่า โลกาภิวัฒน์ ซึ่งคือการอภิวัฒน์เกิดจากอิทธิพลของโลก เราเป็นทาสของโลกคือต่างประเทศทั้งหลาย ไม่มีเสรีภาพของเราเอง
เช่น ประเทศอื่นอยากกินข้าวหอมมะลิของเรา เราก็ตั้งหน้าตั้งตาปลูกข้าวหอมมะลิขายเขา จนผู้ส่งออกอ้วนท้วนร่ำรวย แต่ชาวนาหนี่เพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้น สูญเสียที่ดิน
ประชาภิวัฒน์ คือเราปลูกข้าวให้เรามีพอกินก่อน ให้ชาวนาไทยมีความมั่นคงก่อน ปลดหนี้สินได้ อยู่ดีมีสุขก่อน จึงจะปลูกข้าวขายให้โลก
นี่ไม่ใช่สิ่งเดียวที่เกิดขึ้น ตัวอย่างมีอีกมากมาย จนประเทสไทยจะล่มจมแล้ว
เราต้องตัดสินใจว่าเราจะเอาอย่างไร
จะปล่อยให้โลกเข้ามาครอบงำเรา
หรือเราจะมีเสรีภาพของเราเอง
ความจริงแนวทางการเมืองใหม่ที่เสนอว่าให้ สส. มาจากการแต่งตั้งบางส่วน ที่เหลือมาจากการเลือกตั้ง ผมอยากชี้แจงว่าในส่วนการแต่งตั้งนั้น ก็ไม่ได้เกิดจากใครที่จะมีอำนาจในการแต่งตั้ง แต่ควรมาจากการเลือกตั้งย่อยๆในกลุ่มสาขาอาชีพแต่ละสาขาซึ่งเขาก็จะไปจัดการ เลือกตัวแทนของพวกเขากันเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีเพราะคนในแวดวงเดียวกันย่อมรู้ดีว่าใครเป็นใคร ดีเลวแค่ไหน ที่สำคัญ สส. ควรอยู่ในการกำกับดูแลของประชาชนในส่วนที่ตนสังกัด หากกระทำผิดใดๆที่ไม่ใช่ความต้องการของประชาชนแล้ว สส. ผู้นั้นจะถูกปลดได้ทันที นี่คือแนวทางการคัดสรรหรือที่เรียกว่า สส. แต่งตั้ง ส่วน สส. อีกประเภทที่มาจากการเลือกก็ต้องจัดให้มีจำนวนที่เหมาะสมกับเขตปกครอง และ สส. มีอิสระจะสังกัดพรรคการเมืองหรือไม่ก็ได้ และก็ต้องอยู่ในการควบคุมของประชาชนในเขตปกครองที่ตนสังกัดเช่นเดียวกับ สส. ที่คัดสรร ทุกอย่างที่เป็นเช่นนี้จะไม่เป็นประชาธิปไตยได้อย่างไร เป็นวิธีที่กระจายอำนาจประชาธิปไตยลงไปสู่คนทุกระดับด้วยซ้ำไป และวิธีการเหล่านี้เองจะปลุกให้คนไทยตื่นตัวและได้รู้หน้าที่ของตนเอง ว่าต้องมากำกับดูแลตัวแทน ในขณะเดียวกัน สส. หรือตัวแทนประชาชนก็จะเป็นปากเสียงแทนประชาชนอย่างแท้จริง เพราะไม่เช่นนั้นหากประชาชนในเขตของตนลงมติว่าทำงานไม่ได้ผลจะถูกปลดทันทีโด ยไม่มีข้อแม้ สิ่งเหล่านี้ไม่ถูกต้องสมควรหรือ
ส่วนเรื่องพรรคกา รเมืองนั้นก็ไม่ได้ห้ามการตั้งพรรค แต่สมาชิกพรรคควรเป็นการรวมตัวกันด้วยอุดมการณ์ทางการเมือง เพื่อน้ำหนักของเสียงในสภา สส. จากการคัดสรร และ เลือกตั้ง ต่างสามารถจะไปร่วมงานกับพรรคการเมืองได้หากมีเหตุผลชี้แจงกับประชาชนว่าไปร ่วมด้วยเหตุใด แต่สิ่งหนึ่งที่พรรคการเมืองทำไม่ได้ก็คือ การโหวตเรื่องการลงคะแนนเสียงซึ่งเดิมต้องทำตามมติพรรคอย่างเดียว แต่แนวทางใหม่ไม่ควรให้มีเรื่องเช่นนี้ จะประชุมพรรคเพื่อดูแนวทางได้แต่สั่งการใดๆไม่ได้ เพราะ สส. ทั้งสองระบบต้องโหวตเสียงตามความต้องการของประชาชนเท่านั้น และนี่ไม่ใช่หน้าที่ สส. ที่สมบูรณ์แบบหรือ
ปัญหาเรื่องนี้ก็คือ บรรดานักการเมืองรุ่นเก่าต่างก็เสียดายสิ่งที่ตนเองอุตส่าห์สร้างพรรคขึ้นมา ซึ่งส่วนมากก็เป็นพรรคการเมืองที่มีนายทุนหนุนหลัง แล้วจะไม่มีเรื่องผลประโยชน์เกี่ยวข้องได้อย่างไร จนพรรคการเมืองกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการขุดทองไปสำหรับนักธุระกิจ
ส ิ่งต่างๆเหล่านี้จะต้องยุติลงหากแนวทางการเมืองใหม่เกิดขึ้น การแก้ไขปัญหาการคอรัปชั่นจะดีขึ้น การตรวจสอบจากองค์กรอิสระจะสะดวกและได้ประสิทธิภาพมากขึ้น ความคิดผิดๆของคนในสังคมจะเปลี่ยนไป จากเดิมที่เคยคิดว่า ใครมาก็โกงอยู่แล้ว ขอให้ทำงานบ้าง จะกลายเป็นว่าใครโกงคือคนทำลายสังคมและประเทศชาติ ต้องถูกกันออกไปให้พ้นจากสังคมการเมือง
ครับเรื่องนี้เป็นเรื่องใหม่ ที่คนไทยต้องท้าทายกับระบบการเมืองเก่าๆที่พยายามรักษาผลประโยชน์เดิมๆของเข าไว้ เสียงของประชาชนจะเป็นเสียงที่ศักดิ์สิทธิ์และเป็นอำนาจสูงสุดอย่างแท้จริง
from http://www2.manager.co.th/mwebboard/listComment.aspx?QNumber=272134&Mbrowse=9
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น