นายแพทย์ปราชญ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงกระแสนิยมบริโภคแมลงเป็นของว่างในประเทศไทยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งแต่ละปีมีปริมาณการบริโภคแมลงทุกชนิดประมาณ 2 ตัน ว่า จากข้อมูลของกรมวิชาการเกษตร พบว่าประเทศไทยมีแมลงที่มีคุณค่าอาหารอย่างน้อย 194 ชนิด กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข จึงนำแมลง 8 ชนิด ที่นิยมบริโภค คือ จิ้งโกร่ง จิ้งหรีด ดักแด้ไหม ตั๊กแตนปาทังก้า ตัวอ่อนของต่อ แมลงกินูน แมลงป่องและหนอนไม้ไผ่ มาวิจัย พบแมลง หนัก 100 กรัม จะมีพลังงาน 98-231 กิโลแคลอรี มีโปรตีน 9 - 28 กรัม ไขมัน 2 -20 กรัม คาร์โบไฮเดรต 1 – 5 กรัม ซึ่งโปรตีนในแมลงทุกชนิดมีปริมาณเทียบเท่าเนื้อหมู เนื้อไก่ ปลาทูนึ่งและไข่ไก่ในขนาดน้ำหนักเท่ากัน ยกเว้นหนอนไม้ไผ่ ที่มีพลังงานและไขมันสูงที่สุด ส่วนแมลงที่มีโคเลสเตอรอล สูงสุดคือจิ้งหรีด ประชาชนจึงควรระมัดระวังในการบริโภคแมลงเหล่านี้ หากรับประทานเล่นเป็นของว่าง อาจทำให้ได้รับพลังงาน ไขมันและโคเลสเตอรอลมากเกินไป นอกจากนี้ยังต้องระวังเรื่องสารพิษตกค้างที่ปนเปื้อนมากับยากำจัดศัตรูพืชด้ วย หากนำแมลงตายแล้วมาประกอบอาหาร เพราะจะมีสารฮีสตามีน (Histamine) ซึ่งเป็นสารกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ เมื่อรวมกับการทอดสารดังกล่าวจะยิ่งทวีความรุนแรง ซึ่งผู้ที่บริโภคเข้าไปจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ หรือมีอาการตาบวม ปากบวม และหากเป็นโรคภูมิแพ้อยู่แล้วอาการอาจหนักจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัย ควรเลือกซื้อแมลงทอดจากแหล่งที่เชื่อถือได้ ว่าเป็นแมลงสดใหม่ไม่ใช้น้ำมันเก่าทอด และควรเลือกบริโภคในปริมาณที่เหมาะสม |
แหล่งข่าวโดย.... กรมประชาสัมพันธ์ ผู้จัดทำ.... สำนักสารนิเทศ กระทรวงสาธารณสุข |
...+
▼
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น