...+

วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

ความคงตัวของสาระสำคัญจากขมิ้นชันในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

อัจฉรา วงษ์ทองดี และ ปราณี อินประโคน
คณะวิทยาศาสตร์ ภาควิชาเทคโนโลยีชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล

วัตถุประสงค์
- เพื่อประเมินความคงตัวของสารสำคัญ (เคอร์คูมิน) จากตัวอย่างผงขมิ้นชันแห้งและผลิตภัณฑ์สารสกัดขมิ้นชันในสภาวะการเก็บรักษาท ี่แตกต่างกันทั้งอุณหภูมิและระยะเวลา รวมทั้งศึกษาความคงตัวของเคอร์คูมินหลังจากเติมผงและสารสกัดขมิ้นชันในผลิตภ ัณฑ์เครื่องสำอาง

วิธีการวิจัย
- นำตัวอย่างผงขมิ้นชันและสารสกัดขมิ้นชันซึ่งมีองค์ประกอบของสารสำคัญต่างกัน ได้แก่ ผงขมิ้นชันแห้งจากจังหวัดพัทลุง, ผงขมิ้นชันแห้งจากร้านเจ้ากรมเป๋อ และผลิตภัณฑ์สารสกัดขมิ้นชันจากบริษัทเอสเอ็นพี เก็บที่อุณหภูมิห้อง 26-28 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิตู้แช่เย็น (4 องศาเซลเซียส) เป็นระยะเวลา 6 เดือน นำตัวอย่างผงขมิ้นชันแห้งมาสกัดแยกสารสำคัญเคอร์คูมินด้วยเอทานอล ตัวอย่างทั้งหมดถูกวิเคราะห์หาปริมาณสารสำคัญเคอร์คูมินด้วยเครื่อง High Performance Liquid Chromatography (HPLC)

ผลการศึกษา
- พบว่า ความคงตัวของสารเคอร์คูมินแตกต่างกันตามชนิดของตัวอย่างขมิ้นชัน , ระยะเวลาและอุณหภูมิของการเก็บรักษาตัวอย่าง ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนแรกของการเก็บรักษา พบว่า สารเคอร์คูมินของตัวอย่างผงขมิ้นชันแห้งมีความคงตัวน้อย (มีปริมาณเคอร์คูมินเหลืออยู่ 37% และ 43% สำหรับตัวอย่างผงขมิ้นชันแห้งจากจังหวัดพัทลุง, ร้านเจ้ากรมเป๋อ ตามลำดับ) เมื่อเปรียบเทียบกับความคงตัวของสารเคอร์คูมินของตัวอย่างผลิตภัณฑ์สารสกัดข มิ้นชัน และจากผลการทดลองยังพบว่าสารเคอร์คูมินสลายตัวทั้งที่อุณหภูมิห้องและอุณหภู มิตู้แช่เย็น โดยที่อุณหภูมิห้องมีอัตราการสลายตัวเร็วกว่า

สรุป
- ผลการศึกษาเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า การเก็บรักษาวัตถุดิบที่เหมาะสมเป็นปัจจัยที่เหมาะสมต่อการรักษาปริมาณสารเค อร์คูมินของขมิ้นชันก่อนทีจะประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง การศึกษาผลกระทบของปัจจัยทางกายภาพจากขั้นตอนการเตรียมผลิตภัณฑ์เครื่องสำอา งต่อควางคงตัวของสารเคอร์คูมินกำลังดำเนินการในงานวิจัยนี้ต่อไป

จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่อง บัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 30-31 มกราคม 2550
ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา