...+

วันเสาร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2550

มุมมองต่อหนังสือก่อร่าง สร้างฝันที่หนองสรวง : ถ้าเป็นคุณ....จะเขียนไหม?

บันทึกนี้เปิดพื้นที่ให้คุณน้อย ลิขิต ได้แสดงความคิดเห็นเต็มที่

คุณน้อย นักศึกษา ม.ขอนแก่น ซึ่งได้อ่านก่อร่าง สร้างฝันที่หนองสรวง ของคุณอำนาจ แสงสุขแล้ว

แล้วคิดที่จะเขียน ก่อร่าง สร้างฝัน ที่ ต.หนองหิน อ.หนองกุงศรี จ.กาฬสินธุ์ ออกมาบ้างไหม



"คงไม่เขียนออกมาเป็นหนังสือในรูปแบบนี้ เพราะเขียนไม่เก่ง และไม่ใช่นักคิด นักฝัน ที่จะคิดอะไรได้กว้างไกลแบบนี้ เพราะคนที่จะเขียนอะไรได้แบบนี้ ย่อมต้องมีข้อมูล ความคิดที่มากพอสมควร"


"ในสมัยนี้ คนไทยส่วนใหญ่ อ่านหนังสือน้อยลงเรื่อยๆ มีทีวี วิทยุให้ฟังเยอะแยะ และมี internet ให้เปิดดูข้อมูล ถ้าเขียนก่อร่าง สร้างฝันที่หนองหิน คงจะเขียนลงใน blog ไปเรื่อยๆดีกว่า แต่ตอนนี้ ก็ยังเขียนไม่เป็น ไม่รู้จะเขียนอะไรเหมือนกัน"







" การทำเป็นหนังสือออกมา เป็นหลักฐานชิ้นสำคัญ แต่ต้องใช้เงินมากพอสมควร ลงทุนไม่น้อยเหมือนกัน แล้วหลายคนก็ไม่มีเงินที่จะซื้อหนังสือได้ทุกเล่ม ห้องสมุด และโรงเรียนก็เช่นกัน เมือทำหนังสือออกมาแล้ว อยากให้ห้องสมุดมี ก็ต้องส่งไปให้ กว่าจะส่งไปให้ได้ครบ ต้องใช้เงินมากพอดู"


"แต่ไม่ว่า จะเขียนลง blog หรือทำออกมาเป็นหนังสือ ถ้าคนอ่านไม่สนใจค้นคว้า หามาอ่าน ข้อมูลก็ไม่มีใครได้อ่าน ได้รับรู้อยู่ดี ส่วนการบอกต่อ ป่าวประกาศ ก็น่าจะทำให้คนรู้จักมากขึ้น แต่ก็ควรเจาะกลุ่มเป้าหมาย คือคนในตำบล ในหมู่บ้าน ซึ่งไปพูดคุย เล่าให้ฟัง ทุกคนในหมู่บ้านก็รับรู้แล้ว ไม่ต้องลงทุนทำเป็นหนังสือก็ได้"


"ดูหนังสือก่อร่าง สร้างฝัน ที่หนองสรวงแล้ว คิดว่า ไม่คุ้มกับเงินที่ลงไป เพราะเนื้อหาเอามาใส่ได้ในจำนวนหน้าที่จำกัด เพราะแต่ละหน้า คือ ต้นทุนของหนังสือเล่มนี้ แต่ถ้าเขียนใส่สมุดบันทึก diary ทุกๆวัน จะเขียนได้มากมาย ไม่จำกัดเนื้อหา เขียนเก็บเอาไว้ให้ลูกหลานอ่านในวันข้างหน้าน่าจะดีกว่า"



"แต่สมัยนี้ เทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมามากมาย แทบจะตามไม่ทัน เรื่องราว ความคิดที่เขียนในวันนี้ อาจจะเป็นสิ่งที่ล้าสมัยในวันหน้าก้ได้ เขียนไปก็ไม่รู้จะมีใครอ่านไหม แต่ก็เป็นอะไรที่น่าจะทำออกมา"



"อยากจะจ้างคนเขียนเรื่องราวให้เหมือนพวกดาราที่จ้างคนเขียนหนังสือออกมาขายให้ แต่ก็ไม่มีเงินมากพอ แต่ที่คิดจะทำคือ เอากล้องวิดีโอมาอัดภาพและเสียง บันทึกเรื่องราวที่อยากจะพูด อยากถ่ายทอด ทำเป็นวิดีโอออกมา เขียนใส่แผ่น VCD เก็บไว้เป็นเรื่องๆ ใครอยากรู้เรื่องไหนก็หยิบมาเปิดดู แบบนี้จะสะดวกและง่ายกว่าที่จะต้องมานั่งเขียนบันทึก หรือเขียนหนังสือ...."


นั่นคือ อีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจครับ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น