...+

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2550

นักวิชาการมข.ชี้ทำนาข้าวเป็นอีกเหตุก่อภาวะเรือนกระจก

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 15 มิถุนายน 2550 17:11 น.
รศ.ดร.พัชรี แสนจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ศูนย์ข่าวขอนแก่น-น ักวิชาการม.ขอนแก่น ห่วงปัญหาโลกร้อน ยกเหตุวิกฤตสิ่งแวดล้อมทั่วโลกเริ่มรุนแรง รุกงานวิจัยประเด็นปล่อยก๊าซเรือนกระจกในเมืองไทย พบ ก๊าซมีเทน (CH4) เป็นสาเหตุหลักเกิดภาวะเรือนกระจกถึง 91% สูงกว่าคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ชี้ทำนาข้าวเป็นต้นเหตุปล่อยก๊าซมีเทนสูงถึง 73% แนะแนวทางลดก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว ควรอยู่บนพื้นฐานไม่กระทบกับวิถีชีวิต ต้องใช้น้ำในนาข้าวให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด

ปัญหาโลกร้อน จากภาวะเรือนกระจก ณ ปัจจุบันอยู่ในขั้นน่าเป็นห่วง จัดเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่หลายประเทศทั่วโลกตระหนักถึงปัญหา และให้ความสำคัญสร้างความร่วมมือในการลดกิจกรรมที่เป็นต้นเหตุภาวะเรือนกระจ ก ซึ่งภาวะเรือนกระจกเป็นประเด็นสำคัญที่นำเข้าสู่ที่ประชุมผู้นำกลุ่มประเทศช ั้นนำทางเศรษฐกิจ (G8) ที่ประเทศเยอรมนีเมื่อเร็วๆนี้

ร ศ.ดร.พัชรี แสนจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น(มข.)ในฐานะนักวิจัยเรื่อง การลดก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว เปิดเผยว่า ภาวะโลกร้อน ที่เกิดจากก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศโลก ณ ปัจจุบัน เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) จัดเป็นก๊าซเรือนกระจกที่สำคัญที่สุด โดยมีสัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดถึง 66% จากการเผาไหม้เชื้อเพลิง

รองลงมาคือก๊าซมีเทน (CH4) ประมาณ 18% จากนาข้าว ปศุสัตว์ การบำบัดขยะ และบำบัดน้ำเสีย ต่อมาสาร CFCs คิดเป็นสัดส่วน 11% ซึ่งเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยมาจากกระบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม และก๊าซ N2O สัดส่วน 5% ส่วนใหญ่มาจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ที่ดินทางการเกษตรและการใช้ปุ๋ย

ข้อมูลที่น่าสนใจพบว่า การใช้พลังงานคือ สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุด สัดส่วนการใช้พลังงานส่วนใหญ่ตกอยู่กับประเทศที่พัฒนาแล้ว เพียงไม่กี่ประเทศ ร่วมกันใช้พลังงานคิดเป็นสัดส่วนมากถึง 68% โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกา ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดถึง 25% รองลงมากลุ่มประเทศสหภาพยุโรป 21% ออสเตรเลีย 15% รัสเซีย 12% เอเชีย 19% และประเทศที่พัฒนาแล้วจากส่วนอื่นอีกประมาณ 7%

จุดที่น่าเป็นห่วง แม้จะมีพิธีสารเกียวโต กำหนดให้ประเทศร่ำรวย 35 ชาติ จะต้องลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 5% ของปริมาณก๊าซในปี 2533 ภายในปี 2551-2555 โดยพบว่าหลายประเทศที่เข้าร่วมพิธีสารเกียวโต ยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าระดับเป้าหมาย

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภาวะโลกร้อน ทำให้ระบบลมของโลกเปลี่ยนแปลงไป ลมที่พัดจากมหาสมุทรเข้าสู่ทวีปจะมีกำลังแรงขึ้น วัฏจักรของน้ำในโลกเปลี่ยนแปลง มหาสมุทรร้อนขึ้น เกิดภาวะเอลนีโญ ลานีญา และที่สำคัญทำให้น้ำแข็งขั้วโลกเหนือ-ใต้ ละลาย ทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้น้ำเริ่มท่วมพื้นที่ชายฝั่งทะเลในหลายประเทศทั่วโลก และแผ่นดินถูกกัดเซาะ รวมทั้งในประเทศไทยด้วยเช่นกัน

ผ ลกระทบที่เกิดขึ้นกับประเทศไทย แม้ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบชัดเจนนัก แต่ฤดูหนาวจะหดสั้นลง ฤดูร้อนจะยาวนานขึ้นกว่าเดิม ทั้งยังมีความแปรปรวนของสภาพภูมิอากาศในบางช่วงปี เช่น บางปีฝนตกชุกจนเกิดน้ำท่วม บางปีร้อนมาก ซึ่งในอนาคตผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมจะมีความรุนแรงยิ่งขึ้น หากยังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศโลก

การวิจัยวัดระดับก๊าซมีเทน จากนาข้าว ในพื้นที่ศึกษาที่จังหวัดขอนแก่น
ไทยปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว

รศ.ดร.พัชรี กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย มีสัดส่วนการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำเพียง 0.6% ของโลก (ปี 2533) ก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่ของไทย มาจากก๊าซมีเทน แม้ว่าก๊าซมีเทน จะเป็นก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศคิดเป็นสัดส่วนที่ต่ำกว่าก๊าซค าร์บอนไดออกไซด์มาก แต่ก๊าซมีเทนกลับมีศักยภาพในการทำให้โลกร้อนสูงกว่า ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 21 เท่า


สำหรับก๊าซมีเทน ในประเทศไทยถูกปลดปล่อยออกมาประมาณ 3.16 ล้านตัน/ปี ส่วนใหญ่มาจากภาคเกษตรกรรมถึง 91% ของ ก๊าซมีเทนที่ปล่อยทั้งหมด โดยนาข้าวเป็นแหล่งปล่อยก๊าซมีเทนแหล่งใหญ่ที่สุด คิดเป็นสัดส่วนถึง 73% ของก๊าซมีเทนที่ปล่อยมาจากภาคเกษตรกรรม

จ ากการวิจัยการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว โดยสุ่มตัวอย่างศึกษาพื้นที่นาข้าวในเขตจังหวัดขอนแก่น พบว่า การทำนาข้าว เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดก๊าซมีเทนปล่อยสู่ชั้นบรรยากาศโลก เนื่องจากนาข้าว จะมีน้ำท่วมขัง เกิดกระบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุในนาข้าว ทั้งซากพืช ซากสัตว์ ปุ๋ย ฯลฯ จะมีก๊าซมีเทนเกิดขึ้น ซึ่งการทำนาข้าวในประเทศไทย ถือเป็นอาชีพหลักคนไทย เมื่อรวมพื้นที่ทั้งประเทศจึงมีแหล่งปล่อยก๊าซมีเทนขนาดใหญ่เกิดขึ้น

ทั้งนี้ข้อมูลพื้นที่นาข้าวทั้งโลก มีเนื้อที่เก็บเกี่ยวทั้งสิ้น 958.1 ล้านไร่ (ข้อมูลปี 2548) แยกเป็นประเทศอินเดีย 268.8 ล้านไร่ หรือ 28% ประเทศจีน 183.1 ล้านไร่ หรือ19% อินโดนีเซีย 73.8 ล้านไร่ 7.7% บังกลาเทศ 68.8 ล้านไร่ 7.2% ประเทศไทย 63.9 ล้านไร่ หรือ 6.7% ที่เหลือจากประเทศปลูกข้าวชาติอื่นรวมกัน 31.4% ซึ่งไทยเป็นประเทศส่งออกข้าวมากที่สุดอันดับ 1 ของโลก

รศ.ดร.พัชรี กล่าวต่อว่า สถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI) ได้ประเมินความต้องการข้าวของประชากรโลกจาก 460 ล้านตัน/ปี เพิ่มขึ้นเป็น 760 ล้านตัน/ปี ในปี ค.ศ.2020 หรือเพิ่มขึ้น 65% ในอีก 24 ปีข้างหน้า ซึ่งเท่ากับว่า จะต้องเพิ่มพื้นที่และจำนวนครั้งของการปลูกข้าวในแต่ละปี โดยเฉพาะพื้นที่นาชลประทาน เท่ากับว่าเพิ่มปริมาณปล่อยก๊าซมีเทนเช่นกัน

แนะใช้น้ำในนาข้าวให้น้อยที่สุด

" จำเป็นต้องเตรียมหาแนวทางลดก๊าซมีเทนจากนาข้าวในอนาคต ลดปริมาณก๊าซมีเทนจากการทำนาข้าวลง ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อบรรยากาศโลกมากเกินไป ที่ผ่านมาประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกข้าวมากที่สุดในโลก ได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ"รศ.ดร.พัชรีกล่าวและว่า

การลดก๊าซมีเทนจากการทำนาข้าว ต้องอยู่บนพื้นฐานที่ไม่กระทบต่อวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรและประชาชน เนื่องจาก การปลูกข้าวมีความสำคัญในฐานะอาชีพหลักของเกษตรกรส่วนใหญ่ และเป็นอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ จึงต้องหาแนวทางลดก๊าซมีเทนจากการทำนาข้าว ที่ไม่กระทบต่อผลผลิตข้าว

ข ้อมูลการวิจัยพบว่า สามารถลดก๊าซมีเทนลงได้ ด้วยการใช้น้ำให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เน้นการใช้น้ำในนาข้าวเหลือน้อยที่สุด ลดการขังน้ำในนา และไม่กระทบต่อผลผลิตข้าว ซึ่งทำได้ด้วยการผสมผสานเทคโนโลยีเกษตรหลายวิธีเข้าด้วยกัน ข้อมูลเบื้องต้นการลดจำนวนวันที่ขังน้ำจาก 92 วัน เป็น 70 วัน จะสามารถลดการปล่อยก๊าซมีเทนตลอดฤดูได้ถึง 58.4%

ทั้งนี้จะต้องมีการขังน้ำเพื่อกำจัดวัชพืชและระบายออกระยะข้าวแตกกอ ปล่อยให้ดินแห้ง 2 สัปดาห์ก่อนเก็บเกี่ยว ขณะเดียวกันการทำนาปีไม่ควรปลูกข้าวเร็วเกินไป เพราะหากข้าวอายุนานปริมาณก๊าซมีเทนทั้งหมดจะสูงขึ้น ส่วนการใส่ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์มีความจำเป็นเพื่อเพิ่มผลผลิต แต่ไม่ควรใส่อินทรียวัตถุมากเกินไป

บางกรณี มีความจำเป็นต้องลดพื้นที่ทำนาปรัง เปลี่ยนมาปลูกพืชไร่อายุสั้น เช่น พืชผัก ไม้ดอกหรือไม้ประดับหลังฤดูทำนาปี ท้ายที่สุดภาครัฐและเกษตรกรควรสร้างความร่วมมือ ในการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการใช้น้ำชลประทานให้ประหยัดขึ้น สร้างแนวโน้มใช้น้ำฝนเป็นหลักและใช้น้ำชลประทานเสริมเมื่อฝนแล้ง จะทำให้การปลดปล่อยก๊าซมีเทนจากนาข้าวลดลงได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น