...+

วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2550

สสจ.กาฬสินธุ์เวิร์กชอปการสร้างจินตนาเพื่อเสริมสุขภาพ

โดย ผู้จัดการออนไลน์ 7 มิถุนายน 2550 11:05 น.
กาฬสินธุ์ - สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์จัดเวิร์กชอปการ "สร้างจินตนาการเสริมสุขภาพใหม่ ที่มีความเป็นมนุษย์" ให้กับบุคลากรสาธารณสุข เพื่อวิเคราะห์ชุมชนและสร้างเครือข่ายการรักษาสุขภาพที่ถูกต้อง

ที่ห้องประชุมทศพร โรงแรมริมปาว นพ.พิสิทธิ์ เอื้อวงค์กูล นายแพทย์สาธารสุขจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นประธานการประชุมปฏิบัติการเรื่อง การสร้างจินตนาการ เสริมสุขภาพใหม่ ที่มีความเป็นมนุษย์ โดยมีบุคลาการสำนักงานสาธารสุขอำเภอ และเจ้าหน้าที่อนามัยทุกแห่ง เข้าร่วมประชุมจำนวน 350 คน

น.พ.พิสิทธิ์ เอื้อวงค์กูล นายแพทย์สาธารสุขจังหวัดกาฬสินธุ์กล่าวว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายที่จะพัฒนาศูนย์สุขภาพชุมชนให้มีมาตรฐาน สามารถให้บริการแก่ประชาชนได้อย่างมีคุณภาพ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายดังกล่าว จึงได้ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการสร้างจิตนาการเสริมสุขภาพใหม่ ที่มีความเป็นมนุษย์ โดยมีบุคลากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด(สสจ.) สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ(สสอ.) และเจ้าหน้าที่ประจำสถานีอนามัย(สอ.)ทุกแห่ง เข้าร่วมประชุมฯ

ทั้งนี้ เพื่อพัฒนากรอบแนวคิด และหลักการสำคัญ ที่จะสะท้อนปรัชญาการดูแลรักษาสุขภาพที่ถูกต้องของระบบบริการสุขภาพ เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะการวิเคราะห์ชุมชน ซึ่งมีนพ.โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ จากสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพ นพ.สิริชัย นามทรรศนีย์ จากรพ.กุฉินารายณ์และคณะกรรมการพัฒนาและประเมินงานPCU(QRT) จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นวิทยากรอบรม

นพ.สาธาณสุขจังหวัดกาฬสินธุ์กล่าวอีกว่า ร ูปแบบของกิจกรรมในการประชุมเชิงปฏิบัติการประกอบด้วยการฝึกปฏิบัติการวิเครา ะห์กลุ่มย่อย การลงสำรวจพื้นที่ภาคสนาม และการนำเสนอผลงานมาแลกเปลี่ยนอภิปราย ที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย สามารถที่จะนำปัญหาของชุมชนมาวิเคราะห์และดำเนินการสร้างเครือข่าย เพื่อเป็นแนวทางการสร้างสุขภาพอนามัยที่ดีแก่ประชาชนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายต่ อไป

นพ.พิสิทธิ์กล่าวว่าจุดเด่นของการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องสร้างจิ นตนาการ เสริมสุขภาพแบบใหม่ ที่มีความเป็นมนุษย์ก็คือการแบ่งกลุ่มลงพื้นที่ เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานกับชาวบ้าน ทั้งด้านสุขภาพ ชีวภาพ ตลอดทั้งมูลเหตุแห่งปัญหาและความต้องการ เพื่อนำข้อมูลมาร่วมกันวิเคราะห์หาบทสรุปและกำหนดแนวทางการให้ความช่วยเหลือ และแก้ไข เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการสร้างสุขภาพแบบใหม่ ให้ประชาชนมีสุขภายกาย สุขใจ ที่แข็งแรงสมบูรณ์ ซึ่งจะเป็นที่มาของคำว่าความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ซึ่งหมายถึงการมีสุขภาพพลานามัยที่สมบูรณ์ ไม่มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น