...+

วันพุธที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

สิทธิของคนพิการ

ที่มา http://learners.in.th/blog/janejira/30106

ในทุกสังคม จะมีคนจำนวนหนึ่งที่โชคร้ายเกิดมาพิการหรือต้องพิการด้วยสาเหตุต่างๆ กลายเป็นผู้พิการ ซึ่งจะดำรงชีวิตอย่างทุกข์ยากลำบาก โดยเฉพาะเป็นผู้ที่ด้อยโอกาสแทบทุกด้าน ไม่สามารถเข้าถึงมีสิทธิและใช้สิทธิอย่างคนทั่วไป ด้วยสภาพทางร่างกายและจิตใจที่เป็นอุปสรรค ไม่ว่าจะเป็นการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง สิทธิในการทำงาน การศึกษา สาธารณสุข ฯลฯ ทั้งๆ ที่ ผู้พิการเป็นมนุษย์ย่อมมีสิทธิความเป็นมนุษย์เหมือนกับคนปรกติ

ส่วนประเทศไทย มีผู้พิการจำนวนค่อนข้างมาก ในอดีต ผู้พิการจะไม่ค่อยได้รับการดูแลจากรัฐและสังคม จนกระทั่งเมื่อมีพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ในปี พ.ศ. 2534 ผู้พิการจึงค่อยๆ ได้รับการคุ้มครอง การสงเคราะห์ การพัฒนา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และได้รับการค้ำประกันสิทธิจากรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยเฉพาะจากมาตรา 55 “บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ”

แม้ว่ากฎหมายและนโยบายมีการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิคนพิการมากขึ้นกว่าในอด ีต แต่ในทางปฏิบัติคนพิการก็ยังเข้าไม่ถึงสิทธิเหมือนคนทั่วๆ ไป คนพิการอีกจำนวนมากที่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิอย่างเพียงพอ เพราะยังมีคนที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนก็จะเสียสิทธิอีกหลายประการ คนพิการควรมีสิทธิที่จะได้รับการศึกษา การมีงานทำ ได้รับการรักษาพยาบาล ได้รับการช่วยเหลือในสวัสดิการต่างๆ รวมถึงเครื่องไม้เครื่องมือเพื่อช่วยในการเดินทาง

ดังนั้น ข้าพเจ้าเห็นว่าควรมีทางแก้ไขปัญหาสำหรับในเรื่องนี้เพื่อคุ้มครองคนพิการดั งกล่าว ไม่ว่าจะเป็น ด้านกฎหมาย โดยรัฐควรปรับปรุงกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับที่กีดกัน จำกัดสิทธิและโอกาสหรือการเลือกปฏิบัติโดยเฉพาะการละเมิดสิทธิผู้พิการในด้า นการศึกษา สาธารณสุข นันทนาการ การเข้าทำงานหรือการประกอบอาชีพ ด้านเจตคติ ควรส่งเสริมและสนับสนุนในการสร้างเจตนคติของสังคม ครอบครัวของคนพิการและคนพิการเอง ให้เห็นว่าคนพิการเป็นผู้ที่มีความสามารถและศักยภาพเช่นเดียวกับคนทั่วไปและ สามารถพัฒนาตนเองได้ ด้านการศึกษา ควรจัดบริการการศึกษาที่หลากหลายรูปแบบตามความต้องการของคนพิการและถ้าคนพิก ารที่สามารถเรียนร่วมกับนักเรียนปกติได้ ก็ควรจะส่งเสริมคนเหล่านั้น โดยคำนึงถึงการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกพิเศษ หรืออุปกรณ์พิเศษสำหรับคนพิการด้วย นอกจากนี้ ควรขยายบริการด้านการศึกษาให้เหมาะสม ด้านอาชีพ ควรส่งเสริมให้คนพิการสามารถพึ่งตนเองและประกอบอาชีพอิสระได้ อาทิ บริการกู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพและเครื่องมือวัสดุอุปกรณ์ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะ อาทิ โทรศัพท์ ทางเดินเท้า ตู้ไปรษณีย์ ห้องน้ำ ตลอดจนบริการขนส่งมวลชน โดยจัดสิ่งอำนวยความสะดวกตามหลักวิชาให้มีลักษณะทางกายภาพที่เอื้อต่อคนพิกา รที่จะใช้ได้ ด้านกองทุน นโยบายพัฒนาให้กองทุนฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการสามารถใช้ประโยชน์ได้เต็มตามวัตถ ุประสงค์และสามารถช่วยเหลือคนพิการได้มากขึ้น โดยให้คนพิการสามารถกู้ยืมเงินได้มากกว่าการประกอบอาชีพและเงินอุดหนุนเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้

นำมาจาก : บล็อก กฎหมายสิทธิมนุษยชน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น