...+

วันศุกร์ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2550

จุดประกายวิจัย : จุดประกายจากความขัดแย้งทางความคิด

มีหลายคนที่อยากจะทำงานวิจัยหัวข้อใหม่ๆ มีประโยชน์และไม่ซ้ำแนวกับใคร
อยากค้นคว้าหาวิธีการใหม่ๆ ที่จะพัฒนางานให้มีประสิทธิภาพมากกว่าเดิม
ซึ่งเริ่มจาก ต้องมีข้อมูล เป็นแนวทางสำหรับการวางกรอบการทำงานวิจัย ซึ่งค้นหาข้อมูล โดย

1. อ่านจากรายงานวิจัยที่มีผู้อื่นศึกษาค้นคว้าไว้
2. จากประสบการณ์หรือภูมิหลังของผู้วิจัยเอง
3. จากแหล่งเงินทุนอุดหนุนการทำวิจัย

หลายคนพยายามอ่านผลงานวิจัยต่างๆ อ่านไปแล้วยังคิดไม่ออกว่า จะทำเรื่องไหนดี
ทำอย่างไรจึงจะจุดประกายหัวข้อวิจัยขึ้นมาได้บ้าง
หลายเรื่องที่อ่านไป ก็เห็นด้วยกับเหตุผลที่ได้อภิปรายผลไว้
คิดอะไรใหม่ๆไม่ออก จึงได่แต่ดัดแปลง เปลี่ยนกลุ่มตัวอย่าง, ชื่อสถานที่ทำวิจัย เท่านั้น




อาจารย์ท่านหนึ่งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม ได้บอกว่า
การที่จะจุดประกายวิจัยในตัวเองนั้น ควรต้องเริ่มจากการจุดประกายความขัดแย้งทางความคิด
คือ....

- หัดตั้งคำถาม
- คิดหาเหตุและผลเพื่อตอบคำถามต่างๆ ทำไมๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ
- ช่างสังเกต
- มีความคิดที่เป็นอิสระ ,ใช้ปัญญา ,ความเพียร, คิดนอกกรอบ โดยมีความอดทน ใช้เวลาในการค้นคว้าอย่างเต็มที่ จะทำให้ได้ประเด็นใหม่ๆออกมา
- กระตือรือร้น ใฝ่รู้


เป็นการจุดประกายวิจัยที่จะแตกหน่อจากประเด็นปัญหาเดิมออกมานั่นเอง


1 ความคิดเห็น:

  1. ไอ้ตอแหล แอบอ้างชื่อกู คราวนี้มึงลบออก
    เสียใจด้วย มึงลบไม่ทันกูเก็บหลักฐานไว้หมดตั้งนานแล้ว
    มึงเล่นกับใคร มึงจงจำใส่ใจไว้

    ตอบลบ