...+

วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน

Factors Conducing to Academic Promotion of Instructors in Private Universities.

ศรุดา ชัยสุวรรณ (Saruda Chaisuwan)*
ดร. วิชัย วงษ์ใหญ่ (Dr. Wichai Wongyai)**
ดร. เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ (Dr. Sermsak Wisalaporn)***
ดร. สุดา ทัพสุวรรณ (Dr. Suda Tapsuwan)****

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่เอื้อต่อการเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยเอกชน ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกได้เป็น 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 2 ศึกษาปัจจัย ขั้นตอนที่ 3 วิเคราะห์และสังเคราะห์ปัจจัย ขั้นตอนที่ 4 ตรวจสอบและยืนยันปัจจัย ขั้นตอนที่ 5 นำเสนอปัจจัย ผู้วิจัยศึกษาและเก็บข้อมูลด้วยตนเองโดยการศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการจัดสนทนากลุ่ม จากผู้มีส่วนร่วมในการศึกษาวิจัยโดยเลือกแบบเจาะจงในแต่ละมหาวิทยาลัยเอกชนที่เป็นกรณีศึกษา ได้แก่ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ คณบดีคณะวิชา หัวหน้าสาขาวิชา อาจารย์ประจำ และผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งเป็นกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ
ผลการศึกษาปัจจัยจากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกพบว่า ระดับมหาวิทยาลัยมีนโยบายในการส่งเสริมและสนับสนุนตลอดจนให้ความสำคัญต่อเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ระดับคณะได้มีการกระตุ้นและให้กำลังใจอาจารย์ในคณะวิชา ระดับสาขาวิชามีการจัดและลดภาระงานสอนให้กับอาจารย์ ส่วนระดับอาจารย์ ซึ่งได้แก่ อาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการแล้ว ที่ผ่านมาต้องใช้ระยะเวลานานในขั้นตอนการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ และอาจารย์ที่ยังไม่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการแต่มีคุณสมบัติ ยังขาดความรู้และความชัดเจนในระเบียบและกฎเกณฑ์ของการยื่นขอตำแหน่งทางวิชาการ ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ผู้วิจัยจะนำมาเป็นประเด็นในการจัดสนทนากลุ่มและนำเสนอต่อไป

ABSTRACT
This dissertation extended the researches about the factors conducing to academic promotion of instructors in private universities. This was qualitative research. The method of the study followed five steps. First, Review of literature ; Second, Study of factors ; Third, Factor analysis and synthesis ; Fourth, Factor validity and confirmation ; Fifth, Factor Presentation. The researcher conducted the study and collected data by using related of literature, in-depth interviews and focus group discussion from participants by using purposive sampling in each case private universities, in duding Vice President for Academic Affairs, Deans, Head of Branch, Instructors, and Committees on academic titles.
The finding of the study of factors from In-depth interviews were as follows ; the university levels have policy for promoting as will as supporting the importance of academic promotion. The faculty levels has stimulate and motivate ; Branch level has manage and reduce work load. In the instructor levels the instructors have academic titles, took long time for processing. There are instructors who do not have academic titles but have the qualifications, They lack the information about the orders and criteria of academic promotions. The information from interviews, the researcher will set in-depth interviews on focus group discussion and present in this dissertation.

* นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
** รองศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
*** ศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
**** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น