The Model Analysis on Safety, Occupational Health, and Working Environmental Management for Local Wisdom Handicraft Work Metal in
วิทยา เมฆขำ ( Witthaya Mekhum ) *
รองศาสตราจารย์ ดร.วิทยา อยู่สุข ( Asso.Prof.Dr.Witaya Yoosook )**
ศาสตราจารย์ ดร.สิน พันธุ์พินิจ (Prof.Dr. Sint Punpiinj )***
ดร.ละอองทิพย์ มัทธุรศ ( Dr.Laongtip Mathurasa )****
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจวิถีชีวิตชุมชนและวิเคราะห์รูปแบบการจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน งานศิลปหัตถกรรมโลหะที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เขตกรุงรัตนโกสินทร์
ประชากรที่ใช้ โดยคัดเลือกเฉพาะกลุ่มที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตงานศิลปหัตถกรรมได้ทั้งหมด 12 ชุมชน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างที่เป็นงานโลหะได้จำนวน 5 ชุมชนได้แก่ ชุมชนบ้านบาตร บ้านตีทอง บ้านบาตรบ้านบุ บ้านช่างทอง บ้านเนิน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งเป็น 6 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 แบบสอบถาม ตอนที่2 แบบสำรวจ ตอนที่ 3 แบบสัมภาษณ์ ตอนที่ 4 รูปแบบวิเคราะห์การชี้บ่งอันตรายและการประเมินความเสี่ยง (มอก.18001) ตอนที่ 5 รูปแบบการวิเคราะห์งานเพื่อความปลอดภัย (JSA) และตอนที่ 6 รูปแบบวิธีการปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การสร้างเครื่องมือกำหนดกรอบแนวคิดนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและนำไปทดลองใช้ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างและนำมาประเมินหาความเที่ยงตรงของเครื่องมือก่อนนำไปใช้จริง
ผลการวิจัยจากการประเมินความเสี่ยงพบว่า
1. การผลิตงานชุมชนบ้านตีทอง ที่ทำการผลิตทองคำเปลว ในการทำงานไม่มีสิ่งที่เป็นอันตรายเพราะในการผลิตงานนั้นไม่ได้ใช้เครื่องจักรหรือความร้อนใดๆ ทั้งสิ้นในการทำงานจะมีก็ท่านั่ง ก้ม เงย ที่ทำให้ปวดเมื่อย เป็นบางครั้ง
2. การผลิตงานชุมชนบ้านบาตร ที่ทำการผลิตบาตรพระสงฆ์ ขั้นตอนการนำแผ่นเหล็กมาตัดปลายให้เป็นฟันปลาเพื่อนำมาเชื่อมติดกันโดยใช้ไฟ ไม่มีการใช้อุปกรณ์ในการป้องกันการเชื่อม เช่น แว่นตาป้องกันแสง ถุงมือป้องกันความร้อน
คำสำคัญ : การจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
Key word : Safety Occupational Health and Working Environmental Management
* นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
** รองศาสตราจารย์ ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
*** ศาสตราจารย์ สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
**** อาจารย์ สาขาวิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
3. การผลิตงานชุมชนบ้านบุ ที่ทำการผลิตขันลงหิน มีขั้นตอนในการหลอมและเทโลหะลงแบบพิมพ์เพื่อทำการตีขึ้นรูป ไม่มีอุปกรณ์ในการป้องกันความร้อน
4. การผลิตงานชุมชนบ้านช่างทอง ที่ทำการผลิตทองรูปพรรณสมัยโบราณ ไม่มีขั้นตอนในการที่เป็นอันตราย
5. ผลิตงานชุมชนบ้านช่างเนิน ที่ทำการผลิตลูกฆ้องเครื่องดนตรีไทย มีขั้นตอนในการทำงานที่นำมาลูกฆ้องมากลึงให้ได้รูปทรง ไม่มีอุปกรณ์ในการป้องกันฝุ่นละอองและเครื่องมือไม่มีอุปกรณ์ป้องกัน
จากการสำรวจและวิเคราะห์รูปแบบการจัดการความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานในกลุ่มพื้นบ้านที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตงานศิลปหัตถกรรมโลหะกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ได้พบความเสี่ยงอันตรายจากการทำงาน และผลกระทบต่อสุขภาพ ทั้งนี้หวังเป็นอย่างยิ่งว่าการวิจัยดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ในการวางพื้นฐานด้านความปลอดภัยให้กับงานช่างกลุ่มพื้นบ้านที่ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตงานศิลปหัตถกรรมโลหะกรุงรัตนโกสินทร์ ซึ่งจะเป็นการอนุรักษ์ฝีมือช่างไทยได้ในอนาคตต่อไป
ABSTRACT
This research is to study the way of life and analyze Occupational Health, Safety and Working Environment for Local Wisdom Handicraft Work Metal in Bangkok Metropolitan.
The subjects were chosen with the focus on local wisdom workers whose works are of metal handicraft. Five out of 12 communities were chosen as subjects of the research, which are Baan Bart, Baan Tee thong, Baan Bu, Baan Chang Thong, and Baan Nern Communities. The research tools comprised of six parts, questionnaires, survey forms, interviews, risk assessment, job safety analysis and best practices. These tools were created based on thought control framework which were examined by experts, tested on samples and analyzed for accuracy prior to the research implementation.
The study shows risk assessment as follows:
1. Production in Baan Thong Community involves making liquid gold in the working process which is not dangerous because there is no machinery or heat used to do so. However, ergonomically, the sitting and getting up often could cause fatigue at times.
2. Production in Baan Bart produces alms bowls for the Thai monks. The process involves cutting iron sheets with zigzag edges. These zigzag edges are then welded with torches held by the local workers who currently do not wear any heat protective gears such as welding goggles or welding gloves.
3. Production in Baan Bu produces inline bowls. This involves hot, molten metal and casting in molds to be shaped by workers who currently have not heat protective gears.
4. Production in Baan Chang Thong which produces traditional gold handicrafts involves no occupational safety and health hazard.
5. Production in Baan Chang Nern produces gongs, Thai traditional musical instrument. The production involves shaping metal into a gong using heavy machinery that, in turn, produces dust and debris without any protective gears for the workers.
The survey and result of this analytical research of the occupational safety, health and environment of the local wisdom metal handicraft workers shows that there is still risk of hazardous environment involved in their work place and process, which could affect the workers health. The result of this research should more or less contribute to the development of the foundation of occupational safety, health and environment for the local wisdom workers for metal handicrafts in Bangkok Metropolitan, which will also be part of the effort to preserve the Thai traditional artists and handicraft workers.
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น