...+

วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2552

ประสบการณ์เกี่ยวกับความตระหนักในการคิดของนักเรียนในสถานการณ์ การแก้ปัญหาปลายเปิด

Student’s Metacognitive Experiences in Open-Ended Problem Solving Situation

วีระศักดิ์ ไชยขันธุ์ (Weerasak Chaiyakhan)* ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ (Dr. Maitree Inprasitha)** ดร. ชาญณรงค์ เฮียงราช (Dr. Channarong Heingraj)***

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ประสบการณ์เกี่ยวกับความตระหนักในการคิด (Metacognitive Experiences) ของนักเรียนในขณะที่นักเรียนแก้ปัญหาปลายเปิด (Open-Ended Problem) กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 คน แบ่งนักเรียนเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 3 คน ทำการแก้ปัญหาปลายเปิดกลุ่มละ 3 ปัญหาในบริบทนอกชั้นเรียน ทีละกลุ่ม โดยใช้วิธีการคิดแก้ปัญหาพร้อมกับการพูดดังๆหรือเขียน (Think Aloud Method) ผู้วิจัยทำการสัมภาษณ์นักเรียนทีละคนในวันถัดจากวันที่ทำการแก้ปัญหา ข้อมูลที่ได้ประกอบด้วย ก) โปรโตคอล (Protocol) ของพฤติกรรมการพูดและการเขียนจากการแก้ปัญหา จำนวน 9 โปรโตคอล ข) งานเขียน (Written work) ) บันทึกภาคสนาม (Field Note) และ ง) ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับกระบวนการแก้ปัญหาตามกรอบทฤษฎีของ Schoenfeld (1985) และวิเคราะห์ประสบการณ์เกี่ยวกับความตระหนักในการคิดโดยเน้นการวิเคราะห์ความตระหนักเกี่ยวกับความล้มเหลว ตามกรอบแนวคิดของ Goos (2002) ซึ่งพิจารณาสัญญาณความล้มเหลว 3 ประเภท ได้แก่ ความไม่ก้าวหน้าของการแก้ปัญหา (lack of progress) การพบข้อผิดพลาด (error detection) คำตอบที่ไม่สอดคล้อง (anomalous result) ในการศึกษาความตระหนักเกี่ยวกับความล้มเหลว (Metacognitive Failure)

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสบการณ์เกี่ยวกับความตระหนักในการคิดซึ่งเน้นการวิเคราะห์ความตระหนักเกี่ยวกับความล้มเหลวประเภทต่างๆ ได้แก่ 1) ความตระหนักเกี่ยวกับความล้มเหลวประเภทความไม่ก้าวหน้าของการแก้ปัญหาพบว่าเกิดขึ้นในกลุ่มพฤติกรรมการสำรวจและการวิเคราะห์และส่งผลให้เกิดกลุ่มพฤติกรรมการอ่านแทรกในระหว่างการสำรวจและการวิเคราะห์ซึ่งนำไปสู่การค้นหายุทธวิธีหรือข้อมูลใหม่ที่มีประโยชน์ต่อการแก้ปัญหา 2) ความตระหนักเกี่ยวกับความล้มเหลวประเภทการพบข้อผิดพลาดพบว่าเกิดขึ้นในกลุ่มพฤติกรรมการวางแผนการนำไปใช้โดยการตรวจสอบความถูกต้องในการคำนวณและการตีความปัญหา 3) ความตระหนักเกี่ยวกับความล้มเหลวประเภทคำตอบที่ไม่สอดคล้องพบว่าเกิดขึ้นในกลุ่มพฤติกรรมการวางแผน-การนำไปใช้โดยการตรวจสอบความสมเหตุสมผลของวิธีการที่ใช้กับคำตอบที่ได้จากวิธีการนั้น 2. ประสบการณ์เกี่ยวกับความตระหนักในการคิดซึ่งเน้นความตระหนักเกี่ยวกับความล้มเหลวในสถานการณ์การแก้ปัญหาปลายเปิดจะผลักดันให้นักเรียนแสดงพฤติกรรมการแก้ปัญหาที่หลากหลายและต่อเนื่องเป็นเวลานาน


ABSTRACT

The purpose of the present study was to analyze the students’ metacognitive experiences in an open-ended problem solving situation. The target group was consisted of 9 grade 8th students who voluntarily participated in the study. The students were organized into 3 groups, 3 to each group. Each group was given 3 open-ended problems to solve through thinking aloud method. The next day after the session the students were interviewed individually. The data obtained from the experiment was consisted of 1) 9 protocols of the students’ speaking and writing behavior, 2) students’ written works describing their experience gained from the session, 3) field notes, and 4) data obtained from interviewing the students. The data obtained from observation during the students’ problem-solving process were analyzed in accordance with Schoenfeld’s theoretical framework (1985). The data on the students’ metacognitive experience were analyzed in accordance of Goos’s theoretical framework (2002) which concerns 3 areas of lack of progress, error detection and anomalous results connecting with metacognitive failure. The findings: 1. Metacognitive experiences which focuses on 3 type of metacognitive failure revealed: 1) Metacognitive experience regarding the lack of progress mostly occurred in Schoenfeld’s behavioral group of exploration and analysis. This type of Metacognitive experience generated re-reading episodes among exploration and analysis that subsequently lead to problem-solving strategy or new data useful for the course of problem solving; 2) Metacognitive experience concerning error detection mostly occurred during planning-implementation episode which being used to verify an accuracy of computation and an interpretation of problem; 3) Metacognitive experience concerning anomalous result also mostly occurred during planning-implementation episode which being used to verify the reasonability of problem-solving strategy and its solution. 2. Three type of metacognitive failure fruitfully appeared when students are engaging in open-ended problem situations. They subsequently generate a variety of problem-solving behaviors and sustain the students with problem-solving process. มหาบัณฑิตหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ∗∗ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ∗∗∗ อาจารย์ สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น