...+

วันจันทร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2551

การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ การคิดวิเคราะห์ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานและการเรียนรู้แบบสืบ

การเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ การคิดวิเคราะห์ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานและการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

เรื่องปฏิกิริยาเคมี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

The Comparison of Integrated Science Process Skills Analytical Thinking and Scientific Attitude Between Using Project Learning Approach and Scientific Inquiry Approach of Mathayomsuksa Four Students on

Chemical Reaction Topic in Science Subject

ไชยยันต์ จรูญเสาวภากิจ (Chaiyan Jarunsawapagit)*

ดร.นิราศ จันทรจิตร ( Dr. Nirat Jantarajit )**

จีระพรรณ สุขศรีงาม (Jeeraphan Suksringarm )***

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ การคิดวิเคราะหและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานและการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 80 คน เป็นนักเรียนโรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549 โดยแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มๆละ 40 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบโครงงาน และการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่องปฏิกิริยาเคมี จำนวนๆละ 6 แผน แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ แบบวัดการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานใช้ t – test และ One Way ANCOVA ผลการวิจัยพบว่าแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานและการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.83 / 77.50 และ 80.17 / 76.13 ตามลำดับ ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 75 / 75 มีค่าดัชนี ประสิทธิผลของการเรียนเท่ากับ 0.6920 และ 0.6735 ตามลำดับ และนักเรียนที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานและการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้มีคะแนนเฉลี่ยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตรขั้นบูรณาการ การคิดวิเคราะห์ และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์หลังเรียนแตกต่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยสรุปนักเรียนที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นบูรณาการ การคิดวิเคราะหและเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์มากกว่านักเรียนที่เรียนโดยกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ จึงสมควรแนะนำให้ครูนำไปใช้ในการสอนวิทยาศาสตร์ต่อไป

คำสำคัญ : การสอนแบบโครงงาน การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้

ey words : Project learning approach , Scientific Inquiry Approach

K

* นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

** อาจารย์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

***อาจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


ABSTRACT

The research aims were to compare the integrated science process skills, analytical thinking and scientific attitude of mathayomsuksa four students learning form project learning approach and scientific inquiry approach. The sample consisted of 80 Mathayomsuksa four students, studying in the first semester of 2006 academic year at Ratchasima witthayalai School. The sample were devided into two groups of 40 students. The sample were selected by the use of the cluster random sampling technique. The research tools consisted of 6 learning plans on chemical reaction topic in science subject for the experimental group ; the test on integrated science process skills ; the test on analytical thinking ; the test on scientific attitudes. The collected data were analyzed by the uses of a percentage, a mean, standard deviation, a t - test, and an One Way ANCOVA. The major finds of the research were as follows: The project learning approach and the scientific inquiry approach which plan up had capacity of 82.83 / 77.50 and 80.17 / 76.13 as following , which was higher than the standard of 75 / 75 and had more capacity of effectiveness index 69.20 % and 67.35 % as following. The experimental group students taught by the project learning approach and the experimental group students taught by the scientific inquiry approach as whole as gains in mean scores of integrated science process skills, analytical thinking and scientific attitude were different at the .05 level of significance. In conclusion, the students learnt basic science using the project learning approach indicate more integrated science process skills, analytical thinking and scientific attitude than the scientific inquiry approach. Science teachers should be encouraged to implement this method of teaching in their classes.

จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น