...+

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่ การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3

A Good Governance Practices of Secondary School in Roi-Et Educational Service Area 3

พีรพงษ์ พงศ์ศาสตร์ (Peerapong Pongsatr)*

ดร.สมเกียรติ ศรีปัดถา (Dr.Somkiate Sripadtha)**

ดุสิต อุบลเลิศ (Dusit Ubonlert)*** ประกิจ จันตะเคียน ( Pragit Juntakian)****

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อศึกษาการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 และ2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากร และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ประชากรได้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ ครูปฏิบัติการสอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 จำนวน 830 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 489 คน ใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเอง ตรวจสอบค่าความเที่ยงตรงโดยผู้เชี่ยวชาญ ค่าความเชื่อมั่นโดยหาค่าสัมประสิทธิ์ Alpha Coefficient ของ Cronbach ได้ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .98 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า

1. การปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากเมื่อจำแนกเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากเช่นกัน เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยได้ดังนี้ หลักความรับผิดชอบ หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่า

2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาลของบุคลากรกับกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3 ปีการศึกษา 2548 โดยภาพรวม และจำแนกเป็นรายคู่ พบว่า

2.1 ความคิดเห็นของบุคลากร และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรมาภิบาล โดยภาพรวมพบว่า มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

2.2 ความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงานตามหลักธรรมาภิบาล เป็นรายคู่ ในด้านหลักความรับผิดชอบ ผู้บริหารสถานศึกษา มีความคิดเห็นแตกต่างไปจากครูปฏิบัติการสอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา มากกว่าครูปฏิบัติการสอน และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในด้านหลักความโปร่งใส ผู้บริหารสถานศึกษา มีความคิดเห็นแตกต่างไปจากครูปฏิบัติการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในด้านหลักคุณธรรมผู้บริหารสถานศึกษา มีความคิดเห็นแตกต่างไปจาก ครูปฏิบัติการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษา มากกว่าครูปฏิบัติการสอน และในด้านหลักความโปร่งใส หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ มีความคิดเห็นแตกต่างไปจาก ครูปฏิบัติการสอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นของหัวหน้ากลุ่มสาระ การเรียนรู้มากกว่าครูปฏิบัติการสอน

ABSTRACT

The aims of this research are to study the practice of good governance and to compare the opinions toward the performance that followed good governance principles among the personnel and committees of Roi- Et educational institution in high school level. The samples include 830 of school administrators, head department, teachers and school committees in high school in Roi-Et . The random of 489 samples were chosen by using random sampling method. The tools consisted of the survey (questionnaire) with estimated ratio. The statistic values used to analyze the data are frequency, percentage, mean and standard deviation. Moreover, hypothesis verification is assessed by F-test. The research has shown as following.

Firstly, the practice of good governance in high school in Roi-Et province is in high satisfaction level (4.14) both overall and each aspect. The results of assessment can be viewed by individual aspects such as responsibility (4.23), legality (4.18), morality (4.17) loyalty (4.12) collaboration (4.10) and effectiveness (4.06).

Secondly, the comparison of opinions among these school administrators, head department, teachers and school committees were done by random sampling method. It can be viewed by both overall and one by one matching. The overall results showed that different statistic values can be obtained in all aspects. For example, F value of 2.101 was only observed in loyalty aspect at level 0.01. It would be interpreted that there is no different in term of statistic value at level of 0.05. In addition, the results of one by one comparison were shown that the school administrators provided different opinions from teachers and committees at level of 0.01 and 0.05 in responsibility and loyalty aspect respectively. The mean value of these aspects of school administrators is higher than teachers and committees. Similarly, the opinions obtained from the head department are different from teachers at level of 0.05 in which the mean value of head department is higher than teachers.

คำสำคัญ : ธรรมาภิบาล Key word : good governance

*ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

**อาจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

***ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

****ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์


จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น