...+

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

ชุดควบคุมหุ่นยนต์บินมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

CHIANG MAI FLYING ROBOT CONTROLLER

พิพัฒน์พงศ์ วัฒนวันยู และ สัมพันธ์ ไชยเทพ
โครงการวิจัยหุ่นยนต์บินห้องวิจัยอากาศพลศาสตร์และระบบขับเคลื่อนประยุกต์ (PARA-LAB) คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

จ ุดประสงค์ของงานวิจัยชิ้นนี้ เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบควบคุมหุ่นยนต์บินโดยรับข้อมูลจากจีพีเอส (GPS) และชุดส่งสัญญาณวีดีโอ พิกัดจีพีเอสที่รับได้จะผ่านช่องต่ออนุกรมและยูเอสบี 2.0 ของคอมพิวเตอร์เพื่อรับข้อมูลและแสดงผ่านหน้าจอมอนิเตอร์ ชุดส่งสัญญาณวิดีโอใช้หลักการส่งแบบเอฟเอ็ม และให้กำลังส่งสูงสุด 5 วัตต์ มายังเสาส่งแบบยากิอัตราขยาย 9 dBi โดยมีความต้านทานอยู่ที่ 50 โอห์ม ชุดรับสัญญาณประกอบด้วยเสาอากาศชนิดกริดพาราโบลิคร่วมกับชุดเพิ่มกำลังและชุ ดขยายสัญญาณในสายรับ ชุดส่งสัญญาณภาพสามารถส่งได้ไกลถึง 1,000 เมตร ในพื้นที่โล่งแจ้ง ข้อมูลจากจีพีเอสจะแสดงตำแหน่งความเร็ว แผนที่การเดินทาง ของหุ่นยนต์บินขึ้นบนหน้าจอ งานวิจัยนี้ได้ใช้แผนที่เมืองเชียงใหม่ โดยเน้นบริเวณสำคัญ เช่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และใจกลางเมือง เป็นต้น ผลลัพธ์งานวิจัยแสดงถึงหลักการออกแบบ เสาอากาศขั้นสูงและหลักการวิเคราะห์ชุดรับสัญญาณสำหรับควบคุมหุ่นยนต์บิน


จากการประชุมนำเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา
ประจำปีการศึกษา 2549
23-24 มกราคม พ.ศ. 2550 ณ อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต เมืองเอก ปทุมธานี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น