...+

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2551

ผลของการอบดินด้วยแสงแดดต่อสุขภาพของต้นกล้าที่มีต่อความต้านทานไส้เดือนฝอย

(Effects of soil solarization to seedling health on nematode resistance, growth,
and yield of rice)
อุบล หินเธาว์ (Ubon Hinthao)* ดร. บุปผา โตภาคงาม (Dr. Bubpha Topark-ngarm)**
ดร. ชุลีมาศ บุญไทย อิวาย (Dr. Chuleemas Boonthai IWAI)*** ดร. เอนก โตภาคงาม (Dr. Anake Topark-ngarm)****

บทคัดย่อ
ทำการศึกษาผลของการอบดินด้วยแสงแดดต่อสุขภาพของต้นกล้าที่มีต่อความต้านทานไส้เดือนฝอย การเจริญเติบโตและผลผลิตข้าว โดยทำการเตรียมแปลงเพาะกล้าขนาด 10 ตารางเมตร จำนวน 2 แปลง คลุมดินแปลงหนึ่งด้วยพลาสติกใสเป็นเวลา 1 เดือน ส่วนอีกแปลงไม่คลุมดิน จากนั้นเอาพลาสติกออกปล่อยทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แล้วทำการหว่านกล้าข้าวพันธุ์ กข 6 เมื่อต้นกล้าอายุได้ 30 วัน ทำการถอนเพื่อนำไปปักดำในแปลงปักดำที่มีขนาด 10 x 10 ตารางเมตร ทำการเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวสุกแก่ ผลการทดลองพบว่า ค่าเฉลี่ยของจำนวนเมล็ดต่อรวง และจำนวนเมล็ดลีบของแปลงเพาะกล้าที่ไม่มีการอบดินด้วยแสงแดด มีค่ามากกว่าแปลงที่มีการอบดินด้วยแสงแดด ส่วนค่าเฉลี่ยของความสูงต้น ความยาวราก จำนวนต้น/กอ จำนวนรวง/ต้น จำนวนเมล็ดดีและน้ำหนัก 1000 เมล็ดของแปลงเพาะกล้าที่มีการอบดินด้วยแสงแดด มีค่ามากกว่าแปลงที่ไม่มีการอบดินด้วยแสงแดด นอกจากนี้ จำนวนปม/ต้นและความเสียหายของราก ในแปลงเพาะกล้าที่ไม่มีการอบดินด้วยแสงแดดมีค่ามากกว่าแปลงที่มีการอบดินด้วยแสงแดดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

ABSTRACT
The study on effects of soil solarization to seedling health and rice yield. Two nursery seedbeds of 10 m2 were prepared. One seedbed covered with transparent plastic sheet and the soil remain covered for 1 month. After solarization, removed the plastic and left the soil surface in sunlight for 1 week. RD6 rice seeds were broadcasted after and after 30 days old rice seedling were transplanted to paddy field with plot size of 10 x 10m., and was harvested at maturity. The result showed that the average of seed/panicle and unfilled grain of non-solarization were more than solarization. In contrast, the average of plant height, root length, tiller numbers and panicle numbers of solarization were more than non-solarization. The average of number of galls and root damaged of non-solarization were more than solarization significantly.


* นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาทรัพยากรที่ดินและสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
** รองศาสตราจารย์ ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
*** ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
**** รองศาสตราจารย์ ภาควิชาพืชศาสตร์และทรัพยากรการเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น