...+

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การสังเคราะห์และการพิสูจน์เอกลักษณ์เฟอร์โรซีนคาร์บอกซิเลตพอลิเมอร์เพื่อประยุกต์ใช้เป็นตัวตรวจจับก๊าซ

โกสินทร์ หาชะวี, อำนาจ สิทธัตระกูล และ วันชัย เลิศวิจิตรจรัส
คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร

วัตถุประสงค์
- ต้องการสังเคราะห์และพิสูจน์เอกลักษณ์ของเฟอร์โรซีนคาร์บอกซิเลตพอลิเมอร์สี่ชนิด เพื่อใช้เป็นตัวตรวจจับก๊าซ

วิธีการวิจัย
- สังเคราะห์พอลิเมอร์ตัวรองรับจากมอนอเมอร์ คือ ไวนิลเบนซิลคลอไรด์ (VBC) และเอทธอกซิเอท ธิลเมทธาคลิเลต (EEM) โบรมิเนตพอลิซัลโฟนเตรียมได้จากการทำโบรมิเนชันพอลิซันโฟนด้วยโบรโมเมทธิลเมทธิล อีเทอรืโดยใช้แตนนิกคลอไรด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยา สังเคราะห์เกลือเฟอร์โรซีนคาร์บอกซิเลตจากปฏิกิริยาสะเทินกรดเฟอร์โรซีนคาร์บอกซิลิกด้วยโซเดียมไฮดรอกไซด์ในเตตระไฮโดรฟูแรน สุดท้ายคือเตรียม เฟอร์โรซีนคาร์บอกซิเลตจากปฏิกิริยาระหว่างคลอโคเมทธิลเลตหรือโบรโมเมทธิลเลตพอลิเมอร์ กับ โซเดียมเฟอร์โรซีนคาร์บอกซิเลต โดยใช้เฟสทรานส์เฟอร์ พิสูจน์เอกลักษณ์พอลิเมอร์ที่ได้ด้วย FT-IR และ NMR ตรวจสอบสมบัติทางความร้อนด้วย TGA และ DSC

ผลการศึกษา
- สามารถสังเคราะห์โฮโมพอลิเมอร์ของพอลิไวนิลเบนซิลคลอไรด์ (PVBC) โคพอลิเมอร์ของพอลิไวนิลเบนซิลคลอไรด์-โค-เอทธอกซิเอทธิลเมทธาคลิเลตในอัตราส่วนจำนวนโมล VBC ต่อ EEM เป็น 75:25 (PVBC-co-EEM-75/25) และ 50:50 (PVBC-co-EEM-50/50) และโบรมิเนตพอลิซัลโฟน (Br-PSF) ที่มีปริมาณโบรมีน 1.8 อะตอมต่อ 1 หน่วยซ้ำ อุณหภูมิการสลายตัวและอุณหภูมิกลาสทรานซิชั่นมีแนวโน้มเดียวกันเรียงจากมากไปน้อย คือ Br-PSF, PVBC, PVBC-co-EEM-75/25 และ (PVBC-co-EEM-50/50) ตามลำดับ และสามารถติดหมู่ฟังก์ชั่นเฟอร์โรซีนลงบนโครงสร้างพอลิเมอร์ได้ทั้งหมด

สรุป
- ผลการศึกษาแสดงว่าเฟอร์โรซีนคาร์บอกซิเลตพอลิเมอร์ที่ได้มีสมบัติใกล้เคียงกับพอลิเมอร์ตัวรองรับ


จากการประชุมวิชาการ เสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษา ครั้งที่ 1
เรื่องบัณฑิตศึกษาเพื่อการพัฒนาประเทศไทย 30-31 ม.ค.2550
ณ อาคารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น