...+

วันอังคารที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550

เผยคู่มือดูแลสุขภาพแบบไทยฯหยุดรักษาโรคด้วยยาปฏิชีวนะ

เปิดคู่มือการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างถูกต้องยามเกิดโรค ย้ำยา คือ สิ่ง
แปลกปลอมของร่างกาย แพทย์ชี้เมื่อเป็นหวัดและอุจจาระร่วงไม่จำเป็น ไม่
ต้องรับประทานยา แต่ควรพักผ่อนมากกว่า
ขณะที่ศาสตร์ตะวันออก
แนะควรใช้ยุทธศาสตร์ป้องกันไม่ให้เกิดโรค โดยเลือกรับประทานอาหาร
ที่ดีและมีประโยชน์ เพราะอาหารคือยารักษาโรคที่ดีที่สุด

ท่ามกลางสถานการณ์ที่เลวร้ายเหลือ คณานับจากการใช้ยา
ปฏิชีวนะถามว่า สำหรับประชาชนคนธรรมดาแล้ว มีทางเลือกในการพึ่ง
พิงตนเองในยามเจ็บไข้ได้ป่วยบ้างหรือไม่
คงต้องตอบว่า "มี" เพราะในความเป็นจริงแล้ว โรคหลายชนิดไม่มี
ความจำเป็นต้องรับประทานยาเลยแม้แต่น้อยยกเว้นในกรณีที่รุนแรงเกิน
ระดับปกติธรรมดาเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับโรค "หวัด" และ "อุจจาระร่วง" ซึ่งเป็นโรคกลุ่มที่คนไทยเป็นกันมากที่สุด

เส้นทางสู่การเลี่ยงยาปฏิชีวนะ
รศ.พญ.สยมพร ศิรินาวิน จากหน่วยโรคติดเ
ชื้อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยรายละเอียดและข้อเสนอแนะเพื่อหลีกเลี่ยงการใช้ยาปฏิชีวนะว่า
เมื่อเกิดอาการเจ็บป่วย เป็นหวัด เจ็บคอหรือไอนั้น มีความจำเป็นที่
ต้องใช้ยาปฏิชีวนะน้อยมาก เพราะส่วนใหญ่แล้วเกิดจากการติดเชื้อไวรัส
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีคนที่อยู่ใกล้ชิดเป็นด้วยกันหลายคน
ทั้งนี้ อาการที่ชี้แนะว่าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ได้แก่ น้ำมูกใสๆ
หรือคัดจมูก จาม เสียงแหบหรือเสียงหาย
ในกรณีเช่นนี้สันนิษฐานได้ว่า เกิดการติดเชื้อไวรัสและไม่มียา
ปฏิชีวนะชนิดใดกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุได้และโดยทั่วๆ ไปแล้ว ควรจะรักษา
ตามอาการนั้นๆ เป็นเบื้องต้น
อาทิ ถ้าเป็นไข้ก็กินยาลดไข้ พาราเซตตามอล หรือเช็ดตัวให้ไข้ลดลง ถ้าเป็นเด็กเล็ก เป็นหวัดก็สั่งน้ำมูก
ออกหรือถ้ามีน้ำมูกมากก็อาจรับประทานยาลดน้ำมูกเป็นครั้งคราวเพื่อ
ทำให้รู้สึกโล่งจมูกขึ้น เช่น ยา คลอเฟนิรามีน
ขณะเดียวกันเมื่อมีอาการเจ็บคอหรือไอก็ควรลดการใช้เสียงลง รับ
ประทานน้ำอุ่นให้เพียงพอ หรืออมยาบางชนิดเพื่อให้ชุ่มคอ ถ้าเจ็บคอ
มากอาจใช้พาราเซตตามอล และถ้าไอมากอาจใช้ยาแก้ไอบางชนิดช่วยทุเลาอาการไอ
พร้อมทั้งรักษาร่างกายโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณคอและ
หน้าอกให้อบอุ่นก็จะช่วยบรรเทาอาการลงได้

สำหรับกรณีที่อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาอาการดังกล่าวใน
ผู้ใหญ่ คือเมื่อมีไข้สูงโดยไม่มีอาการหวัดหรือไอ และอาการไม่ทุเลาลง
หลังกินพาราเซตตามอลหรือมีไข้อยู่หลายวัน เมื่อมีอาการเจ็บคอโดย
ไม่มีอาการอื่นร่วมด้วย อาจเกิดจากการติดเชื้อสเตรปซึ่งจะก่อให้เกิด
โรคลิ้นหัวใจรั่วได้ เพราะฉะนั้นจะต้องรับการรักษาด้วย ยาเพนนิซิลลิน
แต่หากมีอาการไอมาก จนรู้สึกเหนื่อยอาจเกิดจากการติดเชื้อไมโครพลาสมา ซึ่งรักษาได้ด้วย ยาเตตราซัยคลินหรืออีริโทรไมซิน
หรือถ้ามีอาการหวัดเรื้อรัง น้ำมูกมีปริมาณมากและข้นเหลือง อาจ
เกิดจากไซนัสอักเสบ ที่ถูกต้องแล้วควรไปพบแพทย์วินิจฉัยโรคและ
เชื้อที่เป็นสาเหตุ
เพื่อรับคำแนะนำในการใช้ยาปฏิชีวนะที่เหมาะสมทั้ง
ชนิด ขนาดและระยะเวลาที่ควรรักษาให้
สรุปก็คือ ควรรับประทานยาปฏิชีวนะเฉพาะเมื่อมีอาการเจ็บป่วยที่
ได้รับการวินิจฉัยว่าเกิดจากการติดเชื้อและใช้ยาปฏิชีวนะชนิดใดชนิด
หนึ่งรักษาได้ผลเท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีความจำเป็นต้องเลือกตัวยาให้
ตรงกับเชื้อที่เป็นสาเหตุ ไม่ใช่รับประทานยาปฏิชีวนะชนิดใดก็ได้
เช่นเดียวกับปัญหาเรื่องโรคอุจจาระร่วง เพราะปกติเมื่อเกิดอาการ
ดังกล่าวร่างกายสามารถปรับตัวและสามารถหายได้เอง มีส่วนน้อยเท่า
นั้นที่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษา
ทว่า ที่น่าตกใจก็คือ ตอนนี้ถึงขนาดมีการใช้ยาพิเศษที่ใช้สำหรับ
การรักษาอาการขั้นรุนแรงอย่าง "ซิโปเบ"
กับคนที่ป่วยเป็นโรคอุจจาระร่วง
ธรรมดาๆ แล้ว ซึ่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่อันตรายมาก

"ในความเป็นจริงแล้ว ประชาชนควรจะได้เรียนรู้วิธีการรักษาหวัด
ด้วยตัวเอง ไม่จำเป็นต้องมาหาหมอด้วยซ้ำไป ไม่เพียงแค่โรคหวัด โรค
อื่นๆ ก็เหมือนกัน ประชาชนควรรับรู้ถึงการดูแลตนเองกับโรคที่พบได้
บ่อยๆ เช่น หวัดหรืออุจจาระร่วง แต่เวลานี้ ไม่ได้เป็นเช่นนั้น"รศ.พญ .
สยมพรแนะนำ

ทางด้าน นพ.กฤษฎา มนูญวงศ์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม
กล่าวว่า ผู้ซื้อควรซื้อยา ในจำนวนที่รักษาโรคให้หายโดยคำแนะนำของ
เภสัชกรประจำร้าน แต่ถ้าหากสามารถพาผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยไปซื้อ
ยาได้จะเป็นการดี เพราะเภสัชกรอาจต้องสอบถามอาการเจ็บป่วย
ที่สำคัญคือควรบอกประวัติการแพ้ยาให้เภสัชกรทราบทุกครั้งเมื่อ
ซื้อยา และหากมีปัญหาที่เกิดจากการใช้ยาควรรีบปรึกษาเภสัชกรประจำ
ร้านที่ซื้อยาทันที นอกจากนี้ ควรอ่านสลากยาหรือเอกสารกำกับยา ซึ่ง
ระบุชื่อยาวันผลิตและวันหมดอายุ ลักษณะยาไม่เสื่อมสภาพ รวมถึง
สอบถามอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นทุกครั้ง

รักษาแบบวิถีตะวันออก
"ยา"คือสิ่งแปลกปลอม สายัณห์ เล็กอุทัย เจ้าของคอลัมน์ "คารวะบรรพบุรุษ"
ในหนังสือ
พิมพ์ผู้จัดการรายวันให้ความคิดเห็นและคำแนะนำเกี่ยวกับการใช้ยาตาม
หลักภูมิปัญญาตะวันออกว่า ในอดีตกาลตั้งแต่สมัยที่ยังไม่มียารักษาโรค
บรรพบุรุษของมนุษย์มีวิถีการดูแลสุขภาพด้วยการรับประทานอาหารที่ดี
และมีประโยชน์ ซึ่งเป็นศาสตร์ที่สืบเนื่องมานับเป็นพันๆ ปี
ทว่า เมื่อคนเริ่มลืมคุณค่าของอาหารที่รับประทานในแต่ละวัน และ
หันไปบริโภคอย่างสะเปะสะปะ ทำให้นำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ นานา
จนต้องไขว่คว้าสิ่งใหม่ๆ ที่คิดว่าดีกว่าเข้ามาแก้ นั่นก็คือยารักษาโรค
โดยหารู้ไม่ว่า สารเคมีที่เป็นองค์ประกอบสำคัญของยารักษาโรค
เป็นสิ่งแปลกปลอมที่ใช้ได้เพียงแค่กับวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ภายนอก เช่น
อาคารบ้านเรือนเท่านั้น ไม่ควรนำมาใช้กับร่างกายมนุษย์ เพราะจะทำให้
เกิดปัญหาตามมามากมาย

ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดปรากฏการณ์ข้างต้นคือระบบ
เศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่พยายามคิดค้นสิ่งใหม่ๆ ที่สามารถสนองตอบ
ความต้องการของผู้ซื้ออย่างรวดเร็ว ไม่เว้นแม้กระทั่งยารักษาโรค

"เมื่อคุณต้องการเร็ว แก้เร็ว หายเร็ว มันก็เลยหาวิธีที่จะระงับอาการ
เพียงอย่างเดียว โดยที่ไม่ได้ไปแก้ที่ต้นตอของโรค เหมือนกับเมื่อเรามี
ปัญหาทางการเงิน เราก็แก้ด้วยการกู้หนี้ยืมสินมา ไม่ได้ดูว่าต้นเหตุของ
ความเป็นหนี้คืออะไร

"ความจริงร่างกายไม่ได้ต้องการอย่างนั้น ร่างกายต้องการเวลาเพื่อ
ใช้ในการรักษาตัว อาหารต่างหากคือยารักษาโรคที่ดีสุด ถ้ากินให้ถูก
ต้องตามสมัยโบราณมันคือเครื่องป้องกันโรคอย่างดี
สายัณห์กล่าวต่อไปว่า โดยปกติทั่วไปแล้ว โรคที่เกิดขึ้นกับมนุษย์
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทคือ
หนึ่ง โรคที่เกิดจากการปรับดุลของร่างกาย เช่น หวัดหรือท้องเสีย
และสอง โรคที่เกิดจากความเสื่อมทางพันธุกรรม เช่น โรคมะเร็ง โรคหัวใจ เป็นต้น

สำหรับโรคกลุ่มที่หนึ่งนั้น ตามหลักแล้วไม่ถือว่าเป็นโรคแต่อย่างใด
เพราะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเพื่อขับทิ้งส่วนเกินของร่าง
กายออกไป เฉกเช่นเดียวกับการทำความสะอาดบ้านเรือน

"หน้าที่ของเราคือเอื้ออำนวยให้ธรรมชาติดำเนินกระบวนการขับทิ้ง
อย่าไปสอดแทรกและพยายามพักผ่อนให้มาก เราต้องเข้าใจว่าร่างกาย
มนุษย์ไม่มีเลือกที่รักมักที่ชัก แต่จะกระทำโดย อัตโนมัติเพื่อปรับและคง
สภาพให้ดีที่สุด

"อย่างไรก็ตาม ถ้าหากเรายังกินยาอยู่ ผลที่เห็นก็อย่างเช่น ปวดหัว
เพราะ ยาพวกนี้คือผงเคมีที่ร่างกายรับไม่ได้ หรือเกิดผื่นคัน เป็นต้น"

ขณะที่โรคกลุ่มที่สองเป็นโรคที่เกิดการที่มนุษย์ดำเนินชีวิตผิดออก
ไปจากวิถีธรรมชาติ จนกระทั่งร่างกายสั่งสมพิษภัยต่างๆ เอาไว้เกินขีด
ความสามารถที่จะขับออกมาได้ ซึ่งอาการจะไม่แสดงอย่างปัจจุบันทัน
ด่วน ซึ่งในขณะนี้ อัตราการเกิดของโรคกลุ่มดังกล่าวขยายเพิ่มมากขึ้น
เนื่องจากมนุษย์ไม่ได้ใส่ใจและปล่อยปละละเลยการดำเนินชีวิตของตน
เอง

เพราะฉะนั้น ทางแก้ที่เหมาะสมและถูกต้องก็คือปรับวิถีการดำเนิน
ชีวิตเสียใหม่ทั้งหมด เช่น รับประทานอาหารที่เหมาะสม ออกกำลังกาย
ฯลฯ

"ต้องมีการแลกเปลี่ยนพูดคุย สนทนากับร่างกาย เพราะเซลล์ในร่าง
กายแต่ละตัวเหมือนลูกเรา เรามีลูกอยู่ในอาณัติเป็นล้านๆ เซลล์ เราต้อง
ฟังเขาบ้างเพื่อปรับปรุงและผ่อนหนักเป็นเบาด้วยกับปรับพฤติกรรมเสีย
ใหม่ ถ้าวันใดเราไม่ฟัง วันหนึ่งเขาจะโค่นเรา

"ที่สำคัญคืออย่าเชื่อโฆษณาเพราะโฆษณาเป็นธุรกิจ ที่เกิดจากระบบ
เศรษฐกิจแบบทุนนิยม แล้วเวลานี้ระบบการรักษาพยาบาลบ้านเราก็
เป็นธุรกิจไปหมด เมื่อโรงพยาบาลเข้าไปอยู่ในตลาดหุ้น มันก็ต้องทำ
ยอดรายได้เป็นธรรมดา เป็นไงไม่รู้ เอกซเรย์เอาไว้ก่อน"สายัณห์ให้คำ
แนะนำทิ้งท้าย

ผู้จัดการรายวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น