...+

วันเสาร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2551

ผลของการเสริมสมุนไพรขมิ้นชันผงที่มีผลต่อสมรรถนะการเจริญเติบโต คุณภาพซากและการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันโรคในไก่เนื้อ


Effect of Turmeric (Curcuma longa) on Performance, Carcass Quality and Immune Response in Broilers.
นพอร ปาลวัฒน์วิไชย (Nopon Palawatvichai)*
ดร. สาโรช ค้าเจริญ (Dr. Sarote Kajarern) **
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ใช้ลูกไก่เนื้อพันธุ์ Arbor Acres คละเพศอายุ 1 วันจำนวน 400 ตัว แบ่งออกเป็น 20 กลุ่มๆ 20 ตัว แล้วสุ่มให้ได้รับสูตรอาหารสูตรใดสูตรหนึ่ง คือ สูตรอาหารพื้นฐาน ที่ได้รับการเสริมขมิ้นชันที่มีระดับ curcuminiod 0 (NC), 50 (C50), 100 (C100) และ 150 (C150) ppm ของอาหาร หรือเสริม Chlortetracycline ที่ระดับ 60 ppm (AGP) ทำการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ ไก่จะได้รับอาหารและน้ำเต็มที่ตลอดเวลา และเลี้ยงภายใต้ระบบการจัดการมาตรฐานของฟาร์มการค้า เจาะเลือดไก่ที่อายุ 7, 21 และ 36 วัน นำเลือดไปตรวจหาระดับภูมิคุ้มกันค่า HI titer ต่อวัคซีน ND และ IB ในวันสิ้นสุดการทดลองสุ่มไก่จากแต่ละหน่วยการทดลองมา 2 ตัว เพศละ 1 ตัว เพื่อศึกษาคุณภาพซากและวัดน้ำหนักของตับ หัวใจ กึ๋น ต่อมไทมัส ต่อมเบอร์ซ่า และ ม้าม ผลการทดลองพบว่า ไก่เนื้อที่กินอาหารเสริมผงขมิ้นชันจะมีน้ำหนักตัวที่เพิ่ม ปริมาณอาหารที่กิน อัตราการแลกเนื้อและอัตราการเลี้ยงรอดดีกว่ากลุ่มNC และกลุ่ม AGP โดยจะเห็นผลได้ในช่วงอายุ 3-6 สัปดาห์และ 0-6 สัปดาห์โดยการเสริม C150 จะมีค่าประสิทธิภาพการผลิตโดยรวม และอัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักตัว มีประสิทธิภาพสูงกว่ากลุ่ม NC (P<0.05)>แต่ไม่แตกต่างกับการใช้เสริม AGP ในการเสริม C50 จะมีแนวโน้มมีเปอร์เซ็นต์ซากสูงกว่าทุกกลุ่มการทดลอง ในขณะที่น้ำหนักอวัยวะอื่นๆ ไม่ได้แสดงแนวโน้มที่ชัดเจน นอกจากน้ำหนักของต่อมไทมัสซึ่งการใช้ C150 จะมีน้ำหนักของต่อมไทมัสสูงที่สุดอย่างมีนัยสำคัญ (P<>ส่วนผลในด้านการกระตุ้นภูมิกันที่มีผลต่อ ND และ IB HI titer พบว่าการตอบสนองต่อค่า HI-titer ของไก่แต่ละกลุ่มไม่ต่างกันแต่จะพบแนวโน้มการใช้สมุนไพรขมิ้นชันที่มีระดับ curcuminiod ที่สูงขึ้นจะมีผลต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในไก่เนื้อ ดังนั้นจากผลการทดลองจะเห็นได้ว่าการใช้ C150 จึงเป็นระดับที่มีความเหมาะสมในการใช้ทดแทนสารปฏิชีวนะเนื่องจากจะส่งผลต่อสมรรถนะการผลิตดีเทียบได้กับการใช้ AGP และมีแนวโน้มต่อการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มโรคในไก่เนื้อ



ABSTRACT
A study including 400 Arbor Acres day-old-chicks was aimed to evaluate the effect of substituting turmeric powder for dietary antibiotic growth promoter (AGP) on productive performance, carcass quality, immune and weights of certain lymphoid organs. The chicks were evenly divided to 20 groups of 20, balance in sexes. Each was randomly assigned to receive one of the following dietary treatments: basal feed with supplemented turmeric powder at 0 (NC), 50 (C50), 100 (C100) ppm or 150 (C150) ppm curcuminiods or with AGP-Chlortetracycline at 60 ppm (AGP). The basal diets for starting chicks (1-21 days of age) contained 23.33% crude protein and that for finishing chicks contain 21.50%. The chicks were freely assessed to feed and water at all time and were subjected to standard rearing procedures as applied in commercial farms. Body weight gain and feed consumption were recorded as the chicks reached 21 and 42 days of age. At 7 day of age, prior to ND and IB vaccination, blood sample was taken from eash group for HI-titer determination in serum. Blood sampling and ND, IB HI-titer determination were repeated when chicks reached 21 and 36 days of age. The trial was terminated at 42 day of age where 1 male and 1 female broiler were randomly sacrificed for carcass study. It was found that the broilers fed turmeric supplemented diets had slightly higher (P>0.05) body weight gain (BWG), feed intake (FI) and survival rates than those on the NC and AGP feeds, The broilers in the C50 diet had higher productive index or European Efficiency Factor (EEF) and more efficient feed conversion ratio (FCR) than NC (p<0.05)>C50 broilers had heavier (p<0.05)>0.05), among treatment groups; however, increasing level of curcuminiod in diet tended to increase immunity level of broilers.


* นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
** รองศาสตราจารย์ ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
จากการประชุมทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย ระดับบัณฑืตศึกษา ครั้งที่ 9
วันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2550 ณ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
The 9th Symposium on Graduate Research, KKU. 19 January 2007

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น