...+

วันพุธที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2549

ทุเรียน King of Fruits

ทุเรียนไม่ใช่ผลไม้ไทย
แต่กลับมาไดัดิบได้ดีที่นี่แตกเถาเหล่ากอเกิดสายพันธุ์มากมาย
จนทุเรียนไทยกลายเป็นทุเรียนพันธุ์ดีที่สุดเป็นที่รู้จักทั่วโลก
ฝรั่งถือว่า ทุเรียนเป็น King of Fruits และ
Mon Thong ทุเรียนหมอนทอง คือ King of Durians
ทุเรียนเป็นผลไม้ประหลาด ที่อาจท่าให้คนบางคนชื่นใจ
แต่คนบางคนกลับเป็นลมเมื่อได้กลิ่น
บางตำราเชื่อว่าทุเรียนเป็นผลไม้พื้นเมืองของอินโดนีเซีย
แพร่กระจายผ่านมาเลเซียถึงไทยในที่สุด
คำว่าทุเรียนมาจากภาษามาเลเซีย ดูเรียน มีต้นกำเนิดจากภาษาอินโดเซีย
Duri แปลว่า หนาม
Durian จึงหมายถืงผลไมัลูกเป็นหนาม
ทุเรียนมีซื่อสามัญว่า Durian
ชื่อวิทยาสาสตร์ของทุเรียนคือ Durio Zibethinus วงศ์ BOMBACACEAE
ถิ่นกำเนิดอยู่ในเกาะบอร์เนียว มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
ทุเรียนดั้งเดิมของไทยนั้นเป็นทุเรียนป่า ซึ่งมีอยู่ไม่กี่พันธุ์
ที่รวบรวมได้คือพันธุ์ทองย้อย การะเกด ทองสุก และลวง
คนโบราณเรียกทุเรียนพื้นเมืองว่า ทุเรียนนอก
บางตำรากล่าวว่าในราวพ.ศ. ๒๓๓๐ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ
รัชกาลที่ ๑ เสด็จยกกองทัพไปตีเมืองมะริด ตะนาวศรี
ไพร่พลได้ลองชิมผลไม้พื้นเมืองคือทุเรียนที่มีรสชาติแปลก
และอร่อยเกิดติดใจจึงน่าเมล็ดทุเรียนมาปลูกในกรุงเทพ
ข้อสันนิษฐานนี้น่าจะมีเค้าความจริง เพราะพบว่าต้นทุเรียนเก่าแก่เกิน
๑๕๐ปีขึ้นไปมักปลูกกันในรั้ววังหรือบ้านเจ้านายเก่า
ต่อมาในช่วงปี พ.ศ.๒๔๖๐ และพ.ศ.๒๔๘๕ เกิดน้ำท่วมหนัก
ทุเรียนพันธุ์ดั้งเดิมถูกน้ำท่วมตายไปจำนวนมาก
ชาวสวนได้เพาะพันธุ์ทุเรียนขึ้นใหม่จากเมล็ดที่มีอยู่
และคงเป็นเพราะความวิเศษของผืนแผ่นดินไทย ทุเรียนที่เพาะได้
เกิดกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์แปลกใหม่ที่มีคุณภาพดีกว่าพันธุ์เดิมมากมาย
นับได้ถึง ๒๐๐ สายพันธุ์ รวมได้เป็น ๕ กลุ่มหลัก คือ ตระกูลกบ ตระกูลก้านยาว
ตระกูลกำปั่น ตระกูลลวง และตระกูลทองย้อยเดิม
ต้องคุยด้วยความภูมิใจว่า ทุเรียนบ้านเราเหนือชั้นกว่า
ทุเรียนของอินโดนีเซียที่เป็นประเทศแม่หลายขุมนัก
เพราะทุเรียนอินโดนีเซียไม่มีการกลายพันธุ์
จึงยังคงเป็นทุเรียนป่าเม็ดโต
เนื้อน้อยกลิ่นฉุนและคุณภาพเนื้อค่อนข้างแย่
ถ้าคุณไปเดินตลาดที่นั่น
จะพบว่าทุเรียนในตลาดอิเหนามักมีลักษณะอย่างที่ชาวบ้านเรียกขาน ๓ แบบคือ
๑. Beceh คือทุเรียนเนื้อสุกงอมออกขม
๒. BusIk เป็นทุเรียนประเภท เน่าในหรือช้ำใน
๓. Dingin เป็นทุเรียนเนี้ออ่อน เก็บเร็วเกินไป
ดังนั้น
วิธึการขายทุเรียนของเขาจึงต่างจากเราคือผู้ซื้อสามารถชี้ให้คนขายเปิดทุเรียนให
้ตรวจได้
ถ้า ไม่พอใจก็ชี้ลูกใหม่ไปได้เรื่อยๆ
ผู้ขายไม่ว่าอะไรเพราะรู้กันว่าทุเรียนส่วนใหญ่คุณภาพต่ำ
คนอินโดนีเซียกล่าวว่า
ถ้าอยากกินทุเรียนอร่อยต้องกินหมอนทองอิมพอร์ตจากไทย
เท่ซะไม่มี ฟังแล้วภูมิใจเนื้อดินแหลมทองของเรา
ที่กัมพูชาก็เช่นกันทุเรียนพื้นเมืองเนื้อไม่ดี
ของที่ขายในกรุงพนมเปญคือ
ทุเรียนส่งไปจากไทย กระนั้นก็เป็นทุเรียนเหลือเลือกราคาถูก
มาเลเซียซึ่งเป็นแหล่งอุดมทุเรียนก็เช่นกัน
ยอมรับว่าทุเรียนไทยเป็นเลิศด้านรสชาติ
นักเขียนชาติตะวันตกกล่าวถึงทุเรียนในบทความ
"ทุเรียนผลไม้จากนรกหรือสวรรค์" บรรยายกลิ่นทุเรียนไว้ว่า
เป็นส่วนผสมของความหอมและความเหม็นคล้ายกลิ่นฉุน
ของกระเทียม กำมะถัน หัวหอมเน่าและเนยแข็งบ่มรวมกัน
ฝรั่งบางคนอธิบายว่า ยามเนื้อเหลืองสัมผัสลิ้น
จะให้ความรู้สึกคล้ายกล้วย น้ำตาลเคี่ยววานิลาและหัวหอมผสมกัน
นั่นเป็นความเห็นของชาวฝรั่ง แต่สำหรับคนไทยและคนเอเชีย
เรารู้จักทุเทียนกันเป็นอย่างดี
ไทย อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ เป็นผู้ผลิตทุเรียนป้อนตลาดที่สำคํญ
ทุเรียนไทยพันธุ์หมอนทองและชะนี เป็นสายพันธุ์ที่ถือว่า
เยี่ยมยอดที่สุดในโลก ปัจจุบันพิลิปปินส์
ได้แนะนำให้เกษตรปลูกทุเรียนสองพันธุ์นี้
ชาวสวนอาจจำแนกพันธุ์ทุเรียนตามระยะเวลาการให้ผลได้เป็นสามกลุ่มคือ
ทุเรียนพันธุ์เบาเช่น ชะนี กระดุมทอง จะไห้ผล ๔-๕ ปี
ทุเรียนพันธุ์กลางเช่นก้านยาว และกบ ให้ผล ๕-๖ ปี
ทุเรียนพันธุ์หนักเช่น ทองย้อยฉัตร กำปั่น ให้ผลหลังปลูกเกิน ๖ปีขึ้นไป
ทุเรียนสายพันธุ์ดีเป็นที่นิยมในตลาด ปัจจุบัน มี๓ พันธุ์คือ
๑ พันธุ์หมอนทอง เนื้อสีเหลืองอ่อน รสหวานมัน มีกลิ่นไม่แรงนัก
เม็ดเล็กลีบ
เหมาะที่จะรับประทานสด หรือนำมากวนและทำทอฟฟี่ เพราะจะได้ทุเรียนกวนสวยรสดี
เนื้อดิบทอดกรอบขายได้ราคา
๒ พันธุ์ชะนี เนื้อสีเหลืองจัด รสหวานมัน รูปร่างมักเบี้ยวข้างหนึ่ง
เพราะมีพูหลอก คือพูที่ไม่มีเมล็ด
ชะนีไม่เหมาะจะนำมากวน เพราะได้เนื้อสีคล้ำไม่สวย
๓ พันธุ์ก้านยาว เป็นทุเรียนลูกกลมได้สัดส่วน เนื้อสีเหลืองอ่อน ลักษณะ
ก้านจะยาวเป็นพิเศษสมชี่อ
นิยมรับประทานสด ถ้านำมากวนจะไม่สวย สีคล้ำ
คุณศ่าทางโภชนาการ
เนื้อทุเรียนมีทั้งสีขาว เหลือง เหลืองอ่อน เหลืองทอง จนถึงจำปา
รสชาติหวานมันและมีกลิ่นหอมเฉพาะตัว
เนื้อทุเรียนมีสารซัลเฟอร์ หรือกำมะถัน ตามธรรมชาติ
ไม่แปลกที่กินทุเรียนแล้วอ้วน เพราะทุเรียนหนึ่งขีดให้พลังงานสูงมาก
ทั้งยังมีไขมัน น้ำตาล ซึ่งล้วนทำให้อ้วน
ลองดูตารางเปรียบเทียบกับผลไม้ทั่วไปในแง่ปริมาณไขมัน
เนื้อ ๑ ขีด ไขมันรวม (กรัม)
ทุเรียน ๕.๓๓
น้อยหน่า ๐. ๒
ชมพู่ ๐
ฝรั่ง ๐.๑
มะม่วงพิมเสนมัน ๐.๕
จะเห็นว่า ทุเรียนมีไขมันเกิน ๑๐ เท่าของผลไม้ทั่วไป
อ้วนเห็น ๆ
คงไม่มีใครคิดกินทุเรียนเป็นกอบเป็นกำเพื่อหวังเอาวิตามินเกลือแร่
แต่ถ้ามองในแง่นี้ทุเรียนก็มีสารสาคัญอยู่ไม่น้อยหน้าผลไม้อื่น
เช่น ในเนื้อ ๑ ขีด มีแคลเซียม เหล็ก แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส โปแตสเซียม
สังกะสี กำมะถัน ทองแดง แมงกานีส ในปริมาณอย่างละนิดละหน่อยแต่หลากหลาย
นอกจากนี้ทุเรียนยังมีวิตามินซีในปริมาณสูงพอสมควร
เนื้อทุเรียน ๒ ขีด ให้วิตามินซีเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ๑ วัน
ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูง คนโบราณจัดเป็นอาหาร "ร้อน"
ให้แก้ด้วยผลไม้เย็นเช่น มังดุด
และไม่ควรรับประทานทุเรียนกับสุรา เพราะสารซัลเฟอร์สามารถ
ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ ซึ่งจะดูดซึมเข้ากระแสเลือดได้เร็วขึ้นเกิดพิษได้
เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้เศรษฐกิจ มีการปลูกแพร่หลายทั้งในภาคใต้ กลาง
และตะวันออก บางครั้งผลผลิตจึงล้นตลาด
ชาวสวนจะแกะเอาเนื้อสุกสิบล่วนผสมน้ำตาลหนึ่งส่วน กวนในกระทะเหล็ก
ใช้ไฟปานกลางจนเหนียวเป็นก้อน แล้วลดไฟอ่อนกวนต่อไปอีกจนเห็นเป็นมัน
จะได้ทุเรียนกวนซั้นดี เก็บไวัรับประทานนานวันหรือจำหน่ายได้ราคาดี
เวลาเลือกซื้อทุเรียนกวนบางคนอาจไม่ทราบว่าทุเรียนกวนที่ดีนั้น
ต้องกวนใหม่ๆ ไม่ใช่เก่าเก็บ
ทุเรียนกวนบางเจ้าที่มีชื่อนั้นเขาจะเลือกใช้แต่ทุเรียนใหม่และสด
และจะกวนตามสั่งเท่านั้นไม่เหลือเก็บให้เสียชื่อ
ดังนั้น หากอยากได้ของอร่อยต้องรอเอาร้อนๆ จากกระทะ
ชาวอินโดนีเซีย ทุเรียนปรุงอาหารทั้งคาวและหวานส่วนเม็ดทุเรียน
นำมาเผาต้มหรือทอดเป็นอาหารว่าง
เนื้อทุเรียนดิบรับประทานเป็นผักกรุบกรอบมันคล้ายมะพร้าวห้าว
แต่ให้กลิ่นทุเรียน
เนื่องจากไทยเป็นแหล่งปลูกทุเรียนสำคัญ บางครั้งผลผลิตออกมามาก
จนราคาตกหรือทุรียนแก่หลุดร่วงจากต้นเพราะพายุหรือหนอนเจาะไช
เกษตรกรรู้จักดัดแปลงแปรรูปเป็นทุเรียนทอดกรอบ
แผ่นบางเหลืองกรอบน่ารับประทานรสชาติหวานมัน
แต่กินแล้วอาจนั่งกลัดกลุ้มเพราะไขมันในเลือดและไขมันรอบเอว
อาจแข่งกันเพิ่มปริมาณนำมาทั้งความดัน โรคหัวใจ เส้นเลือดแดงแข็งและอื่นๆ
จนได้ไม่คุ้มเสีย
กินแต่พอหายอยากดีที่สุดครับ

(โดยภก.สรจักร ศิริบริรักษ์
จาก เภสัชโภชนา พลยแกมเพชร ปีที่ ๙ ฉบับ ๒๐๔ ๓๑ กรกฎาคม ๒๕๔๓)

โดยคุณ : สรจักร ศิริบริรักษ์
อ่านได้ความรู้หลายอย่างเกี่ยวกับทุเรียน:-)
ตอนแรกที่ผมไปเห็นทางจันทรบุรี เขาซื้อขายทุเรียนเป็นกิโล
ก็กลับมาเล่าให้คนเมืองกรุงฟัง เพราะตอนนั้นทุเรียนนนท์ขายเป็นลูก

(ออกตัวไว้ก่อน เรื่องบอกทางในเมือง ผมไม่ถนัด )
บริเวณสามแยกก่อนเข้าเมือง เป็นที่ขายผลไม้เมืองจันทร
มีชาวสวนมาขายเยอะแยะ ส้มคล้ายๆส้มเช้งโลละสิบสลึง
กรุงเทพสิบบาท ผมซื้อเที่ยวละ3เข่ง 60โล
กลับมาแจกเพื่อนๆ

เสียดายที่พ่อค้าเข้าไปตกเขียว เหมาซื้อทุเรียนส่งออก
หลายรายรีบตัดทุเรียนอ่อน ส่งออกไปเสียชื่อ ทำให้เขาไม่ซื้อ
ปีนี้ราคาตกมาก

หมอนทอง เลือกยากมาก ถ้าจะซื้อหมอนทอง ก็บอกให้เขา
เลือกสุกมากน้อยตามที่เราชอบ ทุเรียนพันธ์นี้สุกแล้วอยู่ได้หลายวัน
โดยไม่เละ ไม่เหมือนพันธ์อื่น คนขายจะกรีดเปลือกแง้มให้ดูเนื้อก่อน
ถ้ายังไม่สุกไม่ต้องเอา เขาเลือกใหม่ให้
ผมเคยไปเที่ยวสวนเพื่อน ทางเข้าตรงข้ามเยื้องๆสามแยกนี้ ลึกเข้าไป
หลายกม. น่าเห็นใจชาวสวนเขาต้องซื้อน้ำบรรทุกมารดต้นไม้
ปุ๋ยเขานิยมใช้ขี้ไก่ ก็แพงขึ้นทุกวัน มีแหล่งรวมกองขี้ไก่
อยู่บริเวณ
ถนนด้านในใกล้สะพานบางปะกง
เชิงสะพานบางปะกงมีปูทะเลขายหลายเจ้า ผมโดนหลอกหลายครั้ง
เห็นเจ้าหนึ่งเขียนป้าย "นายพ่วง" เขากล้าพ่ะยี่ห้อ
แสดงว่าต้องมีอะไรดีแน่ๆ
ลองซื้อดูก็ดีจริง ไม่ผิดหวัง ไม่ต้องเลือกมากได้ ปูเนื้อ ปูไข่
สมใจ
คงจะมีใครนึกสงสัยว่า ซื้อปู แล้วจะได้อะไร คือว่า
ผมเคยซื้อปูไข่แล้ว
ได้ปูตัวผู้ซิครับ
ทุกวันนี้นายพ่วงรวยแล้วก็เลิกขายริมถนน ปลูกบ้านใหญ่อยู่ใกล้ๆ
ส่งปูให้ร้านอาหารเป็นหลัก จะซื้อปลีกก็ได้
โดยคุณ : supit khuna

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น